มาตรการควบคุมการจงใจลดขนาดหรือแยกส่วนโครงการ ภายใต้กฎหมายที่ต้องดำเนินการจัดทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

ผู้แต่ง

  • เพ็ญพิชชา ทวีพงษ์ -
  • ดลนภา นันทวโรไพร

คำสำคัญ:

หลีกเลี่ยงการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม, ลดขนาดโครงการ, แยกส่วนโครงการ, การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์

บทคัดย่อ

           สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งเน้นศึกษาหลักการที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อที่จะหามาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมในการป้องกันการหลีกเลี่ยงการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมโดยการจงใจลดขนาดหรือแยกส่วนโครงการ โดยศึกษาเปรียบเทียบจากกฎหมายไทย กฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ กฎหมายเยอรมัน กฎหมายเวียดนาม กฎหมายอังกฤษ และกฎหมายมาเลเซีย รวมทั้งพิจารณากรณีศึกษาจากคำพิพากษาศาลปกครองไทย และคำพิพากษาของต่างประเทศ ดำเนินการศึกษาด้วยวิธีการค้นคว้าข้อมูลจากเอกสาร (Documentary Research)

          จากการศึกษาพบว่า แนวทางที่เหมาะสมในการป้องกันและแก้ปัญหาดังกล่าว ได้แก่ การแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งประกาศกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้มีอำนาจพิจารณาอนุมัติหรืออนุญาตให้ดำเนินโครงการสามารถใช้ดุลพินิจในการกำหนดให้โครงการที่อาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญ เป็นโครงการที่ต้องจัดทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้วย เพิ่มเติมจากโครงการที่ระบุไว้ในบัญชีรายชื่อแบบ Positive List โดยนำประเด็นหรือกำหนดให้มีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมสะสมมาเป็นข้อพิจารณาด้วย และอาจให้ประชาชนหรือผู้มีส่วนได้เสียเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดโครงการที่อาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ โดยกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาโครงการที่อาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญให้ชัดเจนเพื่อเป็นกรอบในการใช้ดุลพินิจ นอกจากนี้ ยังควรนำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์มาพิจารณาในระดับนโยบาย แผน และแผนงาน ก่อนการอนุมัติหรืออนุญาตให้จัดทำโครงการ โดยกำหนดให้การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์มีสภาพบังคับเป็นกฎหมาย เพื่อให้การตัดสินใจเลือกดำเนินโครงการหรืออนุญาตให้ดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมายของการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามหลักการป้องกันหรือระวังไว้ก่อน และมีความสอดคล้องกับหลักการพัฒนาที่ยั่งยืนได้มากที่สุด         

คำสำคัญ: หลีกเลี่ยงการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม, ลดขนาดโครงการ, แยกส่วนโครงการ, การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์

References

ภาษาไทย

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร : วิญญูชน, 2563.

บรรเจิด สิงคะเนติ. “ดุลพินิจ” ตามมาตรา 40 แห่งรัฐบัญญัติว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

(Verwaltungsverfahrensgesetz -VwVfG) ของเยอรมนี. ใน ผลึกความคิด ชีวิตเอกบุญ. (2563): 154.

บริษัท ป่าสาละ จำกัด. “โครงการวิจัย “สู่ระบบการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่มีธรรมาภิบาล” (Towards an Environmental Impact Assessment (EIA) System with Good Governance).”

กรุงเทพมหานคร: บริษัท ป่าสาละ จำกัด, 2560.

ปวันรัตน์ คงวาณิช. “มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการกลั่นกรองโครงการหรือกิจการที่ต้องจัดทำรายงาน

วิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยเปรียบเทียบต่างประเทศ.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต

หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะนิติศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2558.

ภัสวรรณ อุชุพงศ์อมร. “ความเป็นกลางของเจ้าหน้าที่ในการพิจารณาทางปกครอง.” วารสารการเมือง

การบริหาร และกฎหมาย. เล่มที่ 8. ปีที่ 1. น. 488 (2562).

วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. หลักการพื้นฐานของกฎหมายปกครอง. กรุงเทพมหานคร: คณะนิติศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2538.

ศูนย์พัฒนาการค้าและธุรกิจไทย ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ

ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย. “การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม.” http://www.ditp.go.th/contents_attach/92458/92458.pdf, 28 ตุลาคม 2565.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. “แนวทางการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์

(ฉบับปรับปรุง).” http://sea.nesdc.go.th/pdf/gl/SEA-GL-1.pdf, 21 มกราคม 2565.

อนันต์ คงเครือพันธุ์. “ประโยชน์สาธารณะ” ในแง่มุมคดีปกครอง.” วารสารนิติศาสตร์. เล่มที่ 47. ปีที่ 3.

น. 722 (2561).

อมรเทพ อำนวยพล. “มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันผลกระทบ

สิ่งแวดล้อมสะสม.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมาย

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563.

อำนาจ วงศ์บัณฑิต. กฎหมายสิ่งแวดล้อม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน, 2562.

ภาษาต่างประเทศ

Álvaro Enríquez-de-Salamanca. “Project splitting in environmental impact assessment.” (2016) 34:2

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-06