ผลการเรียนรู้แบบ Tribe ที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Authors

  • ฉัตรชนก แสงขาว
  • คณิตา นิจจรัลกุล

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรูปแบบ Tribe เรื่องการอ่าน 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยการเรียนรู้แบบ Tribe เรื่องการอ่านกับการจัดการเรียนแบบปกติ 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ Tribe เรื่องการอ่านกับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 4) เพื่อวัดระดับเจตคติเกี่ยวกับสังคมพหุวัฒนธรรมของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ Tribe เรื่องการอ่าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนอนุบาลปัตตานี จำนวน 92 คน (2 ห้องเรียน) ซึ่งได้มาโดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) แบบมีกลุ่มควบคุม วัดผลเฉพาะการทดลอง (Posttest-only control group design) เครื่องที่ใช้การวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบ Tribe เรื่องการอ่าน 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เรื่องการอ่าน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการอ่าน 4) แบบวัดทักษะกรคิดเชิงวิเคราะห์ 5) แบบวัดเจตคติสังคมพหุวัฒนธรรม วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเรียนบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที่แบบเป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยการเรียนรู้แบบ Tribe เรื่องการอ่านสูงกว่านักเรียนที่เรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2) ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ Tribe เรื่องการอ่านสูงกว่านักเรียนที่เรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) เจตคติเกี่ยวกับสังคมพหุวัฒนธรรมของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ Tribe เรื่องการอ่าน อยู่ในระดับดี

คำสำคัญ: การเรียนรู้แบบ Tribe, การอ่าน, นักเรียนชั้นประถมปีที่ 5

Downloads

Additional Files

Published

2014-03-06