บทบาทของศาลในการบังคับใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด

ผู้แต่ง

  • ณภัทร บุญญอารักษ์
  • จิรวุฒิ ลิปิพันธ์

คำสำคัญ:

บทบาทของศาล, การบังคับใช้กฎหมาย, ประมวลกฎหมายยาเสพติด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติเจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติมาตรการกำกับและติดตามจับกุมผู้หลบหนีการปล่อยชั่วคราวโดยศาล พ.ศ. 2560 (2) ศึกษาการเปรียบเทียบปัญหาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติเจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติมาตรการกำกับและติดตามจับกุมผู้หลบหนีการปล่อยชั่วคราวโดยศาล พ.ศ. 2560 ของกฎหมายทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ (3) ศึกษาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นภายใต้การบังคับใช้พระราชบัญญัติเจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติมาตรการกำกับและติดตามจับกุมผู้หลบหนีการปล่อยชั่วคราวโดยศาล พ.ศ. 2560 (4) เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับพระราชบัญญัติเจ้าพนักงานตำรวจศาล  พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติมาตรการกำกับและติดตามจับกุมผู้หลบหนีการปล่อยชั่วคราวโดยศาล พ.ศ. 2560

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยเอกสารที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติเจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติมาตรการกำกับและติดตามจับกุมผู้หลบหนีการปล่อยชั่วคราวโดยศาล พ.ศ. 2560 หนังสือ ตำรา วิทยานิพนธ์ บทความทางวิชาการ งานวิจัย และข้อมูลสารสนเทศทางอินเตอร์เน็ต โดยผู้วิจัยทำการวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากเนื้อหาที่ได้จากการวิจัยเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการเสนอแนะ ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้มีความชัดเจน

ผลการศึกษาพบว่า (1) ตามแนวคิด ทฤษฎี และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เมื่อมีผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ได้รับการปล่อยชั่วคราวโดยศาลหลบหนีไปทำให้การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลต้องล่าช้า ส่งผลกระทบต่อนโยบายในการป้องปรามอาชญากรรม สาเหตุสำคัญประการหนึ่งคือการไม่มีเจ้าพนักงานกำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ศาลกำหนดเพื่อป้องกันการหลบหนีหรือภัยอันตรายหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น นอกจากนี้เมื่อเกิดการหลบหนีก็ไม่มีเจ้าพนักงานที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงในการติดตามจับกุมผู้ต้องหาหรือจำเลยเหล่านั้นกลับมาดำเนินคดี (2) การเปรียบเทียบปัญหาของกฎหมายในประเทศไทยและต่างประเทศ พบว่ามาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติเจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ.2562 มีการกำหนดหน้าที่และอำนาจทั้งที่คล้ายคลึงและแตกต่างกัน ของทั้งหน่วยงาน U.S. Marshals ประเทศสหรัฐอเมริกา และเครือรัฐออสเตรเลีย (3) ตามกฎหมายของประเทศไทย เน้นการปล่อยชั่วคราวโดยมีประกันและหลักประกันมากกว่าการปล่อยชั่วคราวประเภทอื่น การกำหนดให้เจ้าพนักงานตำรวจศาลเป็นผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ศาลกำหนด โดยการประเมินความเสี่ยง การเป็นผู้สอดส่องดูแล รับรายงานตัว เพื่อป้องกันการหลบหนีหรือภัยอันตรายหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ (4) เห็นควรแก้ไขเพิ่มพระราชบัญญัติเจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ. 2562 ในการปฏิบัติหน้าที่ให้เจ้าพนักงานตำรวจศาลเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ให้มีหน้าที่และอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้อำนาจเจ้าพนักงานตำรวจศาลในการจับกุมจำเลยตามคำสั่งศาลได้โดยไม่ต้องอ้างเหตุจำเป็นเร่งด่วนที่ไม่สามารถขอความช่วยเหลือจากเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจได้ทันท่วงที เพื่อให้การปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการจับกุมจำเลยที่หลบหนีการปล่อยตัวชั่วคราวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

Author Biography

ณภัทร บุญญอารักษ์

ขออนุญาตส่งบทความที่ได้รับการตรวจจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้วเพื่อตีพิมพ์ลงในวารสารนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ เพื่อการขออนุมัติจบการศึกษาครับ  รายละเอียดปรากฏตามเอกสารที่แนบมาพร้อมนี้

นายณภัทร  บุญญอารักษ์  
นักศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์
รหัสนักศึกษา  645154040011
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เจ้าพนักงานศาลยุติธรรมปฏิบัติการ  สังกัดศาลแขวงพระนครเหนือ
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ อาคาร A แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
โทร 099 159 2405
E - mail   naphatkoong@gmail.com


ขอขอบพระคุณครับ

References

ภาษาไทย

กมลชัย รัตนสกาววงศ์. “รายงานการเสวนาทางวิชาการ เรื่อง กระบวนการยุติธรรมจะร่วมมือกันค้นหาความจริงในคดีอาญาได้อย่างไร.” บทบัณฑิตย์. เล่ม 1. (2539).

กอบบุญ โยธามาตย์. “คดียาเสพติด: ศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาโดยการจัดตั้งศาลยาเสพติด.”

วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2562.

