มาตรการที่เหมาะสมในการซักถามเด็กและเยาวชนที่เป็นผู้เสียหายหรือพยานในระหว่าง การสอบสวนคดีอาญา
คำสำคัญ:
การซักถามเด็กและเยาวชน, ผู้เสียหาย, พยานบทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และความเป็นมาที่เกี่ยวข้องกับการซักถามเด็กและเยาวชนที่เป็นผู้เสียหายหรือพยานในระหว่างการสอบสวนคดีอาญา (2) ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายของประเทศไทยกับกฎหมายของประเทศอังกฤษ ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และประเทศญี่ปุ่นในเรื่องของการซักถามเด็กและเยาวชนที่เป็นผู้เสียหายหรือพยานในระหว่างการสอบสวนคดีอาญา (3) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายของมาตรการทางกฎหมายในการซักถามเด็กและเยาวชนที่เป็นผู้เสียหายหรือพยานในระหว่างการสอบสวนคดีอาญา ตามกฎหมายของไทยเปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศอังกฤษ ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และประเทศญี่ปุ่น (4) ศึกษาหาแนวทางแก้ไขพัฒนากระบวนการซักถามเด็กและเยาวชนที่เป็นผู้เสียหายหรือพยานในระหว่างการสอบสวนคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 133 ทวิ ให้มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล
ผลการศึกษาพบว่า (1) สิทธิของเด็กไม่ว่าในฐานะใดควรได้รับการปกป้องคุ้มครองดูแล การที่รัฐจะบัญญัติกฎหมายหรือการดำเนินการต่าง ๆ ทางกฎหมายที่จะคุ้มครองช่วยเหลือไม่ให้เด็กถูกละเมิดสิทธิ ต้องยึดถือประโยชน์ที่ดีที่สุดของเด็กเป็นสิ่งแรกในการพิจารณา สามารถเข้าถึงความยุติธรรมได้อย่างเสมอภาค และเป็นธรรม (2) ประเทศอังกฤษ มีแนวปฏิบัติและมาตรการที่เหมาะสมในการซักถามเด็กและเยาวชนที่เป็นผู้เสียหายหรือพยานในระหว่างการสอบสวนคดีอาญา ส่วนประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และประเทศญี่ปุ่น สามารถสืบพยานที่บันทึกด้วยภาพและเสียงในชั้นสอบสวนเป็นพยานหลักฐานในชั้นศาลได้โดยไม่ต้องนำตัวผู้เสียหายหรือพยานไปศาล (3) กฎหมายของประเทศไทยพบปัญหาในการถามปากคำผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็ก เช่น สถานที่ไม่เหมาะสมในการให้ปากคำ ต้องตอบคำถามที่เป็นการทำร้ายจิตใจ ตอบคำถามเรื่องเดิมมากครั้งเกินไป และต้องไปสืบพยานที่ศาลซ้ำอีก (4) ปรับปรุงมาตรฐานการคุ้มครองเด็กและเยาวชนที่เป็นผู้เสียหายในระหว่างการสอบสวน เช่นประเทศอังกฤษ ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และประเทศญี่ปุ่น และแก้ไขกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 133ทวิ เพื่อให้การถามปากคำผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็กมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล
References
ภาษาไทย
คณิต ณ นคร. กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน, 2564.
ดร.อุทัยอาทิเวช. แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาและบทบาทขององค์
การสหประชาชาติ เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ใน ประมวลสาระชุดวิชากฎหมาย
วิธีพิจารณาความอาญา และพยานชั้นสูง, หน่วยที่ 3. นนทบุรี: สาขาวิชานิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562.
ปิยพร เกษมภักดีพงษ์. “บทบาทของอัยการในการกำกับดูแลการสอบสวน: ศึกษากรณีการตรวจสอบการ
ขอออกหมายอาญาในชั้นเจ้าพนักงาน.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ธุรกิจบัณฑิตย์, 2556.
ภาษาต่างประเทศ
Graham M. Davies Helen L. Westcott. “Interviewing Child Witnesses under the Memorandum
of Good Practice: A research review” Police Research Series Paper 115, September 1999.
Kevin Smith and Gary Shaw. “Achieving Best Evidence in Criminal Proceedings: Guidance
on Interviewing Victims and Witnesses, and Guidance on Using Special Measures.”
January 2022.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Pridi Banomyong Law Journal Dhurakij Pundit University
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.