ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ.2564 ภาค 2 การบำบัดรักษาและการฟื้นฟูสภาพทางสังคมแก่ผู้ติดยาเสพติด : ศึกษาปัญหาและการปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรการทางสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • ขวัญพิชชา ดวงขวัญ -
  • จิรวุฒิ ลิปิพันธ์

คำสำคัญ:

ประมวลกฎหมายยาเสพติด, การบำบัดรักษาและการฟื้นฟูสภาพทางสังคมแก่ผู้ติดยาเสพติด, มาตรการทางสาธารณสุข

บทคัดย่อ

ปัญหายาเสพติด เป็นปัญหาที่มีผลกระทบในมุมกว้าง ที่ประเทศไทยมุ่งแก้ไขเสมอมา เป็นปัญหาที่มีความซับซ้อน เนื่องจากมีบุคคลที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยาเสพติด หลายประเภทไม่ว่าจะเป็นผู้เสพยาเสพติดผู้ติดยาเสพติด หรือผู้ครอบครองไว้เพื่อเสพ ผู้รับจ้างขนยาเสพติดหรือผู้ค้ารายย่อย ผู้ค้ารายใหญ่หรือองค์กรอาชญากรรม ในอดีตการที่กฎหมายไม่เอื้อต่อระบบสาธารณสุขหรือระบบบำบัดฟื้นฟูสภาพทางสังคมแก่ผู้ติดยาเสพติด ทำให้ขาดประสิทธิภาพในการปรับใช้ในทางปฏิบัติ โดยมองว่าผู้ป่วยกลายเป็นอาชญากร รวมถึงการที่นักโทษยังคงมีประวัติอาชญากรติดตัวอยู่ ทำให้ไม่สามารถไปประกอบอาชีพได้ จึงต้องหวนคืนมาสู่กระบวนการบำบัดรักษาและการฟื้นฟูสภาพทางสังคมแก่ผู้ติดยาเสพติดซ้ำแล้วซ้ำเล่า

ในสารนิพนธ์เล่มนี้ ผู้เขียนมุ่งเน้นเฉพาะ ประมวลกฎหมายยาเสพติด ภาค 2 การบำบัดรักษาและการฟื้นฟูสภาพทางสังคมแก่ผู้ติดยาเสพติด โดยศึกษาปัญหาและการปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรการทางสาธารณสุข เนื่องจากในส่วนของ ผู้เสพยาเสพติด เป็นกลุ่มคนที่เปราะบาง ต้องนำมาตรการอื่นๆ ที่ไม่ใช่การลงโทษทางอาญามาบังคับใช้  เนื่องจากในส่วนนี้เกี่ยวพันในเรื่องของสุขภาพ และมาตรการทางสาธารณสุข เป็นกลุ่มที่ไม่มีความชั่วร้ายในจิตใจ แต่อาจมีปัจจัยอื่นๆมาเกี่ยวข้อง ทั้งสภาพแวดล้อม สังคม การชักจูง หรือเรื่องในทางเศรษฐกิจมาเกี่ยวข้อง เป็นกลุ่มที่สามารถหลุดออกจากวงจรยาเสพติดได้ หากได้รับโอกาสจากสังคม ซึ่งจะเป็นผลดีแก่สังคมมากกว่าที่จะพลักเขาไปสู่กระบวนการลงโทษที่รุนแรงเสียทีเดียว จึงต้องนำวิธีการเพื่อการรักษาสุขภาพและการดำเนินการทางด้านสุขภาพและการดำเนินการทางด้านสาธารณสุขเป็นสำคัญ และต้องไม่นำการลงโทษทางอาญามาใช้บังคับ โดยควรยึดมาตรการทางสาธารณสุข บูรณาการกับกระทรวงยุติธรรมในส่วนของการปรับใช้กฎหมาย และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เริ่มตั้งแต่กระบวนการแรก คือ กระบวนการคัดกรอง การบำบัดรักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการฟื้นฟูสรรถภาพทางสังคม การติดตามภายหลังจากการบำบัดรักษาเสร็จสิ้นแล้ว โดยใช้การฟื้นฟูสภาพทางสังคมของผู้ติดยาเสพติด หรือ การบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้สารเสพติดโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อให้บุคคลที่บำบัดรักษาผ่านแล้วสามารถกลับคืนสู่สังคมได้ ได้รับโอกาสจากสังคม และมีสิ่งแวดล้อมที่พร้อมให้การช่วยเหลือ ไม่ให้บุคคลดังกล่าวกลับไปสู่วงจรของยาเสพติดอีก

