ปัญหาบางประการเกี่ยวกับมาตรการทางพยานหลักฐาน ในการดำเนินคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ

ผู้แต่ง

  • ชำนะพล สร้อยเกียว พนักงานไต่สวน สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดเพชรบุรี
  • กรรภิรมย์ โกมลารชุน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

มาตรการทางพยานหลักฐาน, การดำเนินคดี, ทุจริตและประพฤติมิชอบ, Evidence Measure, Prosecution, Corruption and Misconduct

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

        บทความนี้ใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร (Document Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางพยานหลักฐานในการดำเนินคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ เนื่องจากหลักเกณฑ์บางประการยังไม่มีความเหมาะสม โดยพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 ยังมิได้มีการนำมาตรการลดหย่อนผ่อนโทษแก่ผู้ร่วมกระทำความผิดที่แจ้งเบาะแส หรือให้พยานหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดมาใช้ ทำให้ไม่มีมาตรการจูงใจให้ผู้ร่วมกระทำความผิดกลับใจมาเป็นผู้แจ้งเบาะแสหรือให้พยานหลักฐานที่สำคัญ อีกทั้ง พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 มิได้กำหนดให้การคุ้มครองตามมาตรการพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองพยานในคดีอาญารวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญด้วยและมิได้กำหนดให้นำกองทุนป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาใช้เป็นค่าตอบแทนให้แก่ผู้เชี่ยวชาญในคดีได้ รวมถึงพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ
พ.ศ. 2559 ยังมิได้บัญญัติให้อำนาจต่อศาลในการปกปิดข้อมูลส่วนบุคคลของผู้แจ้งเบาะแส หากข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวปรากฏอยู่ในสำนวนการไต่สวน และหากมีการแจ้งเบาะแสอันเป็นเท็จ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มีการบัญญัติโทษไว้สูงโดยไม่ได้สัดส่วนกับการกระทำความผิด เมื่อเทียบกับการกระทำความผิดฐานแจ้งความเท็จที่บัญญัติไว้ในกฎหมายอื่น

        จึงควรมีการแก้ไขโดยกำหนดให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ออกประกาศเรื่องการลดหย่อนผ่อนโทษแก่ผู้กระทำความผิดที่ให้การเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ เพื่อนำมาใช้กับผู้ร่วมกระทำความผิดที่ไม่สมควรถูกกันไว้เป็นพยานในคดีอาญา ให้มีมาตรการจูงใจในการให้พยานหลักฐานสำคัญที่สามารถเอาผิดกับตัวการใหญ่ได้ ควรกำหนดให้ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญในคดีทุจริตและประพฤติมิชอบได้รับการคุ้มครองพยานหากมีความจำเป็นและได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสม กำหนดให้การคุ้มครองแก่ผู้แจ้งเบาะแส โดยให้อำนาจศาลในการปกปิดข้อความที่ระบุตัวตนของ ผู้แจ้งเบาะแสในสำนวนจากการมองเห็นหรือถูกลบเท่าที่จำเป็น และกำหนดให้การกระทำความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานในคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน  หนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ เท่ากับการกระทำความผิดฐานแจ้งความเท็จที่บัญญัติไว้ในกฎหมายอื่น

