ความรับผิดทางอาญาในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลในระบบประกันสังคม
คำสำคัญ:
ความผิดทางอาญา, การเปิดเผยข้อมูล, ระบบประกันสังคม, criminal offense, information disclosure, social security systemบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำการศึกษาถึงความรับผิดทางอาญาในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในระบบประกันสังคมของประเทศไทย เนื่องจาก สำนักงานประกันสังคมเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีข้อมูลของนายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ประกันตน รวมถึงบุคคลอื่นจำนวนมาก และมีบทบาทสำคัญ ในการเก็บ รวบรวมและประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในระบบประกันสังคม ในส่วนความรับผิดทางอาญาในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลจะเป็นความรับผิดของเจ้าที่ของหน่วยงาน โดยไม่ได้กล่าวถึงความรับผิดทางอาญาของบุคคลอื่นในเรื่องการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล จึงเป็นการไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานที่จัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล จึงได้ทำการศึกษา หลักเกณฑ์ วิธีการตามหลักสากลว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และวิเคราะห์ปัญหาความรับผิดทางอาญาในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในระบบประกันสังคมของประเทศไทยเปรียบเทียบกับต่างประเทศ เพื่อที่จะนำมาเป็นแนวทาง
ในการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 และกฎหมายของประกันสังคม
จากการศึกษาพบว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มีการตรากฎหมายเป็นไปตามหลักสากลเพื่อให้ทัดเทียมอารยประเทศ และสำนักงานประกันสังคมก็เป็นหน่วยงานราชการ ที่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในระบบประกันสังคม จะเห็นได้ว่ากฎหมายที่เกี่ยวกับความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในระบบประกันสังคมของประเทศไทยนั้น ความรับผิดทางอาญาในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลจะเป็นความรับผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ไม่ได้กล่าวถึงความรับผิดของบุคคลภายนอก ดังเช่น กฎหมายของต่างประเทศ จึงเป็นการ
ไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานที่จัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ส่งผลให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไม่ได้รับความคุ้มครองในสิทธิดังกล่าวเท่าที่ควร
ดังนั้น เพื่อให้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 และกฎหมายของประกันสังคมของประเทศไทย มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น จึงเห็นสมควรให้มีการบัญญัติความรับผิดทางอาญา กรณีความรับผิดของบุคคลภายนอกไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 และกฎหมายของประกันสังคมด้วย และควรมีมาตรการในการจัดเก็บเอกสารราชการ ให้ย่นระยะเวลาจัดเก็บ รวมทั้งมีมาตรการรักษาความปลอดภัยเพื่อป้องกันการทำลายข้อมูลหรือทำให้ข้อมูลเสียหาย
คำสำคัญ: ความผิดทางอาญา การเปิดเผยข้อมูล ระบบประกันสังคม
Abstract
This research aims to investigate the criminal liability for personal data protection in Thailand's social security system. because the Social Security Office is a government agency that has information on a large number of employers, employees, insurers, and others. and plays an important role in the collection, collection and processing of personal data. Currently, Thailand has laws related to the protection of personal data in the social security system. Criminal liability for disclosure of personal data shall be the responsibility of the entity's owner. It does not mention the criminal liability of others for disclosure of personal information. Therefore, it is unfair to the officials. or agencies that store personal data. Therefore, it has studied the rules and procedures according to the international principles of personal data protection. and analyze the problem of criminal liability in the protection of personal data in the social security system in Thailand compared to foreign countries. In order to be used as a guideline for the amendment of the Personal Data Protection Act B.E. 2562 and the social security law.
The study found that the Personal Data Protection Act B.E. and the Social Security Office is a government agency. that must comply with the Personal Data Protection Act B.E. 2562 and other laws related to the protection of personal data in the social security system It can be seen that the law relating to the protection of personal information in the social security system of Thailand Criminal liability for disclosure of personal information will be the liability of government officials. does not mention the liability of third parties such as foreign law Therefore, it is unfair to the officials. or agencies that store personal data As a result, the owner of the personal data is not protected in such rights as they should.
Therefore, for the Personal Data Protection Act B.E. 2562 and the laws of social security of Thailand is more complete Therefore, it is appropriate to enact criminal liability. In the case of the liability of third parties in the Personal Data Protection Act B.E. 2562 and the law of social security as well, and there should be measures to store official documents. to shorten the storage period, including Security measures to prevent data destruction or damage
Keywords: criminal offense, information disclosure, social security system
References
ภาษาไทย
กองนิติการ สำนักงานประกันสังคม. คู่มือดำเนินคดีอาญา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาแห่งชาติ, 2558.
กิตติศักดิ์ จันเส. “มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกับการประกันชีวิต.”วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2552.
ชุลีพร น่วมทนง. หลักสิทธิมนุษยชน: สิทธิมนุษยชนกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (เอกสารวิชาการ).กรุงเทพมหานคร: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, 2557.
ธานี วรภัทร์. หลักนิติธรรมกับการใช้มาตรการบังคับทางอาญา (เอกสารวิชาการ). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, 2556.
สถาบันนโยบายศึกษา. “มาตรฐานสากลในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล: ผลกระทบต่อประเทศไทย.” https://www.fpps.or.th/news.php?detail=n1588215192.news, 15 มิถุนายน 2565.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. “พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554.” https://dictionary.orst.go.th/, 15 มิถุนายน 2565.
อภิวัฒน์ สุดสาว. “การกำหนดโทษอาญาตามบทบัญญัติมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย” จุลนิติ. ปีที่ 15. ฉบับที่ 2. (มีนาคม-เมษายน, 2561).
อริยพร โพธิใส. “หลักเกณฑ์ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สารพันปัญหากฎหมาย.” จุลนิติ. ปีที่ 16. ฉบับที่ 2. (มีนาคม-เมษายน 2562).
ภาษาต่างประเทศ
Federal Ministry of Justice and the Federal Office of Justice. “Federal Data Protection Act (BDSG).” https://www.gesetze-im-internet.de/englisch_bdsg/, June 12, 2022.
National Archives. “Social Security Act 1935.” https://www.archives.gov/milestone-documents/social-security-act, June 16, 2022.
New Zealand Legislation. “Privacy Act 2020.” https://www.legislation.govt.nz/act/public/2020/0031/latest/LMS23223.html, June 12, 2022.
New Zealand Legislation. “Social Secur ity Act 1964 Artificial limbs.” https://www.legislation.govt.nz/act/public/1964/0136/latest/whole.html, July 11, 2022,
Sozialgesetzbuch (SGB) § 35 SGB I Sozialgeheimnis. https://www.sozialgesetzbuch-sgb.de/, July 11, 2022,
Tatjana Zrinski. “EU GDPR vs. German Bundesdatenschutzgesetz – Similarities and Differences.” https://advisera.com/eugdpracademy/ knowledgebase/eu-gdpr-vs-german-bundesdatenschutzgesetz-similarities-and-differences/, July 21, 2022
The United State Department of Justice, “Privacy Act 1974.” https://www.justice.gov/opcl/privacy-act-1974, June 12, 2022.
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 Pridi Banomyong Law Journal
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.