ปัญหาการคุกคามทางเพศเด็กบนโลกออนไลน์
คำสำคัญ:
คุกคามทางเพศ, ออนไลน์, เด็กบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญาเกี่ยวกับความรับผิดทางเพศต่อเด็กมีแต่เฉพาะกรณีที่เป็นการกระทำต่อเนื้อตัวร่างกายของผู้ถูกกระทำโดยตรงเท่านั้น การคุกคามทางเพศถือเป็นการกระทำที่มีลักษณะที่ส่อไปในทางเพศที่ก่อกวน รบกวน ทำให้ผู้อื่นตกใจกลัว เดือดร้อนรำคาญ หรือได้รับความอับอายในทางเพศ ไม่ว่าด้วยวาจา ท่าทาง ข้อความ รูปภาพ แสดงด้วยเสียง ซึ่งการกระทำดังกล่าวสามารถกระทำผ่านโลกออนไลน์ได้ โดยกลุ่มที่ตกเป็นเหยื่อได้โดยง่ายคือกลุ่มเด็ก เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความอ่อนแอทางชีวภาพรัฐจึงต้องให้การปกป้องคุ้มครองกลุ่มเด็กเป็นพิเศษ
ปัจจุบันประมวลกฎหมายอาญาของไทยที่บังคับใช้กับกรณีความผิดฐานคุกคามทางเพศคือ มาตรา 397 ซึ่งเป็นบทบัญญัติความผิดฐานทำให้ได้รับความเดือดร้อนรำคาญ มิใช่บทบัญญัติที่ใช้บังคับในกรณีการคุกคามทางเพศโดยตรง จึงทำให้บทบัญญัติดังกล่าวไม่สามารถแก้ปัญหาการคุกคามทางเพศเด็กบนโลกออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งอัตราโทษยังไม่เหมาะสมเมื่อพิจารณาถึงความร้ายแรงของอาชญากรรมทำให้ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์การลงโทษเพื่อป้องกันหรือข่มขู่ยับยั้งการกระทำผิด การที่รัฐไม่มีกฎหมายเป็นเครื่องมือในการจัดการปัญหาการคุกคามทางเพศเด็กโดยตรงย่อมทำให้ปัญหาการคุกคามทางเพศเด็กบนโลกออนไลน์ในสังคมไม่ได้รับการแก้ไข
จากการศึกษากฎหมายในต่างประเทศ พบว่าในต่างประเทศได้มีการกำหนดความผิดฐานคุกคามทางเพศเด็กบนโลกออนไลน์เอาไว้เป็นการเฉพาะ และมีการกำหนดคำนิยาม ความหมาย ลักษณะการกระทำการคุกคามทางเพศไว้อย่างชัดเจน รวมถึงได้กำหนดโทษและอัตราโทษการคุกคามทางเพศไว้อย่างเหมาะสมดังนั้น ผู้วิจัยจึงเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาการคุกคามทางเพศเด็กบนโลกออนไลน์โดยกำหนดคำนิยาม ความหมาย ลักษณะและรูปแบบการคุกคามทางเพศไว้อย่างชัดเจน อีกทั้งกำหนดบทบัญญัติความผิดฐานคุกคามทางเพศที่กระทำต่อเด็ก รวมถึงควรกำหนดโทษและอัตราโทษการคุกคามทางเพศไว้อย่างเหมาะสมกับความร้ายแรงของอาชญากรรม
References
ภาษาไทย
จอมพล พิทักษ์สันตโยธิน. “การคุกคามทางเพศบนอินเทอร์เน็ต: ศึกษาเปรียบเทียบมาตรการ ทางกฎหมาย
ในประเทศไทย อังกฤษ และสาธารณรัฐเกาหลี.” วารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข. ปีที่ 6.
ฉบับที่ 2. (กรกฎาคม – ธันวาคม 2563).
ทิพวัลย์ ศรีรักษา. “ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับกรณีการคุกคามทางเพศโดยการเฝ้าติดตามก่อให้เกิดความ
เดือดร้อนรำคาญและข่มขู่.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
ทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561.
ปกป้อง ศรีสนิท. “การวิเคราะห์โทษอาญาด้วยหลักนิติเศรษฐศาสตร์.” วารสารนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ปีที่ 3. น.39 (กันยายน 2553).
ปาริฉัตร รัตนากาญจน์. “การล่วงเกิน คุกคาม หรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญทางเพศ ต่อสตรีในที่ทำงาน:
รูปแบบหนึ่งของการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2551.
นิตยา บุญหนัก. “การศึกษาและการป้องกันการคุกคามทางเพศ.” สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต
สาขาวิชาจิตวิทยาการและแนะแนว มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2557.
สมสรรค์ อธิเวสส. “การคุกคามทางเพศบนสังคมเครือข่าย.” วารสารวิชาการ Veridian E-Journal. ปีที่ 7.
ฉบับที่ 3. (กันยายน – ธันวาคม 2557).
สัญญพงศ์ ลิ่มประเสริฐ. “การตกเป็นเหยื่อความรุนแรงทางเพศของเด็กและเยาวชน.”
วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. ปีที่ 5. ฉบับที่ 9. (กันยายน 2563).
สุรสิทธิ์ แสงวิโรจนพัฒน์. พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์
ของกฎหมาย พ. ศ.2562: ศึกษาหลักเกณฑ์ในการใช้ดุลพินิจกำหนดโทษกรณีบทปัญญัติ
ของกฎหมายหมดความจำเป็น. ม.ป.ท: สำนักงานศาลยุติธรรม, 2565.
อัจฉรียา ชูตินันท์. อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา. ม.ป.ท: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2563.
อัจฉรียา ชูตินันทน์. “นิติวิธีในการตีความกฎหมายอาญาของประเทศไทย.” วารสารสุทธิปริทัศน์.
ปีที่ 33. ฉบับที่ 107. (กรกฎาคม - กันยายน 2562).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Pridi Banomyong Law Journal
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.