กาญจนา ผาณิตมาส. “ปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ศึกษาเฉพาะกรณีการผัดฟ้อง ฝากขัง ภายหลังจากผู้ต้องหาถูกส่งตัวกลับมาเพื่อดำเนินคดีตามปกติ ในศาลแขวง ศาลจังหวัด หรือศาลอาญา.” เอกสารวิชาการรายบุคคล หลักสูตรผู้พิพากษาหัวหน้าศาล วิทยาลัยข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม, 2563.

คณิต ณ นคร. กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. พิมพ์ครั้งที่ 16. ม.ป.ท.: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2566.

คณิต ณ นคร. “ความสัมพันธ์ระหว่างอัยการกับตำรวจในเยอรมัน.” ใน สหาย ทรัพย์สุนทรกุล (บรรณาธิการ)

รวมบทความด้านวิชาการของศาสตราจารย์ ดร.คณิต ณ นคร อัยการสูงสุด. (สำนักงานอัยการสูงสุด,

.

คณิต ณ นคร. “อัยการเยอรมันและการดำเนินคดีอาญาของอัยการเยอรมันก่อนฟ้อง.” ใน สหาย ทรัพย์สุนทรกุล (บรรณาธิการ) รวมบทความด้านวิชาการของศาสตราจารย์ ดร.คณิต ณ นคร อัยการสูงสุด. (สำนักงานอัยการสูงสุด, 2540).

คณิต ณ นคร. “วิธีพิจารณาความอาญาไทย: หลักกฎหมายกับทางปฏิบัติที่ไม่ตรงกัน.” วารสารนิติศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. เล่ม 3. (2528).

จุฑามาศ พฤฒิวิญญู. “มาตรการทางกฎหมายในการลดทอนความเป็นอาชญากรรมทางคดียาเสพติด

ของประเทศไทย.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553.

ณรงค์ ใจหาญ. หลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 14. ม.ป.ท: สำนักพิมพ์วิญญูชน,

ณรงค์ ใจหาญ และคณะ. “ศึกษาความเป็นไปได้ในการกำหนดชั้นโทษ และการนำไปปรับใช้ในประมวลกฎหมายอาญา.” (รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์เสนอต่อสำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม, 2549.

ณัฐพงศ์ สวัสดิ์วงษ์พร. “การค้นหาความจริงจากภูมิหลังของผู้ต้องหาในชั้นสอบสวน.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2550.

ธัชพงษ์ วงษ์เหรียญทอง. “ปัญหาการควบคุมตัวผู้ถูกกล่าวหาในพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545.” วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ. เล่มที่ 2. (2560)

ธานี วรภัทร์. “ศึกษาความเป็นไปได้ในการกำหนดมาตรการบังคับโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาใช้กับ

การวินิจฉัยการกระทำความผิดที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด กรณีศึกษาผู้ต้องขังหญิง.” รายงานผล

การวิจัยเสนอต่อสำนักกิจการในพระดำริพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา สำนักงานปลัด

กระทรวงยุติธรรม, 2559.

ธานี วรภัทร์. หลักกฎหมายมาตรการบังคับทางอาญา. ม.ป.ท: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2557.

นันท์รพัช ไชยอัครพงศ์. “การลดทอนความเป็นอาชญากรรมของคดียาเสพติด: กรณีศึกษา นโยบายและมาตรการทางเลือกในต่างประเทศ.” วารสารการเมือง การบริหารและกฎหมาย. เล่มที่ 3. (2556).

พรพักตร์ สถิตเวโรจน์ และคณะ. “การเปิดเผยพยานหลักฐานก่อนการสืบพยานในคดีแพ่ง: กรณีศึกษาเฉพาะ

ประเทศเยอรมัน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ.” รายงานการเก็บข้อมูลเสนอต่อสถาบันวิจัยและ

พัฒนากระบวนการยุติธรรม สำนักงานกิจการยุติธรรม, 2549.

มนสิชา โพธิสุข. “การเปิดเผยพยานหลักฐานในคดีอาญา.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2551.

วรรธนพงศ์ คำดี. “ศาลพิจารณากับการสืบพยานลับหลังจำเลย.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2555.

วิษณุ คำโนนม่วง. “มาตรการทางกฎหมายในการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด: ศึกษากรณีการนำระบบสมัครใจ

บำบัดมาใช้ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ธรรมศาสตร์, 2558.

สตรีเอวา จําปารัตน์. “คลินิกให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมคดียาเสพติดในระบบศาล.” วารสารจิตวิทยา. เล่ม 1.

(2564).

สมทรัพย์ นำอำนวย. “บทบาทของศาลในชั้นพิจารณากับการค้นหาความจริงในคดีอาญา.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2541.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด. “สรุปผลการประชุมวิชาการเพื่อกำหนดทางเลือก

เชิงนโยบาย เรื่อง กระบวนการยุติธรรมทางอาญากับการแก้ไขปัญหายาเสพติด: การจำแนกประเภทคดี

การลดจำนวนคดี และขั้นตอนในการดำเนินคดี.” http://incic.go.th/new/new/ index, 30 ธันวาคม

สำนักงานศาลยุติธรรม. รวมกฎหมายยาเสพติด. สำนักกฎหมาย และวิชาการศาลยุติธรรม สำนักงานศาล

ยุติธรรม, 2564.

สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล และปกป้อง ศรีสนิท. “การศึกษาเพื่อพัฒนาแนวทางการลงโทษ: หลักการลงโทษที่ได้

สัดส่วน กรณีคดียาเสพติดให้โทษ.” วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. เล่ม 4. (2560).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-30