การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด
คำสำคัญ:
บำบัดรักษา, ยาเสพติดบทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความเป็นมา นโยบาย แนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด (2) ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายเกี่ยวกับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามประมวลกฎหมายยาเสพติดของประเทศไทยและต่างประเทศได้แก่ ประเทศโปรตุเกส และประเทศสหรัฐอเมริกา (3) วิเคราะห์การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามประมวลกฎหมายยาเสพติดของไทยและต่างประเทศ (4) เสนอแนะแนวทาง และแก้ไขการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดนำไปสู่การแก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นต่อไป
การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยจากเอกสาร ซึ่งผู้ศึกษาได้ทำการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวข้องจาก ตัวบทกฎหมาย วิทยานิพนธ์ หนังสือ บทความ งานวิจัย เอกสารทางวิชาการอื่นๆ และข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต เพื่อนำมาศึกษาวิเคราะห์ถึงการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด และข้อมูลสารสนเทศทางอินเทอร์เน็ตทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด เพื่อนำมาเป็นข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดนำไปสู่การแก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ผลการศึกษาพบว่า (1) ตามนโยบายแนวคิดและทฤษฎีที่สำคัญในการแก้ไขปัญหายาเสพติดเกี่ยวกับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในการช่วยให้ผู้ติดยาเสพติดเลิกยาเสพติดและไม่กลับไปกระทำความผิดซ้ำ (2) ประเทศไทยได้มีการบัญญัติประมวลกฎหมายยาเสพติด เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศโปรตุเกสและประเทศสหรัฐอเมริกาแล้วกฎหมายดังกล่าวยังไม่ครอบคลุมหรือเหมาะสม (3) การใช้อำนาจเจ้าหน้าที่ในการส่งตัวผู้กระทำความผิดเข้ารับการบำบัดไม่มีหน่วยงานอื่นถ่วงดุล ตรวจสอบ การกำจัดสิทธิในการเข้าสู่กระบวนการบำบัด หากผู้นั้นมีการกระทำความผิดอื่น หรือก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้อื่นหรือสังคมที่เกิดจากอาการโรคจิต ประสาท หรือฤทธิ์จากการใช้ยาเสพติด (4) ผู้ศึกษาจึงขอเสนอการแก้ไขกฎหมายยาเสพติดเกี่ยวกับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพพผู้ติดยาเสพติดให้ครอบคลุมและมีความเหมาะสมยิ่งขึ้นเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อผู้เข้ารับการบำบัดรักษา สังคม และประเทศชาติในการแก้ไขปัญหายาเสพติดต่อไป
References
ภาษาไทย
ศักดิ์ชัย เลิศพานิชพันธุ์. “การศึกษากฎหมาขยาเสพติดในต่างประเทศ : ศึกษาเฉพาะกรณีประเทศญี่ปุ่น
ฝรั่งเศสสวิตเซอร์แลนด์ เยอรมัน โปรตุเกส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา (การวิจัยภายใต้โครงการกำลังใจ
ในพระดำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา.” พิมพ์ครั้งที่ 2. 2557.
นันท์รพัช ไชยอัครพงศ์. “นโยบายและมาตรการทางเลือกในคดียาเสพติด : ศึกษาเฉพาะกรณีการลดทอนความ
เป็นอาชญากรรม.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555.
รังสินี ศรีแสน. “ปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ป่วยที่ผ่านการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดในระบบสมัครใจกลับไปเสพยาซ้ำใน
พื้นที่ตำบลบ้านร้องอำเภองาว จังหวัดลำปาง.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยพะเยา, 2557.
นิติภัทร์ สุภัทราวิวัฒน์. “มาตรการทางกฎหมายในการกำหนดหลักเกณฑ์ และกลุ่มเป้าหมายของผู้เข้ารับการ
บำบัดรักษาและการขยายฐานความผิดตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545.”
วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาลัยวิทยาลัยรามคำแหง, 2552.
กฤศ จิรภาสพงศา. “แนวทางในการนำมาตรการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดในชุมชนมาใช้กับการกระทำ
ความผิดโดยเด็กในประเทศไทย.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
วิษณุ คำโนนม่วง. “มาตรการทางกฎหมายในการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด: ศึกษากรณีการนำระบบสมัครใจ
บำบัดมาใช้ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด.” หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2558.
ณัฐดนัย สุภัทรากุล. “มาตรการทางกฎหมายในการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดขาเสพติด: ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมาย
ว่าด้วยการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดกับรูปแบบบูรมาการของศาลยาเสพคิดในต่างประเทศ.”
วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2549.
กระทรวงสาธารสุข. แนวทางการดดำเนินการลดอันตรายจากยาเสพติด (Harm Reduction). สมุทรสาคร:
บริษัทบอร์น ทู บี พับลิชชิ่ง จำกัด, 2560.
ศรีสมบัติ โชคประจักษ์ชัด. นิตยา สำเร็จผล. มณี อาภานันทิกุล. “รายงานการวิจัยผลการดำเนินงาน
ตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545.” พิมพ์ครั้งที่ 1. 2548.
อินทรชัย พาณิชกุล. “ปลดล็อกผู้เสพยาจากคาว่าอาชญากร นับหนึ่งใหม่นโยบาย ยาเสพติด.” โพสต์ทูเดย์.
https://www.posttoday.com/ politic/report/439755, 5 พฤษภาคม 2566.
สง่า อัครปรีดี. “การใช้มาตรการทางเลือกอื่นแทนการลงโทษทางอาญาในความผิด เกี่ยวกับยาเสพติด.”
http://web.krisdika.go.th/pdfPage.jsptype =act&act Code=213, 2561, 18 เมษายน 2566.
สำนักพัฒนาการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด. “รูปแบบการลดทอนอาชญากรรมในผู้ใช้ยาเสพติดใน
ประเทศโปรตุเกส (The Portuguese Drug Decriminalization Model).”
http://nctc.oncb.go.th/new/images/stories/article/year53/decri_ptg.pdf. พฤษภาคม 2566.
ภาษาต่างประเทศ
U.S. Department of Justice Office of Justice Programs. “Drug Courts.”
http:/www.ncjrs.gov/pdffiles 1/hij/238527.pdf, June 2015.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Pridi Banomyong Law Journal Dhurakij Pundit University
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.