ปัญหาทางกฎหมายในการยกเว้นโทษหรือลดโทษทางอาญาสำหรับผู้สูงอายุ
คำสำคัญ:
ปัญหาทางกฎหมาย, ผู้สูงอายุ, การลดโทษบทคัดย่อ
ในสถานการณ์ปัจจุบัน “สังคมผู้สูงอายุ (Aged Society)” ได้กลายเป็นเรื่องที่ทุก ๆ ประเทศทั่วโลกเผชิญ และหนึ่งในนั้นคือประเทศไทย ด้วยอัตราที่เพิ่มขึ้นของประชากรกลุ่มผู้สูงอายุนี้ ทำให้มีอัตราผู้กระทำความผิดที่เป็นผู้สูงอายุมากขึ้นด้วย เนื่องจากสภาพร่างกายและจิตใจของผู้สูงอายุที่มีความเปลี่ยนแปลง รวมถึงเศรษฐกิจ และสังคมซึ่งต่างจากวัยอื่น ๆ ซึ่งความชราภาพหรือความเสื่อมถอยของร่างกายและจิตใจนั้นอาจส่งผลต่อสติสัมปชัญญะด้วย อย่างไรก็ตาม เหตุผลดังกล่าวไม่ใช่ข้อกล่าวอ้างเมื่อผู้สูงอายุเป็นผู้กระทำความผิดทางอาญา แต่ในขณะที่หากเด็กและเยาวชนกระทำความผิดทางอาญาคนกลุ่มนี้จะได้รับการยกเว้นโทษหรือลดโทษทางอาญาตามเกณฑ์อายุที่กฎหมายกำหนด แตกต่างจากถ้าผู้กระทำความผิดทางอาญาเป็นผู้สูงอายุไม่มีบทบัญญัติใดเลยที่กล่าวถึงการยกเว้นโทษหรือลดโทษทางอาญาสำหรับผู้สูงอายุ ในขณะที่ประเทศไทยสมัยอดีตมีการบันทึกเอาไว้ตามกฎหมายลักษณะวิวาทตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ แต่ต่อมาเมื่อการแพทย์และสาธารณสุขมีความก้าวหน้ามากขึ้น บุคคลที่อายุ 70 ปีขึ้นไปจึงอาจไม่ได้มีอาการสติสัมปชัญญะบกพร่องเสมอไปดังเช่นอดีต และกฎหมายอาญาตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อการร่างกฎหมายลักษณะอาญาก็ไม่มีหลักการในเรื่องนี้ คณะกรรมการร่างกฎหมายลักษณะอาญาจึงไม่ได้กำหนดเหตุยกเว้นโทษสำหรับบุคคลผู้กระทำความผิดที่อายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไปไว้ในกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 แต่อย่างใด จนกระทั่งปัจจุบันประมวลกฎหมายอาญาก็มิได้มีการบัญญัติหลักกฎหมายดังกล่าวไว้อีกเช่นกัน
สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาเรื่อง ปัญหาทางกฎหมายในการยกเว้นโทษหรือลดโทษทางอาญาสำหรับผู้สูงอายุ โดยศึกษานอกจากกฎหมายอาญาของไทยในอดีตแล้ว ยังศึกษากฎหมายอาญาของต่างประเทศด้วย ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศออสเตรเลีย ประเทศญี่ปุ่น และประเทศฟิลิปปินส์ โดยความหลากหลายของระบบกฎหมายทั้ง 4 ประเทศนี้ เพื่อทำให้ทราบว่าประเทศไทยควรนำการยกเว้นโทษหรือลดโทษทางอาญาสำหรับผู้สูงอายุกลับมาใช้ในกฎหมายอาญาในปัจจุบันหรือไม่ เพียงใดถึงจะเหมาะสมและเกิดประโยชน์กับสังคมมากที่สุด รวมถึงเพื่อเป็นข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายอาญาของประเทศไทยต่อไป
References
ภาษาไทย
กนกพงศ์ อนันสันติวงศ์. “การศึกษาเชิงเปรียบเทียบขอบเขตในการให้ความคุ้มครองผู้เสียหายที่เป็นประชากร
กลุ่มเปราะบางตามประมวลกฎหมายอาญาไทย: ศึกษาประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส
และเยอรมนี.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2560.
กรมกิจการผู้สูงอายุ. “สังคมผู้สูงอายุในปัจจุบันและเศรษฐกิจในประเทศไทย.”
https://www.dop.go.th/th/know/15/926, 28 กันยายน 2565.
ฑิตฐิตา ธิติธรรมพฤกษ์ และ ธเนศ เกษศิลป์. “แนวคิดและรูปแบบการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังสูงอายุของ
ราชทัณฑ์ไทย.” วารสารสหศาสตร์. เล่มที่ 2. น. 4 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2563).
ดิศรณ์ ลิขิตวิทยาวุฒิ. “เหตุยกเว้นโทษสำหรับผู้สูงอายุในกฎหมายอาญาเก่าของประเทศไทย.”
วารสารนิติศาสตร์. เล่มที่ 3. น. 461-465 (กันยายน 2564).
นันทิดา ศิริธนานุกูลวงศ์. “มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิผู้ต้องหาหรือจำเลยที่เป็นผู้สูงอายุใน
การดำเนินคดีอาญา.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563.
ปราโมทย์ เสริมศีลธรรม. หลักเกณฑ์ในการกำหนดโทษทางอาญา ภายใต้โครงการสนับสนุนสารสนเทศเพื่อ
การทำงานของสมาชิกรัฐสภา. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า, 2564.
พิทักษ์ ศศิสุวรรณ. “กระบวนการยุติธรรมทางอาญาสำหรับผู้สูงอายุ (Criminal Justice Process for
Elders).” ในการประชุมวิชาการสาขานิติศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 1 หัวข้อ “ระบบกฎหมายไทย :
ปฏิรูป / เปลี่ยนผ่าน / ปฏิสังขรณ์.” จัดโดยคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2561.
เรวัต ฉ่ำเฉลิม. “ชะลอการฟ้อง.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522.
หัสนัย บุญมา. “มาตรการไม่ใช่โทษจำคุกสำหรับผู้กระทำความผิดสูงอายุ.” การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 2564.
ภาษาต่างประเทศ
National Judicial College of Australia. “The Commonwealth Sentencing Database.”
https://bit.ly/3aG4yaM, 28 กันยายน 2565.
Rappler. “90-year-old Enrile may still spend time in jail.”
https://www.rappler.com/nation/50901-enrile-time-jail/, 20 กันยายน 2565.
Stacey Steele. “Elderly Offenders in Japan and the saiban’in seido (Lay Judge System):
Reflections Through a Visit to the Tokyo District Court.” Japanese Studies. 223. (2015):
The United States Department of Justice. “ELDER ABUSE AND ELDER FINANCIAL EXPLOITATION
STATUTES.” https://www.justice.gov/elderjustice/prosecutors/statutes?field_statute_state=OH&field_statute_category=All, 4 เมษายน 2566.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Pridi Banomyong Law Journal Dhurakij Pundit University
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.