มาตรการลงโทษทางอาญาที่เหมาะสมในการควบคุมผู้ประกอบการขนส่งด้วยรถยนต์โดยสารประจำทาง

ผู้แต่ง

  • เสฏฐพงศ์ สิงหวิริยะ -
  • จิรวุฒิ ลิปิพันธ์

คำสำคัญ:

อุบัติเหตุ, รถยนต์โดยสารประจำทาง, ค่าเสียหายเชิงลงโทษ

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเกี่ยวกับมาตรการลงโทษที่เหมาะสมในการควบคุมผู้ประกอบการขนส่งด้วยรถยนต์โดยสารประจำทาง ซึ่งในปัจจุบันพบว่ายังไม่มีประสิทธิภาพ เพียงพอที่จะยับยั้งอุบัติเหตุ อันเกิดจากรถยนต์โดยสารประจำทางได้ ส่งผลให้ในปัจจุบันประเทศไทยกลายเป็นประเทศ
ที่มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นอันดับหนึ่งของโลก 

การเกิดอุบัติเหตุจากรถยนต์โดยสารประจำทาง สามารถเกิดขึ้นได้จากสาเหตุ 2 ประการ คือเกิดจากสภาพของรถยนต์โดยสาร และเกิดจากสภาพร่างกายของผู้ขับขี่รถยนต์โดยสาร เนื่องจากการกระทำความผิดเกี่ยวกับอุบัติเหตุผู้กระทำมิได้เป็นผู้มีจิตใจเป็นอาชญากรโดยแท้ กฎหมายจึงกำหนดโทษไว้ต่ำ อย่างไรก็ตาม ในต่างประเทศได้มีการนำแนวคิดเกี่ยวกับค่าเสียหายเชิงลงโทษมาใช้ลงโทษผู้ประกอบการขนส่งผู้โดยสาร
ด้วยรถยนต์โดยสารประจำทาง ในคดีอุบัติเหตุเพื่อให้ผู้กระทำหลาบจำ โดยศาลกำหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษเป็นจำนวนที่สูงหลายเท่าเมื่อเทียบกับค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง จึงทำให้การควบคุมการให้บริการขนส่งผู้โดยสารด้วยรถยนต์โดยสารประจำทาง มีประสิทธิภาพ ประเทศไทยมีการกำหนดให้นำมาตรการค่าเสียหายเชิงลงโทษมาใช้ เช่น ในคดีผู้บริโภคทั่วไป แต่มิได้มีการกำหนดเกี่ยวกับให้นำแนวคิดเรื่องค่าเสียหายเชิงลงโทษมาใช้ลงโทษ ผู้ประกอบการขนส่งด้วยรถยนต์โดยสารประจำทาง ในคดีอุบัติเหตุในกฎหมายเฉพาะ
และจากการศึกษาคำพิพากษาในคดีอุบัติเหตุพบว่าศาลได้กำหนดค่าความเสียหายไว้ค่อนข้างต่ำ จึงทำให้
ไม่มีผลเป็นการยับยั้งการกระทำความผิด

มาตรการการลงโทษโดยทั่วไป ขอเสนอให้เพิ่มเติมมาตรา 40 ตรี แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ห้ามมิให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ใช้ หรือยินยอมให้ผู้ขับรถปฏิบัติหน้าที่ขับรถติดต่อกันเกินสี่ชั่วโมงนับแต่ขณะเริ่มปฏิบัติหน้าที่ขับรถ แต่ถ้าในระหว่างนั้น ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถได้พักติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่าครึ่งชั่วโมง  ก็ให้ปฏิบัติหน้าที่ขับรถต่อไปได้อีกไม่เกินสี่ชั่วโมงติดต่อกัน ขอเสนอให้เพิ่มเติมมาตรา 138 ตรี ผู้ฝ่าฝืน มาตรา 40 ตรี ดังกล่าวต้องระวางโทษไม่เกินห้าหมื่นบาท ขอเสนอให้มีการแก้ไขมาตรา 127 ทวิ และมาตรา 127 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ซึ่งจากเดิมมีการกำหนดโทษปรับไว้ไม่เกิน 5,000 บาท โดยแก้ไขโทษ ดังกล่าวเป็น 50,000 บาท โดยนำหลักการเพิ่มโทษตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2560 ที่แก้ไขอัตราโทษของประมวลกฎหมายอาญามาใช้

References

ภาษาไทย

กระทรวงคมนาคม. ข้อมูลในระบบ MOT DATA CATALOG ปี 2563 – 2564.

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 เล่ม 1. ม.ป.ท: สำนักพิมพ์กรุงสยามพับลิชชิ่ง, 2562.

คณิต ณ นคร. กฎหมายอาญาภาคทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 5. ม.ป.ท: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2556.

จักรกฤษณ์ ดวงพัสตรา. “แนวทางการนำบทเรียนการพัฒนาด้านการขนส่งทางถนนของสหภาพยุโรปมาประยุกต์ใช้

กับไทยและอาเซียน” ( 2559) ฉบับที่ 9 วารสารการขนส่งและโลจิสติกส์ 8-11.”

http://www.cuti.chula.ac.th/twwwroot/journals/old/translog2016/p1.pdf, 30 กันยายน 2565.

จิตติ ติงศภัทิย์. กฎหมายอาญาภาค 1. พิมพ์ครั้งที่ 11. ม.ป.ท: ศูนย์หนังสือเนติบัณฑิตยสภา, 2536.

เดลินิวออนไลน์. “กรมขนส่ง” เช็กจีพีเอสรถทัวร์ชนตอม่อสระบุรีไม่เกิน คาดคนขับหลับใน”

(12 มีนาคม 2565).” https://www.dailynews.co.th/news/850552/, 17 ธันวาคม 2565.

ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน. “สถานการณ์อุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะในประเทศไทยปี 2561”

(7 ธันวาคม 2561).” http://www.roadsafetythai.org/download_statdetail-edoc-408.html,

ธันวาคม 2565.

สหธน รัตนไพจิตร. “ความประสงค์ของการลงโทษอาญา: ศึกษาเฉพาะประเทศไทยสมัยใช้กฎหมาย ลักษณะ

อาญาและประมวลกฎหมายอาญา.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,

หยุด แสงอุทัย. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 11. ม.ป.ท: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,

ภาษาต่างประเทศ

Road Transport (Public Passenger Services) Act 2001.

Road Transport (Public Passenger Services) Regulations 2002.

National Transportation Safety Board, 49 U.S. Code Chapter 11, 1101-1155.

United States Code. “Title 49. Chapter 11 - National Transportation Safety Board.”

http://www.speedingeurope.com/france/, 21 มีนาคม 2566.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-30