ความชอบธรรมในการใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการจำกัดช่องทางในการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระบบขายปลีกของประเทศไทยภายใต้สถานการณ์ การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด – 19 พ.ศ. 2563

ผู้แต่ง

  • โยษิตา คณาโชติโภคิน -

คำสำคัญ:

อิเล็กทรอนิกส์, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์, เชื้อไวรัสโควิด - 19, ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า, ความตกลงว่าด้วยอุปสรรคเทคนิคต่อการค้า

บทคัดย่อ

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 ส่งผลให้รัฐบาลมีการประกาศใช้มาตรการทางสาธารณสุข เรื่อง การเว้นระยะห่างทางสังคม และมีการรณรงค์ให้ประชาชนอยู่บ้านเพื่อลดการแพร่เชื้อ จึงทำให้ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นช่องทางหลักในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ทางสังคม รวมถึงการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ประกอบการค้าปลีกรายย่อยที่นิยมใช้ช่องทางดังกล่าวในการขายสินค้า

รัฐบาลไทยต้องการควบคุมการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป จึงออกมาตรการห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยให้เหตุผลว่าเพื่อเป็นการป้องกันเยาวชนไม่ให้เข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้โดยง่ายและเพื่อลดผลกระทบที่เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่มาตรการดังกล่าว กลับมีลักษณะเป็นการจำกัดช่องทางในการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระบบขายปลีก ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการค้าปลีกรายย่อยที่ใช้ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นช่องทางหลักในการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และมีแนวโน้มที่จะไม่สอดคล้องกับพันธกรณีภายใต้กรอบขององค์การการค้าโลก

งานวิจัยฉบับนี้ ศึกษาเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายของไทยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจำกัดช่องทางในการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระบบขายปลีกภายใต้สถานการณ์การการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด – 19 พ.ศ. 2653 และวิเคราะห์ถึงความสอดคล้องของมาตรการภายใต้พันธกรณีองค์การการค้าโลก จากความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (General Agreement on Tariffs and Trade หรือ ความตกลง GATT) และความตกลงว่าด้วยอุปสรรคเทคนิคต่อการค้า (Technical Barriers to Trade Agreement: TBT) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการใช้มาตรการจำกัดช่องทางจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระบบขายปลีก (Retail) ของประเทศไทย ให้สอดคล้องกับกฎหมายต่าง ๆ ภายในประเทศ และพันธกรณีภายใต้กรอบขององค์การการค้าโลก

References

ภาษาไทย

กนิษฐา ไทยกล้า และสุโข เสมมหาศักดิ์. “คราฟต์เบียร์ในสังคมไทย.” รายงานผลการวิจัยเสนอต่อสถาบันวิจัย

วิทยาศาสตร์สุขภาพมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2560.

จารุประภา รักพงษ์. กฎหมายแห่งองค์การการค้าโลก. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2559.

จารุประภา รักพงษ์. ความสอดคล้องของมาตรการห้ามนำเข้าเนื้อสุกรที่ใช้สารเร่งเนื้อแดงของประเทศไทย

ภายใต้พันธกรณีขององค์การการค้าโลก. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เดือนตุลา จำกัด,

ทรงธรรม ปิ่นโต จริยา เปรมศิลป์ และคณะนโยบายการเงิน (ธนาคารแห่งประเทศไทย). เศรษฐศาสตร์

เล่มเดียวอยู่. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พลัสเพรส จำกัด, 2555.

นิพนธ์ พัวพงศกร. “สุรา โภคภัณฑ์ที่ไม่ธรรมดา.” หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ. (26 สิงหาคม 2552): 2.

พิรดา สุริโย. “ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการโฆษณาแฝง: ศึกษากรณีสินค้าประเภทให้โทษ.” วารสารวิชาการ

และวิจัย มทร. ธัญบุรี. ปีที่ 5. ฉบับที่ 2. น. 39-47(พฤษภาคม-สิงหาคม 2554).

ภาษาต่างประเทศ

World Trade Organization. “Japan - Taxes on Alcoholic Beverages.” จาก https://docs.wto.org/dol2fe

/Pages/SS/directdoc.aspx?filename=Q:/WT/DS/ 8ABR.pdf&Open =True, 15 เมษายน 2564.

World Trade Organization. “THAILAND - RESTRICTIONS ON IMPORTATION OF AND

INTERNALTAXES ON CIGARETTES.” จาก https://www.wto .org /english/tratop_e /dispu_e

/90cigarettes., 18 เมษายน 2564.

World Trade Organization. “United States - Import Prohibition of Certain Shrimp and Shrimp

Products.” จาก https://www.wto.org/English/tratop_e/dispu _e/cases_e/ds58_e.htm,

มีนาคม 2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-06