Abstract

        The objective of this article uses a document research method to study about Some problems with the Evidence Measures in the Prosecution of Corruption and Malfeasance. Because some criteria are still not appropriate. The Corruption and Misconduct Procedural Act B.E. 2559 has not yet introduced a measure to reduce the penalty for co-offenders who report clues or provide evidence concerning the commission of an offense to be used. As a result, there is no incentive measure for the offender to repent to be a whistleblower or provide important evidence. In addition, the Corruption and Misconduct Procedural Act B.E. 2559 does not provide protection under the law on witness protection in criminal cases, including qualified persons or experts. and did not specify that the National Anti-Corruption Fund According on the Organic Act on Anti-Corruption B.E. 2561 can be used as compensation for experts in cases. Including the Corruption and Misconduct Procedural Act B.E. 2559 has not yet provided the power to the court to conceal personal information of whistleblowers. If such personal data appears in the Inquiry idioms and if there is a false whistleblower the Organic Act on Anti-Corruption B.E. 2561 Higher penalties were imposed, disproportionate to the commission of an offense. Compared to the offense of reporting perjury as provided for in other laws.        Therefore, should be amended by requiring the National Anti-Corruption Commission. issuing an announcement concerning lenient punishments for offenders providing benefits to the prosecution of corruption and misconduct to be used with the co-offenders who do not deserve to be as witnesses in criminal cases To provide incentive measures to provide important evidence that can be held against the main offender. Should be that the experts in corruption and misconduct cases required to receive witness protection if necessary and appropriate compensation. Should be that Provide protection for whistleblowers by adds the power for the court to conceal the identity of the whistleblower in the case from sight or be deleted as necessary. and stipulates that the commission of a false report to the official in the case of corruption and misconduct shall be liable to imprisonment for a term not exceeding five years. or a fine not exceeding one hundred thousand baht or boths equal to the offense of reporting perjury as provided for in other laws. 

Author Biographies

ชำนะพล สร้อยเกียว, พนักงานไต่สวน สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดเพชรบุรี

* นักศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และ

 พนักงานไต่สวน สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดเพชรบุรี

* LL.M. Student, Pridi Banomyong Faculty of Law, Dhurakij Pundit University,

กรรภิรมย์ โกมลารชุน, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

** ผู้ช่วยศาสตราจารย์, คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

** Assistant Professor, Pridi Banomyong Faculty of Law, Dhurakij Pundit University

** e-mail: Kanpirom.kon@dpu.ac.th

References

ภาษาไทย

กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์. “ทำไมต้องมีมาตรการลดหย่อนผ่อนโทษ (Leniency Program).” https://otcc.or.th/wp-content/uploads/2020 /03/ B0028.pdf, 15 กุมภาพันธ์ 2565.

กรุงเทพธุรกิจ. “ป.ป.ช. เดือด “ประหยัด” ฟ้อง 157 วรวิทย์ สุขบุญ.” https://www.bangkokbiznews.com/politics/844038, 25 พฤษภาคม 2565.

จารุวรรณ สุขุมาลพงษ์. แนวโน้มของคอร์รัปชั่นในประเทศไทย (The Trend of Corruption in Thailand). กรุงเทพมหานคร: รัฐสภา, 2556.

ไทยพับลิก้า. “ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นปี 2562 ไทยอันดับถดถอย 101 ต่อต้านทุจริตย่ำกับที่.” https://thaipublica.org/2020/01/corruption-perception-index-2019, 15 มีนาคม 2564.

ปณิธัศร์ ปทุมวัฒน์. “อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2003, ตอนที่ 1 บทบัญญัติทั่วไปและพันธกรณีในการกำหนดมาตรการป้องกันการทุจริตของภาคี,” จุลนิติ. พฤศจิกายน-ธันวาคม 2553.

ประชาชาติธุรกิจ. “ป.ป.ช. โอด ถูกฟ้องกราวรูด 18 คดี เล็งตั้งสำนักคดีแก้ต่าง.” https://www.prachachat.net/politics/news-744961, 25 พฤษภาคม 2565.

วินัย หนูโท. สิทธิของประชาชนในทางอาญาตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่สอดคล้องกับหลักสากล. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ซีเอ็ด, 2555.

วุฒิชัย เต็งพงศธร, ความเป็นมาในการจัดตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติในประเทศไทย, กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2556.

ศักดา ธนิตกุล และคณะ. กฎหมายแข่งขันทางการค้า/ป้องกันการผูกขาดในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (กฎหมายแข่งขันทางการค้าของประเทศสมาชิกอาเซียน). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์, 2560.

