การพักการลงโทษจำคุกในคดีอุกฉกรรจ์ตามกฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์
คำสำคัญ:
พักการลงโทษ, คดีอุกฉกรรจ์, นักโทษเด็ดขาดบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และความเป็นมาเกี่ยวกับการพักการลงโทษจำคุกในคดีอุกฉกรรจ์ (2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายของประเทศไทยกับประเทศฝรั่งเศส ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และประเทศสหรัฐอเมริกา ในเรื่องของการพักการลงโทษจำคุกในคดีอุกฉกรรจ์ (3) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายของมาตรการทางกฎหมายในการพักการลงโทษจำคุกในคดีอุกฉกรรจ์ตามกฎหมายของประเทศไทยเปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศฝรั่งเศส ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และประเทศสหรัฐอเมริกา และ(4) เพื่อศึกษาหาแนวทางแก้ไขและพัฒนามาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการพักการลงโทษจำคุกในคดีอุกฉกรรจ์ตามกฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์ของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล
ผลการวิจัยพบว่า (1) การพักการลงโทษจำคุกเป็นการปลดปล่อยนักโทษให้ได้รับอิสระก่อนครบกำหนดโทษที่แท้จริงตามคำพิพากษา เพื่อเป็นเครื่องจูงใจหรือเป็นรางวัลตอบแทน ในกรณีที่มีความประพฤติที่ดีขึ้น และเป็นมาตรการหนึ่งที่รัฐใช้แก้ปัญหาผู้ต้องขังล้นเรือนจำ โดยใช้หลักเกณฑ์ในการพิจารณาพักการลงโทษจำคุกเดียวกันในทุกๆ ประเภทความผิด ไม่มีหลักเกณฑ์ในการพักการลงโทษจำคุกในคดีอุกฉกรรจ์ไว้อย่างชัดเจน จึงยังไม่สอดคล้องกับทฤษฎีป้องกันสังคมจากการก่ออาชญากรรมหรือการกระทำความผิดซ้ำของนักโทษซึ่งมีสภาวะเป็นบุคคลที่มีความอันตราย (2) ประเทศฝรั่งเศส ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และประเทศสหรัฐอเมริกา ให้ความสำคัญกับการป้องกันสังคมและการกระทำความผิดซ้ำของผู้กระทำความผิดในคดีอุกฉกรรจ์ โดยมีการกำหนดมาตรการทางกฎหมายไว้อย่างชัดเจน และครอบคลุมถึงการแก้ไขปัญหาในการก่ออาชญากรรมหรือการหวนกลับมากระทำความผิดซ้ำได้ (3) กฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์ที่เกี่ยวกับการพักการลงโทษจำคุกของประเทศไทยพบปัญหาจากการที่นักโทษในคดีอุกฉกรรจ์ได้รับการปล่อยตัวเพื่อพักการลงโทษจำคุกก่อนกำหนดโทษหวนกลับมากระทำความผิดซ้ำ เนื่องจากมีการกำหนดระยะเวลาเพื่อความปลอดภัยของสังคมเอาไว้สั้นเกินไป อีกทั้งมาตรการทางกฎหมายไม่มีความชัดเจน และองค์ประกอบของผู้มีอำนาจในการพิจารณาพักการลงโทษประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่มีศาลซึ่งทำหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาเพื่อบังคับโทษ และภาคประชาชน (4) แก้ไขปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพักการลงโทษจำคุกในคดีอุกฉกรรจ์ตามกฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์ เช่น ประเทศฝรั่งเศส ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อให้การพักการลงโทษจำคุกในคดีอุกฉกรรจ์มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามมาตรฐานสากล
References
ภาษาไทย
เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร:
พลสยามพริ้นติ้ง, 2551.
จิตติ ติงศภัทิย์. กฎหมายอาญา ภาค 1. พิมพ์ครั้งที่10. กรุงเทพมหานคร: สำนักอบรมศึกษากฎหมาย
แห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2546.
ณัฐวัฒน์ สุทธิโยธิน. “ทฤษฎีการลงโทษ.” ใน กฎหมายอาญาและอาชญาวิทยาชั้นสูง.
นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี, 2564.
ธัชกานต์ จิตติชานนท์. “การนำมาตรการป้องกันป้องคนอันตรายมาใช้ป้องกันสังคม.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต
คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556.
นริศร์ พรรณพัฒน. “กฎหมายบังคับโทษ: ปัญหาเกี่ยวกับการสงเคราะห์หลังปล่อย.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2550.
บุญนำ หนามฉัตร. “โทษประหารชีวิต: ศึกษาสัดส่วนในการกำหนดโทษและการบังคับโทษ.”
วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2559.
ปฐมาวดี ปัทมโรจน์. “ตัวแบบการพักการลงโทษที่เหมาะสมกับประเทศไทย.” วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎี
บัณฑิตอาชญาวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล, 2553.
พรเลิศ ศักดิ์สงวน. “อำนาจในการพิจารณาพักการลงโทษ.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2555.
มิณฑิตา อัศวศิริศิลป์. “การคุ้มครองสตรีมีครรภ์จากการกระทำความผิดทางอาญา: ศึกษาการกำหนดให้เป็น
เหตุฉกรรจ์.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2560.
วรินทร กิจเจริญ. “การพักการลงโทษโดยมีเงื่อนไขการใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2558.
ศรีสวัสดิ์ มณีวงศ์. “การบังคับโทษประหารชีวิต: ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างประเทศไทยกับประเทศลาว.”
วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.
สราวุฒิ บุญญกูล. “ปัญหาเกี่ยวกับการลดวันต้องโทษ และพักการลงโทษ ตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์
พ.ศ. 2560.” รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2561.
สุพิชฌาย์ ศิริวัฒนา สีตะสิทธิ. “แนวทางที่เหมาะสมในการลงโทษ และแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดซ้ำ ในกระบวนการ
ยุติธรรมไทย.” วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558.
ภาษาต่างประเทศ
Alana Barton. “Just Deserts Theory.” In Encyclopedia of Prisons & Correctional Facilities.
p. 506(2004).
Bryan A. Garner. BLACK’S LAW DICTIONARY. United States of America.
United States of America: Thomson Reuters, 2014.
Frank Urbaniok. Astrid Rossegger and Jerome Endrass. “Can high-risk offenders be reliably
identified?.” Swiss Medical Weekly. (136), pp. 761-768 (2006).
Ihekwoaba D. Onwudiwe. Jonathan Odo and Emmanuel C. Onyeozili. “Deterrence Theory.”
In Encyclopedia of Prisons & Correctional Facilities. p. 233(2005).
Jorg Kinzig. “Preventive measures for dangerous recidivists.” European lournal of Crime.
Criminal Law and Criminal Justice. 5/1. 26(2011).
Patrick Keyzer. “The international human rights parameters for the reventive detention of
serious sex offenders.” In Dangerous people: Policy, prediction.and practice. New York: outtedge,
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Pridi Banomyong Law Journal Dhurakij Pundit University
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.