ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับสถานะและบทบาทของศาลรัฐธรรมนูญ ในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตย

ผู้แต่ง

  • นิติกร จิรฐิติกาลกิจ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ

คำสำคัญ:

ศาลรัฐธรรมนูญ, ผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญ, รัฐธรรมนูญ, Constitutional Court, Guardian of the Constitution, Constitution

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

คำถามที่ว่า “องค์กรใดควรทำหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญ?” ได้กลายเป็นข้อถกเถียงทางวิชาการด้านกฎหมายมหาชนมาเกือบศตวรรษ และเป็นข้อความคิดพื้นฐานในการสนับสนุนให้เกิดการจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญในหลายประเทศทั่วโลก ขณะที่ในกรณีของประเทศไทย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่บัญญัติให้มีการจัดตั้ง “ศาลรัฐธรรมนูญ” นอกจากจะมุ่งหมายที่ต้องการจะแก้ไขปัญหาประสิทธิภาพของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นองค์กรวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญเดิมแล้ว
ยังมีเจตนารมณ์ที่ต้องการจะให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นกลไกสำคัญในการปฏิรูปการเมืองเพื่อสร้างระบบการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและการตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐที่มีประสิทธิภาพอันจะนำไปสู่การมีระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่สมบูรณ์ อย่างไรก็ดี ในชั้นของการร่างรัฐธรรมนูญมีการระบุว่า ศาลรัฐธรรมนูญไทยยึดโยงตัวแบบมาจากศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ซึ่งเป็นศาลรัฐธรรมนูญที่มีบทบาทโดดเด่นในฐานะที่เป็น “ผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญ” แต่กระนั้นในมุมมองทางวิชาการกลับเห็นว่า บทบาทอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญไทยยังมีความแตกต่างไปจากตัวแบบอยู่หลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทในการเป็นผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ดังนั้น การทบทวนข้อความคิดทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับสถานะและบทบาทของศาลรัฐธรรมนูญ ย่อมนำไปสู่มุมมองทางวิชาการอันจะ
เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาบทบาทของศาลรัฐธรรมนูญไทยให้เป็นผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอย่างแท้จริง   

คำสำคัญ: ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญ  

 

Abstract

        The question of ‘who ought to be the guardian of the constitution?’ have been
a significant academic debate in the area of public law for century, and it is also the fundamental idea to support the establishment of the Constitutional Court around the world. In case of Thailand, the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2540 (1997), which was the first Constitution that instituted the Constitutional Court, intended to reform Thai politics toward an actual democratic constitutional monarchy by strengthening checks and balances system and civil rights protection mechanisms. Not only being a key institution for political reform, the Constitutional Court was purposedly established to resolve problems on an incompetence of the former Constitutional Council that founded by the past several Constitutions for 50 years. Additionally, it might be noted that the founding idea of the Thai Constitutional Court, which obviously discussed in the Constitutional Drafting Committee was basically imitated the Federal Constitutional Court of Germany, which has been famously regarded as ‘the Guardian of the Constitution.’ However, the role of the Thai Constitutional Court in protecting the constitution has been academically criticized that it is significantly different from the German model in several aspects. It might therefore be mentioned that reconsidering the fundamental notions regarding the status and role of the Constitutional Court would lead to the valuable academic aspects, which could be essentially applied for the development of the Thai Constitutional Court in protecting the constitution under democratic regime with the King as head of state.   

Keywords: Constitutional Court; Guardian of the Constitution; Constitution    

Author Biography

นิติกร จิรฐิติกาลกิจ, สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ

* รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาการปกครอง) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; Master of Arts in Security and Justice, University of Leeds; Master of Public Policy and Management; The Education University of Hong Kong;

นักวิชาการศาลรัฐธรรมนูญชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานวิจัยและพัฒนากฎหมายรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ

* Master of Political Science, Faculty of Political Science, Thammasat University

Constitutional Academic Officer, Constitutional Research and Development Division,

Office of the Constitutional Court.

References

ภาษาไทย

กมลชัย รัตนสกาววงศ์. ‘องค์กรพิจารณาวินิจฉัยคดีรัฐธรรมนูญก่อนจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญในประเทศไทย’ ใน สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. ศาลรัฐธรรมนูญไทย อดีต ปัจจุบัน อนาคต. กรุงเทพมหานคร: นานาสิ่งพิมพ์, 2543.

