แนวคิดการแนะแนวตามแนวทางท่านศาสดามุฮัมมัด

Authors

  • ไพซ้อน ยิ่งนิยม
  • ศิวรักษ์ ศิวารมย์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและวิเคราะห์แนวคิดการแนะแนวของศาสดามุฮัมมัด r ในศาสนาอิสลามโดยศึกษาในคำภีร์อัลกุรอานและหะดีษและแหล่งข้อมูลอื่นๆโดยศึกษาใน 4 ประเด็น คือ (1) การแนะแนวในอิสลาม(2) มนุษย์ในอิสลาม (3)เพศสตรีในอิสลาม (4) ทักษะการใช้ชีวิตและความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวกับสังคม

ผลการวิจัยพบว่า ในคำภีร์อัลกุรอานไม่ได้กล่าวเรื่องการแนะแนวไว้อย่างชัดเจนโดยมีเพียงการกล่าวอยู่ในเนื้อหาของการดะห์วะห์ หรือ การเชิญชวนไปสู่แนวทางที่ถูกต้อง คือการให้ทางนำ ภายใต้เนื้อหาเจตนาของความหมายการดะห์วะห์นั้นมีรูปแบบของการแนะแนว กล่าวได้ว่าการแนะแนวเป็นส่วนหนึ่งของการดะห์วห์ในการแนะแนวในอิสลามนั้น ยึดหลักเชิญชวนสู่ความดี และห้ามปรามความชั่ว ซึ่งถือได้ว่าเป็นหัวใจหลักของการแนะแนวในรูปแบบอิสลามจึงเกิดความแตกต่างกับการแนะแนวทั่วไปคือเจตนารมณ์ในการแนะแนวนั้นต้องไม่เป็นการบอกทางหรือชี้ทางและไม่มีการกล่าวห้ามในสิ่งที่ผิด แนวคิดการแนะแนวตามแนวทางท่านศาสดามุฮัมมัด r คือการช่วยเหลือมนุษย์ให้รู้จักตนเอง พัฒนาศักยภาพเพื่อที่จะดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ตนเองและบุคคลอื่น คือ การช่วยเหลือมนุษย์ให้รู้จักตนเอง เปิดโอกาสเรียนรู้ที่จะเผชิญกับสภาพความเป็นจริง และสภาพสิ่งแวดล้อมโดยให้มนุษย์ใช้สติปัญญาไตร่ตรองในสิ่งที่เกิดขึ้นจากสาเหตุต้นตอของปัญหาและยอมรับในสิ่งที่ถูก ผิด ชั่ว ดี มีการขออภัยและให้อภัยเกิดการยอมรับในความเป็นจริงที่เกิดขึ้นเพื่อให้บุคคลนั้นพัฒนาศักยภาพเพื่อที่จะดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขในโลกนี้และโลกหน้า การแนะแนวของทั้งสองมีลักษณะและจุดมุ่งหมายเหมือนกันคือ การช่วยเหลือมนุษย์ให้รู้จักตนเอง พัฒนาศักยภาพเพื่อที่จะดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ตนเองและบุคคลอื่น  ส่วนที่แตกต่างคือโดยเจตนารมณ์หลัก ๆ ของการแนะแนวในอิสลามแล้วจะพบว่าการแนะแนวในอิสลามจะเข้าไปมีบทบาททุกส่วนของชีวิตมนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของคุณธรรมจริยธรรมเมื่อเห็นอะไรเป็นสิ่งที่ผิด หรืออาจก่อให้เกิดความผิดในอนาคตอย่างมีเหตุผลการแนะแนวอิสลามก็จะเข้าไปมีบทบาททันทีโดยยึดบรรทัดฐาน ส่งเสริมให้ปฏิบัติในสิ่งที่ดีงามห้ามปรามในสิ่งไม่ดีอย่างมีเหตุผล อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้เรียนรู้ในสภาพที่เป็นจริงโดยเน้นการใช้สติปัญญาใคร่ครวญในสิ่งที่เกิดขึ้นจากสาเหตุ ต้นตอและมีการขออภัย  ให้อภัยและถือได้ว่าตัวท่านศาสดาเองเป็นแบบฉบับและตัวอย่างในการแนะแนว  มนุษย์ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นนักแนะแนว อัลลอฮฺเพียงองค์เดียวเท่านั้นเองที่บอกว่าเป็นผู้สร้างมนุษย์  มนุษย์จะต้องส่งเสริมมนุษย์ด้วยการกระทำความดีและห้ามปรามความชั่ว และถือได้ว่ามนุษย์ถือกำเนิดในสภาพที่บริสุทธิ์ ผู้หญิงมีบทบาทหลักคือ การเป็นลูก เป็นภรรยาและเป็นแม่  อิสลามอนุญาตให้ผู้หญิงทำงานนอกบ้านได้โดยเป็นงานที่มีคุณค่าที่เหมาะสมกับธรรมชาติของผู้หญิง และความสามารถของผู้หญิง และจะต้องไม่บดทำลายความเป็นผู้หญิง โดยเฉพาะเมื่อผู้หญิงจำเป็นต้องมีงานนอกบ้าน หรือสังคมต้องการ

งานของผู้หญิงเป็นกรณีพิเศษ การแนะแนวในอิสลามจะเข้าไปมีบทบาทมากในเรื่องของเพศสตรี สังคมอิสลามเป็นสังคมที่ได้แปรความศรัทธาในพระเจ้าอัลลอฮฺ I และศาสดามุฮัมมัด r ออกมาในรูปของการปฏิบัติ โดยการให้ความสำคัญต่อจริยธรรม การรักษาความยุติธรรมทางสังคมอย่างเคร่งครัดและในสังคมก็จำเป็นต้องมีการแนะแนวในสังคม สืบเนื่องมากจากปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการอยู่รวมกลุ่มกันของมนุษย์ย่อมก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาเป็นธรรมดานอกจากนั้นการที่มนุษย์ต้องต่อสู้ดิ้นรน เพื่อความมีชีวิตอยู่รอด และดำเนินชีวิตอยู่ตามสมควร

แก่อัตภาพ

คำสำคัญ :แนวคิด การแนะแนว ศาสดามุฮัมมัด r ศาสนาอิสลาม

Downloads