การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการซึ่งเดินทางโดยสายการบินภายในประเทศ

ผู้แต่ง

  • สุริยะ อุปลาบัติ -
  • รศ.ดร.ภูมิ โชคเหมาะ คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

คนพิการ, การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม, สายการบินภายในประเทศ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการซึ่งเดินทางโดยสายการบินภายในประเทศ ศึกษาแนวความคิดเกี่ยวกับหลักสิทธิมนุษยชน หลักความเท่าเทียมกันต่อหน้ากฎหมาย หลักการไม่เลือกปฏิบัติ และหลักการบริการสาธารณะ และแนว ความคิดเกี่ยวกับการจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทุกคนเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ รวมถึงศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการซึ่งเดินทางโดยสายการบินภายในประเทศตามกฎหมายมหาชนระหว่างประเทศ กฎหมายต่างประเทศ และกฎหมายไทย ตลอดจนศึกษาหาแนวทาง ข้อเสนอแนะ เพื่อแก้ไขปัญหาการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการซึ่งเดินทางโดยสายการบินภายในประเทศไทยให้เป็นไปอย่างถูกต้อง เหมาะสมตามทฤษฎี หลักกฎหมาย หลักปฏิบัติที่เป็นสากล และสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนพิการได้จริงในปัจจุบัน

จากการศึกษาพบว่า กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ
ซึ่งเดินทางโดยสายการบินมีหลายฉบับ ไม่ว่าจะเป็นพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต
คนพิการ พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562 ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสาร
ที่ใช้บริการสายการบินของไทย ในเส้นทางการบินประจำภายในประเทศ พ.ศ. 2553 กฎกระทรวง กำหนดลักษณะ หรือการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะและบริการขนส่ง เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ พ.ศ. 2556 และข้อกำหนดของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 7 ว่าด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการสำหรับคนโดยสารและสมาชิกลูกเรือในสนามบินที่ให้บริการสาธารณะ ล้วนแต่เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีลักษณะเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพหรือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการซึ่งเดินทางโดยสายการบินภายในประเทศ และมีปัญหาการบังคับใช้ด้วยกันทั้งสิ้น รวมถึงไม่บทบัญญัติที่มีการกำหนดค่าชดเชยและเยียวยาผู้เสียหาย และบทลงโทษเพื่อคุ้มครอง รับรองสิทธิและเสรีภาพในการไม่ถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการซึ่งเดินทางโดยสายการบินภายในประเทศอย่างเป็นรูปธรรม จึงทำให้สายการบินส่วนใหญ่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายไทยและเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ

 

 

 

 

 

 

 

ดังนั้น เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกสาธารณะทุกด้านอย่าง
เสมอภาคกับเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไปโดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมจากสายการบิน และกำหนด
ข้อห้ามมิให้สายการบินปฏิเสธการขนส่งผู้โดยสารพิการ และกำหนดให้สายการบินห้ามกล่าวอ้างว่าเพื่อประโยชน์แห่งความปลอดภัยหรือการรักษาความปลอดภัย หรือกล่าวอ้างตามที่กำหนดในข้อบังคับของคณะกรรมการการบินพลเรือนซึ่งมีลักษณะเป็นการจำกัดสิทธิ และเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการซึ่งสามารถเดินทางได้แต่โดยลำพังหรือมีผู้ดูแลคนพิการร่วมเดินทางไปด้วย จึงเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

Author Biography

รศ.ดร.ภูมิ โชคเหมาะ, คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

รองศาสตราจารย์ และปริญญาเอก คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

Assoc. Prof. Dr., Pridi Banomyong Faculty of Law, Dhurakij Pundit University

References

ภาษาไทย

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. “รายงานประจำปี 2563.” https://dep.go.th/images/uploads/files/Ex_ Anualreport2020_1.pdf,

สิงหาคม 2564.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. “รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทย ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563.” จาก https://dep.go.th/images/uploads/files/situation31dec63.pdf, 2 กุมภาพันธ์ 2563.

ข้อกำหนดของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 7 ว่าด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการสำหรับคนโดยสารและสมาชิกลูกเรือในสนามบินที่ให้บริการสาธารณะ.

คณาธิป ทองรวีวงศ์. กัณฑิมา ช่างทำ. ภคมน สืบไชย. กุสุมา สุนประชา. ชลธิชา สมสะอาด บทสรุปผู้บริหาร โครงการวิจัย เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ. สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.

นันทวัฒน์ บรมานันท์. หลักกฎหมายปกครองเกี่ยวกับบริการสาธารณะ. พิมพ์ครั้งที่ 4 ปรับปรุงใหม่. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน,

ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสารที่ใช้บริการสายการบินของไทยในเส้นทางการบินประจำภายในประเทศ พ.ศ. 2553.

พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562.

พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.

สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ. คู่มือกฎหมายการปฏิบัติงานเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.พ, ม.ป.ป.

อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์. สิทธิมนุษยชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2561.

ภาษาต่างประเทศ

“Act for Eliminating Discrimination against Persons with Disabilities of 2013.”

https://www.japaneselawtranslation.go.jp/en/laws/view/3052/en, May 10, 2020.

“Code of Federal Regulation. Part 382 Nondiscrimination on the Basis of Disability in Air Travel.”

https://www.ecfr.gov/cgi-bin/text-idx?node= pt14.4.382 &rgn=div5, April 18, 2020.

“Equality Act 2010.” https://www.legislation.gov.uk/ukpga /2010 /15/contents, July 3, 2020.

“(Regulation (EC) No 1107/2006 of the European parliament and of the Council of 5 July 2006

concerning the rights of disabled persons and persons with reduced mobility when

travelling by air.” https://www.legislation.gov.uk/eur/ 2006/ 1107, April 20, 2020.

เผยแพร่แล้ว

2023-05-24