บทบาทของเจ้าพนักงานตำรวจศาลในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
คำสำคัญ:
การปล่อยตัวชั่วคราว, เจ้าพนักงานตำรวจศาล, กฎหมายบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติเจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติมาตรการกำกับและติดตามจับกุมผู้หลบหนีการปล่อยชั่วคราวโดยศาล พ.ศ. 2560 (2) ศึกษาการเปรียบเทียบปัญหาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติเจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติมาตรการกำกับและติดตามจับกุมผู้หลบหนีการปล่อยชั่วคราวโดยศาล พ.ศ. 2560 ของกฎหมายทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ (3) ศึกษาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นภายใต้การบังคับใช้พระราชบัญญัติเจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติมาตรการกำกับและติดตามจับกุมผู้หลบหนีการปล่อยชั่วคราวโดยศาล พ.ศ. 2560 (4) เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับพระราชบัญญัติเจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติมาตรการกำกับและติดตามจับกุมผู้หลบหนีการปล่อยชั่วคราวโดยศาล พ.ศ. 2560
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยเอกสารที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติเจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติมาตรการกำกับและติดตามจับกุมผู้หลบหนีการปล่อยชั่วคราวโดยศาล พ.ศ. 2560 หนังสือ ตำรา วิทยานิพนธ์ บทความทางวิชาการ งานวิจัย และข้อมูลสารสนเทศทางอินเตอร์เน็ต โดยผู้วิจัยทำการวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากเนื้อหาที่ได้จากการวิจัยเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการเสนอแนะ ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้มีความชัดเจน
ผลการศึกษาพบว่า (1) ตามแนวคิด ทฤษฎี และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เมื่อมีผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ได้รับการปล่อยชั่วคราวโดยศาลหลบหนีไปทำให้การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลต้องล่าช้า ส่งผลกระทบต่อนโยบายในการป้องปรามอาชญากรรม สาเหตุสำคัญประการหนึ่งคือการไม่มีเจ้าพนักงานกำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ศาลกำหนดเพื่อป้องกันการหลบหนีหรือภัยอันตรายหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น นอกจากนี้เมื่อเกิดการหลบหนีก็ไม่มีเจ้าพนักงานที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงในการติดตามจับกุมผู้ต้องหาหรือจำเลยเหล่านั้นกลับมาดำเนินคดี (2) การเปรียบเทียบปัญหาของกฎหมายในประเทศไทยและต่างประเทศ พบว่ามาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติเจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ.2562 มีการกำหนดหน้าที่และอำนาจทั้งที่คล้ายคลึงและแตกต่างกัน ของทั้งหน่วยงาน U.S. Marshals ประเทศสหรัฐอเมริกา และเครือรัฐออสเตรเลีย (3) ตามกฎหมายของประเทศไทย เน้นการปล่อยชั่วคราวโดยมีประกันและหลักประกันมากกว่าการปล่อยชั่วคราวประเภทอื่น การกำหนดให้เจ้าพนักงานตำรวจศาลเป็นผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ศาลกำหนด โดยการประเมินความเสี่ยง การเป็นผู้สอดส่องดูแล รับรายงานตัว เพื่อป้องกันการหลบหนีหรือภัยอันตรายหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ (4) เห็นควรแก้ไขเพิ่มพระราชบัญญัติเจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ. 2562 ในการปฏิบัติหน้าที่ให้เจ้าพนักงานตำรวจศาลเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ให้มีหน้าที่และอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้อำนาจเจ้าพนักงานตำรวจศาลในการจับกุมจำเลยตามคำสั่งศาลได้โดยไม่ต้องอ้างเหตุจำเป็นเร่งด่วนที่ไม่สามารถขอความช่วยเหลือจากเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจได้ทันท่วงที เพื่อให้การปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการจับกุมจำเลยที่หลบหนีการปล่อยตัวชั่วคราวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ : การปล่อยตัวชั่วคราว, เจ้าพนักงานตำรวจศาล, กฎหมาย
References
ภาษาไทย
กระทรวงยุติธรรม. หลักการและพื้นฐานกระบวนการยุติธรรมทางอาญา กระบวนการ
และการบริหารงานยุติธรรมไทย. (19 มิถุนายน 2565).
“คอร์ท มาแชลของศาลไทย (9 ธันวาคม 2560).” สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2566, จาก
https://www.thairath.co.th/news/local/1147540.
จิตติมา กำธรวิวรรธน์. “การปล่อยชั่วคราวโดยกำหนดเงื่อนไขศึกษาเปรียบเทียบกับประเทศ
สหรัฐอเมริกา” วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2549.
ปุณณพัฒน์ มหาลี้ตระกูล. “บทบาทของเจ้าพนักงานตำรวจศาลในการอำนวยความยุติธรรม
ศึกษาเฉพาะกรณีศูนย์รักษาความปลอดภัย สำนักงานศาลยุติธรรม.”
“ปัดฝุ่นตำรวจศาลหน่วยคุ้มกันภัยคุกคามตุลาการ (12 มิถุนายน 2557).” สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2566,
จาก www.komchadluek.net/news/politic/180662.
พิษญ์ พงษ์สวัสดิ์. “เรามาถึงสังคมยุคหลังเปาบุ้นจิ้นหรือยัง.” สืบค้นวันที่ 16 มีนาคม 2566, จาก
http://www.matichon.co.th/columnists/news_ 95497.
สวัสดิ์ สมแก้ว. “บทความทางวิชาการ หลักสูตรผู้พิพากษาหัวหน้าศาล รุ่นที่ 21 เจ้าพนักงานตำรวจศาล:
กรณีศึกษาปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย. Court Marshal: A Case Study of Legal Practice
Problems
สหรัฐ สิริวัฒน์. “ความจำเป็นและแนวทางในการจัดตั้งหน่วยรักษาความปลอดภัยของศาลยุติธรรม
(Court Marshal).” สืบค้นจาก http://www.library.coj.go.th/nfo/438822c=91378684.
ภาษาต่างประเทศ
Paul E Dow. Discretionary Justice: A Critical Inquiry. Cambridge: Mass, Ballinger Pub.
Prenzler T. and Starre, R., “Issues in Courtroom Security: a key role for the private sector in
Australia and new Zealand.” Security Journal (2012).
United Nations. “United Nations Standard Minimum Rules for Non-custodial Measures.”
https://www.ohchr.org/Docurents/ Professional Interest/tokyorules.pdf., 2 April 2017.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Pridi Banomyong Law Journal Dhurakij Pundit University
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.