ผลของการใช้บทเรียนโมดูลเรื่อง ศาสนา ตามแนวคิดพหุวัฒนธรรมศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Authors

  • ซุรียาตี อัศศอลีฮีน
  • ึ๊คณิตา นิจจรัลกุล

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดพหุวัฒนธรรมศึกษาเรื่อง ศาสนา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยบทเรียนโมดูลตามแนวคิดพหุวัฒนธรรมศึกษาเรื่อง ศาสนา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้บทเรียนโมดูลตามแนวคิดพหุวัฒนธรรมศึกษากับการเรียนการสอนแบบปกติเรื่องศาสนา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 4) เปรียบเทียบเจตคติที่มีต่อสังคมพหุวัฒนธรรมของนักเรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียนโมดูลตามแนวคิดพหุวัฒนธรรมศึกษากับการเรียนการสอนแบบปกติเรื่องศาสนา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่นำมาใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านดอนรัก อ.หนองจิก จ.ปัตตานี จำนวน 60 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนโมดูลตามแนวคิดพหุวัฒนธรรมศึกษา แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ บทเรียนโมดูลเรื่องศาสนาตามแนวคิดพหุวัฒนธรรมศึกษา แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดเจตคติที่มีต่อสังคมพหุวัฒนธรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)  ผลการวิจัยพบว่า  1) บทเรียนโมดูลตามแนวคิดพหุวัฒนธรรมศึกษา เรื่อง ศาสนา มีประสิทธิภาพ82.67/80.67               2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียนโมดูลตามแนวคิดพหุวัฒนธรรมศึกษา เรื่อง ศาสนา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05   3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียนโมดูลตามแนวคิดพหุวัฒนธรรมศึกษา เรื่อง ศาสนา สูงกว่าผู้เรียนที่เรียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  4) เจตคติที่มีต่อสังคมพหุวัฒนธรรมของผู้เรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียนโมดูลตามแนวคิดพหุวัฒนธรรมศึกษา เรื่อง ศาสนา สูงกว่าผู้เรียนที่เรียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

คำสำคัญ: บทเรียนโมดูล, พหุวัฒนธรรม, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, เจตคติ

Downloads

Additional Files

Published

2014-02-19