ศูนย์ส่งเสริมจริยธรรม สำนักงาน ก.พ. “ผลการศึกษาเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส (Whistleblower Protection).” ปรับปรุงจากการเสนอที่ประชุม ก.ม.จ. ครั้งที่ 9/2564. วันที่ 24 พฤศจิกายน 2564. 2565.

สำนักข่าวไทยพีบีเอส. “ป.ป.ช. ชี้มูลความผิด จุฑามาศ อดีตผู้ว่า ฯ ททท. ร่ำรวยผิดปกติ เตรียมยึดทรัพย์ 65 ล้านบาท,” https://news.thaipbs.or.th/content/261120, 12 ตุลาคม 2564.

สำนักข่าวไทยโพสต์. “คำสั่งศาลฎีกา ริบ นิพัทธ 49 ล้าน ร่ำรวยผิดปกติ.” https://www.thaipost.net/main/detail/43658, 12 ตุลาคม 2564.

สำนักข่าวอิสรา. “ครั้งแรก ป.ป.ช. ตรวจนับทองแท่ง 594 ล้าน สาธิต รังคสิริ ของกลางคดีรวยผิดปกติ.” https://www.isranews.org/investigative/investigate-unusual-wealt/82550-isranews-82550.html, 12 ตุลาคม 2564.

สำนักข่าวอิสรา. “ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ 9 มีนาคม ป.ป.ช. คืนเงินสดของกลาง 17 ล้าน คดี สุพจน์ ให้ ก.คลัง.” https://www.isranews.org/content-page/item/86192-isranews-86192.html, 12 ตุลาคม 2564.

สำนักข่าวอิสรา. “เปิดทางการ! ป.ป.ช. ฟัน นพรัตน์ อดีต ผอ. พศ. รวยผิดปกติ 575 ล้าน ซุกเมีย ลูก หลาน.” https://www.isranews.org/investigative/investigate-unusual-wealt/84508-isranewss-84508.html, 12 ตุลาคม 2564.

สำนักข่าวอิสรา. “ศาลคดีทุจริตฯ ยกฟ้อง ซี 6 ม.มหิดล ปมรวยผิดปกติ 29 ล้าน – คู่ความไม่อุทธรณ์ คดีถึงที่สุด.” https://www.isranews.org/content-page/item/85475-isranews-85422.html, 25 พฤษภาคม 2565.

สำนักพิมพ์ไทยพับลิก้า. “ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นปี 2564 ต้านทุจริตโลกย่ำอยู่กับที่ ไทยร่วงไปที่อันดับ 110.” https://thaipublica.org/2022/01/corruption-perception-index-2021/, 10 ธันวาคม 2564.

หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์. “ปปช. ยันสอบทรัพย์สิน “ดร. เอ้” ตามกฎหมายจ่อเรียกมาให้ถ้อยคำ.” https://www.thaipost.net/general-news/94369/, 18 กุมภาพันธ์ 2565.

หนังสือพิมพ์แนวหน้า. “คดีร่ำรวยผิดปกติที่น่าสนใจ ยึดทรัพย์เป็นของแผ่นดิน.” https://www.naewna.com/politic/columnist/41147, 12 ตุลาคม 2564.

ภาษาต่างประเทศ

Cat Barker, “Australia’s performance against Anti-corruption treaty reviewed.” https://www.aph.gov.au/About_Parliament/Parliamentary_ Departments/ Parliamentary_Library/FlagPost/2012/July/Australias_performance_against_Anti-corruption_treaty_reviewed, January 12, 2022.

Criminal Lawyers Sydney. “Plea Bargaining.” https://criminallawyersinsydney.com.au/plea-bargaining/, January 12, 2022.

Goodreads, Petrus C. Van Duyne. https://www.goodreads.com/ author/show/ 870279 .Petrus _C_van_Duyne, January 12, 2022

The Balance, Thomas J. Catalano, https://www.thebalance.com/ thomas-catalano-4800829, January 15, 2022.

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31