มาตรการจูงใจในการประกอบวิสาหกิจเพื่อสังคม

ผู้แต่ง

  • ศรินญา นิลสำราญ คณะนิติศาสตร์ ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • รศ.พินิจ ทิพย์มณี คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

วิสาหกิจเพื่อสังคม, ผู้ประกอบการรายใหม่, มาตรการจูงใจในการประกอบวิสาหกิจเพื่อสังคม, Social Enterprises, New Entrepreneurs, Incentive Measures for Social Enterprises

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับ วิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ที่มีการดำเนินธุรกิจรูปแบบหนึ่งเพื่อแสวงหากำไรมีเป้าหมายหลักของกิจการในการมุ่งหวังที่จะแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน ทำให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดแก่สังคม มีความสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) เนื่องจากในปัจจุบันมีการส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ที่มีความสนใจในการดำเนินธุรกิจเพื่อสังคม โดยการนำโมเดลธุรกิจเข้ามาเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาสังคม แต่กฎหมายที่นำมาบังคับใช้มีการกำหนดเงื่อนไข คุณสมบัติของวิสาหกิจเพื่อสังคมที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทางภาษีที่แตกต่างกัน การกำหนดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ไม่ครอบคลุมให้วิสาหกิจเพื่อสังคมทุกประเภท รวมถึงมาตรการที่เป็นการจูงใจให้ผู้ประกอบการด้านการลงทุนในการดำเนินกิจการเพื่อสังคมยังมีไม่เพียงพอ ดังนั้น จึงจำเป็นที่ภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำหนดมาตรการภาครัฐในระยะยาว เพื่อส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคมให้มีจำนวนเพิ่มขึ้น ผู้วิจัยทำการศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้อง คือ พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม พ.ศ. 2562 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 735) พ.ศ. 2564 ที่มีการกำหนดนิยาม การจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม
การแบ่งประเภทของวิสาหกิจเพื่อสังคม การจัดตั้งหน่วยงานที่มีอำนาจกำกับดูแล และการส่งเสริมสนับสนุนวิสาหกิจเพื่อสังคมในด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับวิสาหกิจเพื่อสังคม เทียบเคียงกับกฎหมายของต่างประเทศ ประกอบด้วย ประเทศอังกฤษ สาธารณรัฐเกาหลี และประเทศญี่ปุ่น เป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาวิสาหกิจเพื่อสังคมจากแนวคิดต้นแบบของวิสาหกิจเพื่อสังคมนำมาปรับใช้กับประเทศไทย โดยประเด็นปัญหาที่ยกมาศึกษา คือ ปัญหาสถานะทางกฎหมายภาษีอากรของวิสาหกิจเพื่อสังคม ปัญหาการกำหนดคุณสมบัติของวิสาหกิจเพื่อสังคมที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ปัญหามาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจเพื่อสังคม ปัญหามาตรการด้านส่งเสริมการลงทุนในวิสาหกิจเพื่อสังคม  โดยวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จะมุ่งศึกษาเฉพาะประเด็นสำคัญที่กล่าวมาข้างต้นนี้เท่านั้น

        ผู้วิจัยจึงเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาการกำหนดสถานะของวิสาหกิจเพื่อสังคมที่มีความแตกต่างจากหน่วยงานอื่น การกำหนดคุณสมบัติของวิสาหกิจเพื่อสังคม การแบ่งประเภทของวิสาหกิจเพื่อสังคมเฉพาะวิสาหกิจเพื่อสังคมประเภทที่ไม่ประสงค์จะแบ่งปันกำไรเท่านั้นที่มีสิทธิในการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี และการกำหนดมาตรการช่วยเหลือด้านการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม

          โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้ประกอบการส่งเสริมให้ประเทศไทยมีการลงทุนประกอบวิสาหกิจเพื่อสังคมเพิ่มขึ้น จนนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชนเพื่อเกิดประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม สามารถช่วยลดความเหลื่อมล้ำของคนในสังคม

References

ภาษาไทย

กฎกระทรวง กำหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (ฉบับที่ 3)

พ.ศ. 2564.

กองบรรณาธิการ สำนักกฎหมาย. “การปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย.” จุลนิติ. (กรกฎาคม - สิงหาคม 2561).

ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 1/2563 เรื่องการยกเว้นข้อเสนอขายหุ้นของวิสาหกิจเพื่อสังคม

ที่เป็นบริษัทจำกัดที่เป็นการทั่วไปหรือต่อประชาชนในวงกว้าง.

ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม เรื่อง การกำกับดูแลกิจการที่ดี พ.ศ. 2562.

ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม เรื่อง เงื่อนไขการนำผลกำไรไปใช้เพื่อสังคม พ.ศ. 2562.

พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 735) พ.ศ. 2564.

พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม พ.ศ. 2562.

มุมมองสองวัย. “วิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise).” http://www.dailynew.co.th/article/270443, 25 พฤษภาคม 2564.

วราภรณ์ สามโกเศศ. Social Enterprise คือ “นวัตกรรมแห่งการให้.” มติชน วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2552.

วิลาสินี ยนต์วิกัย “การดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของสมดุลแห่งสังคมเพื่อความยั่งยืน.” วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) ปีที่ 6 ฉบับที่ 6 พฤษภาคม-สิงหาคม 2559.

ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. โครงการศึกษารูปแบบการจัดการกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise: SE) สำหรับผู้สูงอายุ รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ (Final Report). พฤศจิกายน 2561.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) บทความทางวิชาการ ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 (ฉบับย่อ).

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม. “ชวนมารู้จัก สวส. ให้มากขึ้น.” http://www.osep.or.th,

กุมภาพันธ์ 2565.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. “(ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พลิกโฉมประเทศไทยสู่ สังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่ายั่งยืน.” http://www.nesdc.go.th,

มกราคม 2565.

สำนักนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน. “วิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) คืออะไร.” http://www.dop.go.th>download>knowledge.pdf, 25 กุมภาพันธ์ 2565.

ภาษาต่างประเทศ

Alter, K. “Social Enterprise Typology.” Virtue Venture LLC. (2007).

British Business Bank. “Enterprise Finance Guarantee.” https://www.british-business-bank.co.th.uk/ourpartners/supporting-business-loans-enterprise-finance-guarantee/about-efg

Charity Bank. https://www.charity bank.org

Department for Business. Energy & Industrial Strategy. Chapter 7 Financing: Community interest companies https://assets.publishing.service.gov.uk>pdf.

The Restriction of Special Taxation Act 2008.

The Social Enterprise Act 2007.

The Tax Relief for Social Investment (Accreditation of Social Impact Contractor) Regulation 2014.

เผยแพร่แล้ว

2022-07-16