References

ภาษาไทย

“ราชทัณฑ์” เผย กม.ยาเสพติดใหม่เปิดช่อง “ผู้ต้องขัง” ร้องศาลกำหนดโทษเบาลงได้” Thai PBS

(1 กันยายน 2564) https://www.thaipbs.or.th/news/content/308662, 15 ธันวาคม 2565.

“หมอปลา” แจ้งจับศูนย์ฯบำบัด แฉยับ ตำรวจเอี่ยวผลประโยชน์ค้ามนุษย์ นรกบนดิน.” คมชัดลึก

(22 กันยายน 2564). https://www.komchadluek.net/news/484836, 15 ธันวาคม 2565.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการคัดกรอง แนวทางการคัดกรอง การประเมินความรุนแรง

การบำบัดรักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดสำหรับศูนย์คัดกรอง สถานพยาบาลยาเสพติด

และสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด (สิงหาคม 2565).

ณัฐดนัย สุภัทรากุล. “มาตรการทางกฎหมายในการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด: ศึกษา เปรียบเทียบกฎหมายว่า

ด้วยการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดกับรูปแบบบูรณาการของศาล ยาเสพติดในต่างประเทศ.” วิทยานิพนธ์

มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2549.

นันทา ชัยพิชิตพันธ์. “การบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ: ทางเลือกเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยเสพติด.”

ธรรมศาสตร์เวชสาร. เล่ม 1. ปีที่ 13. (2556).

รายงานสรุปผลการรับฟังความคิดเห็น ร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. ....

ร่างประมวลกฎหมายยาเสพติด และร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด (ฉบับที่...) พ.ศ. ... 39.

สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย. ข้อเสนอทางวิชาการต่อคณะรัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

เรื่อง ความเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. …

(พฤศจิกายน 2559).

สำนักงานป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs and

Crime: UNODC). เอกสารบรรยายสรุปสำหรับทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หัวข้อ “การบำบัดรักษา

โดยมีส่วนร่วมของชุมชน สำหรับผู้ใช้ยาเสพติดและติดยาเสพติด.”

หน่วยงานความร่วมมือด้านนโยบายยาเสพติดระหว่างประเทศ. คู่มือนโยบายยาเสพติด (2557).

อุกฤษฏ์ ศรพรหม. ผู้จัดการโครงการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ). “ประมวลกฎหมายยาเสพติด

ใหม่: ประชาชนได้อะไร คดียาเสพติดจะลดลงหรือไม่?” (เสวนาคณะนิติศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2 ธันวาคม 2564).

ภาษาต่างประเทศ

Cato Institute. DRUG DECRIMINALIZATION IN PORTUGAL: Lessons for Creating Fair and

Successful Drug Policies (Washington, D.C 2009).

Kleiman. Mark A. R.: Caulkins. Jonathan P. and Hawken Angela. “Drugs and Drug Policy:

What Everyone Needs to Know.” (แปลโดย อาจารย์พงษ์ศักดิ์ กาญจนาคพันธุ์. New York:

Oxford University Press, 2011.

Kleiman. Mark A.R. and Hawdon James E. “Encyclopedia of Drug Policy.”

(แปลโดย อาจารย์ พงษ์ศักดิ์ กาญจนาคพันธุ์. California: SAGE Publications, 2011.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-30