ปัญหาการลบทะเบียนประวัติอาชญากร

ผู้แต่ง

  • กิตติศักดิ์ ฟ้องเสียง -
  • กรรภิรมย์ โกมลารชุน

บทคัดย่อ

                  จากการศึกษากฎหมายการลบทะเบียนประวัติอาชญากรในกฎหมายต่างประเทศ จะเห็นว่า ทะเบียนประวัติอาชญากรนั้นส่งผลกระทบต่อตัวผู้กระทำความผิดในกรณีที่ผู้กระทำผิดนั้นสำนึกต่อการกระทำของตนแล้วต้องการที่จะกลับตนเป็นคนดีหรือผลต่อครอบครัวของผู้กระทำผิดและส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศชาติแม้ทะเบียนประวัติอาชญากรจะถูกใช้เป็นเครื่องมือหรือเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการยุติธรรมในด้านต่างๆก็ตาม อาทิ เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถใช้ข้อมูลทะเบียนประวัติ อาชญากร ได้แก่ประวัติของผู้กระทำผิด ลายพิมพ์นิ้วมือ เป็นต้น ในการสืบสวน สอบสวนติดตามจับกุมตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมายได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การสั่งฟ้องของพนักงานเป็นไปโดยง่าย และศาลสามารถใช้ทะเบียนประวัติอาชญากรประกอบดุลพินิจในการพิจารณา พิพากษาคดี รวมทั้งพิจารณาลงโทษหรือเพิ่มโทษให้เหมาะสมแก่ความผิดได้ก็ตามซึ่งประโยชน์ของทะเบียนประวัติอาชญากรนั้นก็สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการลงโทษ เพื่อเป็นการแก้แค้นทดแทนต่อความผิดที่ผู้กระทำได้กระทำในขณะเดียวกันในปัจจุบันยังไม่มีกลไกลทางกฎหมายใดๆไป ที่กำหนดให้ผู้กระทำความผิดที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมกลับตนเป็นคนดีแล้วและ สามารถกลับมา มีสิทธิต่างๆ และลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับบุคคลดังกล่าว จนทำให้บุคคลนั้นไม่สามารถกลับสู่สังคมได้ด้วยเหตุที่มีทะเบียนประวัติอาชญากรติดตัวและอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่างๆตามมา

                อีกทั้งประเทศต่างๆได้ตระหนักถึงผลกระทบดังกล่าวและแนวความคิดในเรื่องของการคงไว้ซึ่งทะเบียนประวัติอาชญากรได้เปลี่ยนแปลงไปโดยต้องการที่จะให้ความสำคัญต่อตัวผู้กระทำผิดที่สามารถแก้ไขฟื้นฟู หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตน และกลับตนเป็นคนดีมากกว่าซึ่งจะส่งผลให้ผู้กระทำผิดสามารถกลับคืนเข้าสู่สังคมได้แทนที่จะเป็นการแก้แค้นทดแทนแต่เพียงอย่างเดียวดังจะเห็นได้จากบทความ งานวิชาการจนกระทั่งได้มีการออกกฎหมายการลบทะเบียนประวัติอาชญากรขึ้นบังคับใช้ในที่สุดโดยหลักการและเหตุผลของกฎหมายดังกล่าวคือ เพื่อที่จะให้ผู้กระทำผิดที่ขอลบทะเบียนประวัติอาชญากรกลับมามีสิทธิต่างเพื่อลดผลกระทบที่บุคคลนั้นหรือสังคมจะได้รับๆอีกครั้งและทำให้บุคคลนั้นสามารถกลับคืนเข้าสู่สังคมได้ในที่สุด มากกว่าที่จะให้ผู้กระทำผิดที่กลับตัวเป็นคนดีแล้ว ก่อให้เกิดปัญหาต่อสังคมและประเทศชาติไม่ว่าจะเป็นการให้โอกาสบุคคลนั้นสามารถประกอบอาชีพบางอย่างได้ทั้งในภาครัฐและเอกชน ทั้งนี้หน่วยงานของรัฐและนายจ้างจะไม่สามารถเข้า ข้อมูลทะเบียนประวัติอาชญากร และตัวผู้กระทำผิดสามารถที่จะปฏิเสธถึงการมีอยู่ของทะเบียนประวัติอาชญากรได้ด้วยเป็นผลให้บุคคลดังกล่าวมีรายได้เลี้ยงตนเอง และครอบครัวได้ไม่ก่อปัญหาสังคมตามมาและสามารถกลับคืนเข้าสู่สังคมได้ด้วยเหตุนี้จึงมีจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำมาตรการทางกฎหมายของต่างประเทศ ได้แก่ประเทศออสเตรเลีย ประเทศแคนาดา และมลรัฐ เทกซัส สหรัฐอเมริกามาเป็นแนวทางในการออกกฎหมายการลบทะเบียนประวัติอาชญากรของไทย ให้มีความเหมาะสมกับความเป็นอยู่และสภาพสังคมไทย ตลอดจนเพื่อลดผลกระทบที่เกิดแก่ตัวผู้กระทำผิด และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นแก่สังคมในอนาคต

 

 

 

 

References

ภาษาไทย

กองบัญชาการศึกษา กรมตำรวจ. คู่มือตำรวจเล่ม7. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2539.

กุลพล พลวัน. พัฒนาการสิทธิมนุษยชน. ม.ป.ท: ม.ป.พ, ม.ป.ป.

หยุด แสงอุทัย. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป. ม.ป.ท: ม.ป.พ, 2529.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. กฎหมายมหาชนเล่ม 3 ที่มาและนิติวิธี. ม.ป.ท: ม.ป.พ, ม.ป.ป.

ชนะศักดิ์ ศิริทรัพย์. “ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการลบทะเบียนประวัติผู้เยาว์จากการกระทำผิด.”

วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560.

ภาษาต่างประเทศ

Criminal Records Act R.S.C 1985, Sec. 5.

Taxas Code of Criminal Procedure Title 1 Chapter 55, Art.55.03.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-06