สิทธิในการรับมรดกของบุตรโดยบิดามารดาซึ่งบกพร่องต่อหน้าที่

ผู้แต่ง

  • ปิยรัฐ กรพุกกะณะ -
  • พินิจ ทิพย์มณี

คำสำคัญ:

การกำจัดไม่ให้รับมรดก, บิดามารดาซึ่งบกพร่องต่อหน้าที่, การคุ้มครองมรดกของบุตรที่ถูกละเลย

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบัญญัติแห่งกฎหมายมรดกเรื่องสิทธิในการรับมรดกของบุตรโดยบิดามารดาซึ่งบกพร่องต่อหน้าที่ อันเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อหน้าที่ของบิดามารดาต่อบุตรตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งกำหนดให้บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในขณะที่เป็นผู้เยาว์ และพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ซึ่งมีการกำหนดหน้าที่และความผิดของบิดามารดาไว้ แต่ตามกฎหมายมรดกของไทยได้บัญญัติเหตุที่ทายาทโดยธรรมจะเสียสิทธิในการรับมรดกไว้เพียง 4 ประการได้แก่ การถูกกำจัดมิให้รับมรดก การถูกตัดมิให้รับมรดก การสละมรดก และการเสียสิทธิการรับมรดกโดยผลของอายุความ หากเป็นกรณีที่เจ้ามรดกไม่มีการทำพินัยกรรมไว้บิดาหรือมารดาผู้นั้นยังคงมีสิทธิในการรับมรดกในฐานะทายาทลำดับที่ 2 เนื่องจากไม่มีบทบัญญัติกฎหมายกำหนดให้บิดามารดาที่บกพร่องต่อหน้าที่เสียสิทธิในการรับมรดกไป ด้วยเหตุนี้ จึงต้องเป็นไปตามหลักการตกทอดของมรดก

กฎหมายมรดกที่ประเทศไทยใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันได้รับการบัญญัติขึ้นตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นระยะเวลากว่า 90 ปี แต่เนื่องจากสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป ความคิดของคนในสังคมเปลี่ยนแปลง การบังคับใช้กฎหมายมรดกของไทยตามแนวคิดและทฤษฎีที่มีอยู่ดั่งเดิม อาจทำให้การบังคับใช้กฎหมายหมายนั้นไม่สัมพันธ์กับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ในขณะที่บางประเทศมีการบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการตัดสิทธิในการรับมรดกของบิดาหรือมารดาที่บกพร่องต่อหน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดูบุตรตามกฎหมาย ทำให้การแบ่งมรดกเป็นไปด้วยความยุติธรรมตามหลัก “ญาติสนิทตัดสิทธิญาติห่าง”

บทความฉบับนี้จึงศึกษาเรื่องสิทธิในการรับมรดกของบุตรโดยบิดามารดาซึ่งบกพร่องต่อหน้าที่ว่าควรแก้ไขให้มีบทบัญญัติกฎหมายที่มีผลเป็นการทำให้บิดามารดาซึ่งบกพร่องต่อหน้าที่ว่าเสียสิทธิในการรับมรดกของบุตรที่ตนได้บกพร่องต่อหน้าที่ การกลับมามีสิทธิรับมรดก โดยทำการศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศเกาหลีใต้และสหรัฐอเมริกาถึงหลักเกณฑ์ในการกำจัดบิดามารดาซึ่งบกพร่องต่อหน้าที่ และนำเสนอแนวทางการแก้ไขกฎหมายไทยให้ครอบคลุมถึงการจำกัดสิทธิในการรับมรดกของบุตรโดยบิดามารดาซึ่งบกพร่องต่อหน้าที่

References

ภาษาไทย

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน และพัฒนาเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแล พ.ศ. 2554.

กีรติ กาญจนรินทร์. “การสืบมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1607.” ดุลพาห. เล่มที่ 2. ปีที่ 55. (พฤษภาคม–สิงหาคม 2551).

ธานินทร์ กรัยวิเชียร และวิชา มหาคุณ. การตีความกฎหมาย. คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนชวาพิมพ์ จำกัด, 2545.

ถิรวิทย์ รักเล่ง. “ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับรับมรดก.” (บทความวิชาการ) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นภดล ชาติประเสริฐ. “ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในวัฒนธรรมเกาหลี.” (บทความวิชาการ). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และ มานิตย์ จุมปา. คำอธิบายกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยมรดก. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2548.

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ประมวลกฎหมายอาญา

พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546.

อัมพร ณ ตะกั่วทุ่ง. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 6 มรดก สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์นิติบรรณการ, 2527.

ภาษาต่างประเทศ

Estates. Powers & Trusts (EPTL) New York Consolidated Laws 2013

Ilsa Chan. “Goo Hara Act Passed By South Korea’s Cabinet. Will Prevent Parents Who Neglected Their Kids From Claiming Inheritance.” (1 Stars Avenue, Singapore: Mediacorp Press Ltd, 2021). 23 December 2023,

https://www.todayonline.com/8days/sceneandheard/entertainment/goo-hara-act-passed-southkoreas-cabinet-will-prevent-parents-who

Korean Civil Act.

North Carolina General Statutes.

Riggs v. Palmer, 115 N.Y. 506.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-30