กมลชัย รัตนสกาววงศ์. ศาลรัฐธรรมนูญและวิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2538.

พงศ์พิพัฒน์ บัญชานนท์. “เมื่อฝ่ายตุลาการเล่นการเมืองผ่านคำพิพากษา คุยกับ สมชาย ปรีชาศิลปกุล (The Matter, 8 กรกฎาคม 2562.” http://thematter.co/social/judicial-activism-in-thai-politics/80191, 18 พฤษภาคม 2564.

คณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์ สภาร่างรัฐธรรมนูญ. กรอบเบื้องต้นร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน, คณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์ สภาร่างรัฐธรรมนูญ, 2540.

ชาย ไชยชิต. ““ศาล” ในฐานะสถาบันทางการเมือง: มิติการศึกษาและทิศทางในการเมืองเปรียบเทียบ.” วารสารสถาบันพระปกเกล้า. (2561): 31 – 53.

ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์. ‘“ใครควรเป็นผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญ” ข้อโต้แย้งทางวิชาการระหว่างคาร์ล ชมิตต์ และ ฮันส์ เคลเซ่น.’ วารสารนิติศาสตร์. เล่ม 42. (2556): 254.

บรรเจิด สิงคะเนติ และคณะ. ศาลรัฐธรรมนูญกับแนวคิดประชาธิปไตยที่ปกป้องตนเองได้ (Sustainable Democracy) เสนอต่อสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: แอคทีฟพริ้นท์, 2563.

บรรเจิด สิงคะเนติ. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน, 2563.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. 4 ปี รัฐธรรมนูญ: ปัญหาและอุปสรรคต่อการปฏิรูปการเมือง. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า, 2544.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. คำอธิบายวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพมหานคร: สำนักศึกษาอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2563.

ประมุข บัณฑุกุล และ ศิวัช ศรีโภคางกุล. ‘บทบาทของศาลรัฐธรรมนูญท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมือง,’ วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 5. (2560): 209 – 225.

ปูนเทพ ศิรินุพงศ์. “สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ.” ในกฎหมายรัฐธรรมนูญไทย: การกลายพันธุ์ของความคิดทางรัฐธรรมนูญที่รับเข้าจากต่างประเทศ?. วารสารนิติศาสตร์. เล่มที่ 47. (2561): 85.

สมคิด เลิศไพฑูรย์. ตุลาการรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพมหานคร: นิติธรรม, 2536.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, รายงานการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 23 (21 กรกฎาคม 2540), น. 161.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, รายงานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (23 มิถุนายน 2540), น. 13/3 – 13/4.

อมร รักษาสัตย์. รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน พร้อมบทวิจารณ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542.

ภาษาต่างประเทศ

Aharon Barak. The Judge in a Democracy. Princeton University Press, 2006.

Albert H.Y. Chen. “Constitutional Court in Asia Western Origins and Asian Practice” in Albert H.Y. Chen and Andrew Harding (eds) Constitutional Courts in Asia: A Comparative Perspective. (Cambridge University Press 2018): 2.

Andrew Harding. “The Fundamentals of Constitutional Courts.” International IDEA Constitution Brief. (IDEA, 2017): 2.

Arkadiusz Górnisiewicz. “Dispute over the guardian of the Constitution Hans Kelsen, Carl Schmitt and the Wiemar case.” Politeja, 3, (2021): 193.

Benedikt Goderis and Mila Versteeg. “The Diffusion of Constitutional Rights.”International review of law and economics, 39, (2014): 1-19.

Björn Dressel. “Thailand Judicialization of politics or politicization of the judiciary?” in Björn Dressel (ed) The Judicialization of Politics in Asia. (Routledge, 2012): 82.

Khemthong Tonsakulrungruang. “The Constitutional Court of Thailand: From Activism to Arbitrariness” in Albert H.Y. Chen and Andrew Harding (eds) Constitutional Courts in Asia: A Comparative Perspective. (Cambridge University Press, 2018): 185.

Tom Ginsburg and Mila Versteeg. “Why Do Countries Adopt Constitutional Review?.” The Journal of Law, Economics, and Organization. 30. (2013): 617.

Tom Ginsburg. “Constitutional Court in East Asia: Understanding Variation.” Journal of Comparative Law. 3. (2008): 81-82.

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30