ปัญหากฎหมายลิขสิทธิ์เกี่ยวกับงานที่สร้างโดยปัญญาประดิษฐ์ : กรณีศึกษาประเทศอังกฤษ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา และประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ศิริพิชชา กฤษฏิ์พงศ์ -
  • อังค์วรา ไชยอนงค์

คำสำคัญ:

ปัญญาประดิษฐ์, ลิขสิทธิ์, ผู้สร้างสรรค์, งานสร้างสรรค์โดยคอมพิวเตอร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงบทบัญญัติและอุปสรรคที่เกี่ยวข้องในการใช้กฎหมายลิขสิทธิ์กับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ของต่างประเทศและประเทศไทย เนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์ในปัจจุบันไม่ได้ให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ในส่วนที่เป็นงานสร้างสรรค์ที่เกิดจากปัญญาประดิษฐ์ รวมถึงไม่ได้กำหนดตัวบุคคลที่เป็นผู้สร้างสรรค์ในงานดังกล่าวไว้ ส่งผลให้งานนั้นตกเป็นสาธารณสมบัติที่ประชาชนทั่วไปสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างอิสระโดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน อีกทั้ง พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่มีบทบัญญัติที่คุ้มครองชัดเจน หรือไม่เท่าทันต่อสภาวการณ์ของเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้กฎหมาย

จากการศึกษากฎหมายของประเทศอังกฤษ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา และประเทศไทย พบว่าแม้ทั้งสี่ประเทศจะเป็นภาคีของข้อตกลงและอนุสัญญาเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศเช่นเดียวกัน แต่บทบัญญัติว่าด้วยผู้สร้างสรรค์และประเภทของงานอันมีลิขสิทธิ์ มีการกำหนดถึงรายละเอียดในการให้ความคุ้มครองที่ที่แตกต่างกันไป ซึ่งประเทศไทยมีการกำหนดคำนิยามคำว่า “ผู้สร้างสรรค์” ต้องเป็นบุคคล ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 แต่เมื่อพิจารณาของประเทศอังกฤษ ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศแคนาดา พบว่าไม่ได้มีการกำหนดคำนิยามของผู้สร้างสรรค์ไว้ชัดเจน สืบเนื่องจากความตกลงระหว่างประเทศให้ความคุ้มครองงานที่เกิดจากผู้สร้างสรรค์ที่เป็นมนุษย์ ส่งผลให้ประเทศที่เป็นสมาชิกแต่ละประเทศหากประสงค์จะให้ความคุ้มครองงานที่สร้างโดยปัญญาประดิษฐ์ซึ่งไม่ใช่มนุษย์ จึงมีหน้าที่ต้องบัญญัติความหมายและหลักเกณฑ์การให้ความคุ้มครองไว้ในกฎหมายภายในประเทศของตน

ฉะนั้น ผู้เขียนจึงมีแนวความคิดเห็นควรให้มีการเพิ่มเติมคำนิยามในมาตรา 4 คำว่า “ปัญญาประดิษฐ์” “งานสร้างสรรค์ที่เกิดจากปัญญาประดิษฐ์” และ “ผู้สร้างสรรค์ร่วม” และเสนอแนะให้มีการปรับปรุงแก้ไขมาตรา 6 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 โดยเพิ่มเติมข้อความต่อท้ายว่า “รวมถึงงานสร้างสรรค์ที่เกิดจากปัญญาประดิษฐ์ที่มนุษย์อาจเข้าไปมีส่วนร่วมในการสร้างงานชิ้นนั้นขึ้นมาหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใด” และควรกำหนดให้ผู้ยื่นขอลิขสิทธิ์ต้องเปิดเผยเมื่องานของผู้สร้างสรรค์มีเนื้อหาที่สร้างโดยปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งเป็นการสร้างการรับรู้ที่ถูกต้องและเป็นจริงถึงแหล่งที่มาของงานสร้างสรรค์ การแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเป็นการดำเนินการเพื่อหาแนวทาง     ในการให้ความคุ้มครองงานสร้างสรรค์ที่เกิดจากปัญญาประดิษฐ์โดยกำหนดตัวผู้สร้างสรรค์ในงานให้มีความชัดเจน เพื่อให้ปรับใช้กฎหมายให้เหมาะสมรับกับการพัฒนาของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในปัจจุบัน

References

ภาษาไทย

จักรกฤษณ์ ควรพจน์. กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และเครื่องหมายการค้า. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2559.

จุมพล ภิญโญสินวัฒน์ และ ภูมินทร์ บุตรอินทร์. คำอธิบายกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา. พิมพ์ครั้งที่ 1. โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564.

ไชยยศ เหมะรัชตะ. ลักษณะของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา (พื้นฐานความรู้ทั่วไป). พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2562.

นิวัฒน์ มีลาภ. กฎหมายลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคําแหง, 2539.

อรสินี เชาวเลิศ. “ปัญหาการดัดแปลงงานดนตรี ศึกษากรณีการ cover เพลง เปรียบเทียบงานสร้างสรรค์

สืบเนื่อง (Derivative Works) และงานแปลงรูป (Transformative Works).” การค้นคว้าอิสระ

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2563.

ภาษาต่างประเทศ

Government of Canada. “Canadian Copyright Database.” https://www.ic.gc.ca/app/opic-cipo/cpyrghts/dtls.do?fileNum=1188619&type=1&lang=eng, 10 January 2023.

Howard B. Abrams. “Originality and Creativity in Copyright Law.” Law and Contemporary Problems 55, 2 (Spring 1992) 8.

Takashi B. Yamamoto. “AI Created Works and Copyright.” https://www.itlaw.jp/AI%20Created%20Works%20and%20Copyright.pdf,

December 2022.

Tony Analla. “Zarya of the Dawn: How AI is Changing the Landscape of Copyright Protection.” URL:https://jolt.law.harvard.edu/digest/zarya-of-the-dawn-how-ai-is-changing-the-landscape-of-copyright-protection, 10 April 2023.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-30