ข้อจำกัดกฎหมายในการควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของนายกเทศมนตรี โดยสภาเทศบาล

ผู้แต่ง

  • อนุสรณ์ โอโลรัมย์ -

คำสำคัญ:

สภาเทศบาล, นายกเทศมนตรี, การควบคุม

บทคัดย่อ

การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของนายกเทศมนตรี โดยกลไกการควบคุมโดยสภาเทศบาล (2) ศึกษาถึงหลักกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้องในการควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของนายกเทศมนตรี โดยสภาเทศบาล (3) เปรียบเทียบ วิเคราะห์ข้อจำกัดของกฎหมายไทย เกี่ยวกับการควบคุมการปฏิบัติหน้าที่นายกเทศมนตรี โดยสภาเทศบาลเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ (4) เพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไขกฎหมาย อันเป็นข้อจำกัดทางกฎหมายของสภาเทศบาลในการควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของนายกเทศมนตรี

ผลการศึกษาพบว่า (1) การปฏิบัติหน้าที่ของนายกเทศมนตรี จำเป็นต้องถ่วงดุลอำนาจระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติ ตามหลักการกระจายอำนาจปกครอง หลักการแบ่งแยกอำนาจ หลักการควบคุมฝ่ายปกครอง และหลักความไม่ไว้วางใจ (2) สภาเทศบาลมีข้อจำกัดกฎหมายในการควบคุมการปฏิบัติหน้าที่นายกเทศมนตรี ได้แก่ การรับทราบรายงานแสดงผลการปฏิบัติงานตามนโยบายที่นายกเทศมนตรีได้แถลงไว้ต่อสภาเทศบาลได้เพียงปีละครั้ง สภาเทศบาลไม่มีสิทธิอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ และไม่สามารถควบคุมการใช้จ่ายเงินสะสม ในสถานการณ์ภัยพิบัติฉุกเฉินได้ (3) ประเทศญี่ปุ่น มีการกำหนดให้หัวหน้าฝ่ายบริหาร สามารถแต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร โดยความเห็นชอบของสภาเทศบาล เพื่อถ่วงดุลอำนาจบริหาร สมาชิกสภามีสิทธิยื่นญัตติอภิปราย   ไม่ไว้วางใจหัวหน้าฝ่ายบริหารได้ และในกรณีที่มีภัยพิบัติฉุกเฉินเกิดขึ้น เมื่อหัวหน้าฝ่ายบริหารตัดสินใจกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งไปแล้ว ต้องเสนอให้สภารับรองในโอกาสแรกที่มีการประชุมสภา (4) จึงเสนอแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ดังนี้ ให้อำนาจสภาเทศบาลเรียกรายงานแสดงผลการปฏิบัติงานตามนโยบายที่นายกเทศมนตรีได้แถลงไว้ต่อสภาเทศบาลได้อีกไม่เกิน 2 ครั้งต่อปี ให้นายกเทศมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารเทศบาล โดยความเห็นชอบจากสภา ให้สมาชิกสภามีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกเทศมนตรี และแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงินการฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2547 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2561 โดยกำหนดว่า ภายหลังจากผู้บริหารท้องถิ่นอนุมัติใช้จ่ายเงินสะสมตามความจำเป็น กรณีฉุกเฉินที่มีสาธารณภัยเกิดขึ้นไปแล้วนั้น ให้ผู้บริหารท้องถิ่นเสนอรายงานการอนุมัติใช้จ่ายเงินสะสมต่อสภาท้องถิ่น เพื่อให้สภาท้องถิ่นรับรอง ในโอกาสแรกที่มีการประชุมสภาท้องถิ่น

References

ภาษาไทย

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. หลักการพื้นฐานกฎหมายมหาชน ว่าด้วยรัฐ รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย.

พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร : วิญญูชน, 2563.

โกวิทย์ พวงงาม. การปกครองท้องถิ่นไทย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : วิญญูชน, 2552.

โกวิทย์ พวงงาม. การปกครองท้องถิ่นไทย. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร : วิญญูชน, 2559.

ชาญชัย แสวงศักดิ์. คําอธิบายกฎหมายปกครอง. พิมพ์ครั้งที่ 22. กรุงเทพมหานคร : วิญญูชน, 2558.

ฐากูร ศิริยุทธ์วัฒนา. “ความไม่ไว้วางใจ: บทบาทของ องค์กรตุลาการในระบอบประชาธิปไตย.”

วารสารนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ปีที่ 47. ฉบับที่ 2. น. 352 (2561).

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ และคณะ. ทิศทางการปกครองท้องถิ่นของไทยและต่างประเทศ เปรียบเทียบ.

กรุงเทพมหานคร : วิญญูชน, 2546.

ภควัต อัจฉริยปัญญา. “Japanese Political System and Local Government System.” ฉบับที่ 7.

จดหมายข่าวสถาบันพระปกเกล้า. น. 3-5 (2557).

วัชรินทร์ ปัจเจกวิญญูสกุล. “การควบคุมฝ่ายบริหาร.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย, 2520.

วิษณุ เครืองาม. กฎหมายรัฐธรรมนูญ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: นิติบรรณการ, 2530.

สมคิด เลิศไพฑูรย์. รวมบทกฎหมายปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: นิติธรรม, 2539.

สมคิด เลิศไพฑูรย์ และมารุต วันทนากร. แนวคิดว่าด้วยฝ่ายบริหารเข้มแข็งกับการเลือกตั้งนายกเทศมนตรี

โดยตรงในประแทศ. กรุงเทพมหานคร: มิสเตอร์ก็อปปี้, 2546.

สมคิด เลิศไพบูลย์ และคณะ. โครงการศึกษาวิจัยรูปแบบและแนวทางกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:

กรณีศึกษาเปรียบเทียบแนวทางต่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น,

สำนักงาน ก.ถ. สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. “รายงานการศึกษาดูงานด้านการปกครองของประเทศ

ญี่ปุ่น.” http://local.moi.go.th/2009/pdf/thaijp.pdf, 22 พฤษภาคม 2566.

อมร จันทรสมบูรณ์. กฎหมายปกครอง. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2525.

ภาษาต่างประเทศ

Ernest S. Griffith. ระบบการปกครองของสหรัฐอเมริกา. แปลโดย นิพนธ์ มาศะวิสุทธิ์. พิมพ์ครั้งที่ 1.

พระนคร: โรงพิมพ์สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2515.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-06