ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารจัดการซากดึกดำบรรพ์ของภาคเอกชนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ. 2551
คำสำคัญ:
ซากดึกดำบรรพ์, แหล่งซากดึกดำบรรพ์, ทรัพยากรธรรมชาติบทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด และทฤษฎีทางกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารจัดการซากดึกดำบรรพ์ เพื่อศึกษา วิเคราะห์ และเปรียบเทียบกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารจัดการซากดึกดำบรรพ์ของประเทศไทยกับกฎหมายต่างประเทศ ทั้งนี้ เพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ. 2551 อันจะส่งผลให้การบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ. 2551 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งผู้วิจัยมุ่งศึกษาในประเด็นการบริหารจัดการซากดึกดำบรรพ์ของภาคเอกชน
จากการศึกษาพบว่า แม้ปัจจุบันในประเทศไทยจะมีการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ. 2551 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะในการบริหารจัดการซากดึกดำบรรพ์ไว้แล้วก็ตาม แต่เมื่อผู้วิจัย
ได้ทำการศึกษาวิเคราะห์เพิ่มเติม ทำให้ทราบว่ายังมีข้อบกพร่องบางประการที่เป็นปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการไม่มีบทบัญญัติที่ชัดเจนเกี่ยวกับการบริหารจัดการซากดึกดำบรรพ์ของภาคเอกชน เช่น ปัญหาทางกฎหมายการค้าซากดึกดำบรรพ์ที่พบนอกราชอาณาจักรและได้นำเข้ามาในราชอาณาจักร ปัญหาการไม่มีกฎหมายควบคุมเอกชนเกี่ยวกับการทำเทียมซากดึกดำบรรพ์ ปัญหาทางกฎหมายกรณีการโอนแหล่งซาก
ดึกดำบรรพ์ที่ขึ้นทะเบียน หรือปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการไม่มีบทบัญญัติเพื่อกำหนดราคาประเมิน
ซากดึกดำบรรพ์ เป็นต้น ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้เอง ทำให้ไม่สามารถบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองซาก
ดึกดำบรรพ์ พ.ศ. 2551 ได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร รวมทั้งไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ที่แท้จริงของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์
ดังนั้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงได้เสนอแนวทางเลือก เพื่อการปรับปรุง หรือแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ. 2551 บางประการ ที่ยังคงเป็นปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการซากดึกดำบรรพ์ของภาคเอกชน เช่น การกำหนดให้มีการเพิ่มเติมบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับการควบคุมเอกชนเกี่ยวกับการทำเทียมซากดึกดำบรรพ์ เป็นต้น
คำสำคัญ ซากดึกดำบรรพ์ , แหล่งซากดึกดำบรรพ์ , ทรัพยากรธรรมชาติ
References
ภาษาไทย
กรมทรัพยากรธรณี. ความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ในประเทศไทย.
กรมทรัพยากรธรณีจัดพิมพ์ในโอกาสครบรอบ 114 ปี แห่งการสถาปนากรมทรัพยากรธรณี พ.ศ. 2549.
กรุงเทพมหานคร: กรมทรัพยากรธรณี, 2549.
สุนีย์ มัลลิกะมาลย์. การบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2542. อ้างจาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง, สถาบันกฎหมายไทย, โครงการศึกษาร่างกฎหมายด้านบริหาร
สุนีย์ มัลลิกะมาลย์. รัฐธรรมนูญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพิทักษ์รักษาทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์-มหาวิทยาลัย, 2545.
พจน์ บุษปาคม.คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยละเมิด. พระนคร: สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2515.
พระราชบัญญัติการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ พ.ศ. 2562
พระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ. 2551
พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพ.ศ. 2504
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ภาษาต่างประเทศ
https://idea-asset.com/tyrannosaurus-rex-lawsuit-settled, 2 มิถุนายน 2565.
https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_67296, 4 มิถุนายน 2565.
National Heritage Resources Act, 1999. [No. 25 of 1999] [Online], Available
URL:http://www.dac.gov.za/acts/a25-99.pdf, Retrieved 11 May 2022
Paleontological Resources Preservation Act of 2009 [Online], Available
URL:https://irma.nps.gov/DataStore/DownloadFile/640026.Retrieved 11 May 2022
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Pridi Banomyong Law Journal
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.