องค์การบริหารส่วนตำบลกับการส่งเสริมศิลปะพื้นบ้าน“ลิเกฮูลู”ของชาวไทยมุสลิมในท้องถิ่น กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส

Authors

  • นารีมัน กาเจ
  • ศรุดา สมพอง

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาสภาพและปัญหาเพื่อเสนอแนวทางในการส่งเสริมศิลปะพื้นบ้านลิเกฮูลูของชาวไทยมุสลิมในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ลิเกฮูลูเป็นการแสดงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ลักษณะของการขับร้องเพลงลิเกฮูลูเป็นการร้องเพลงพร้อมกับเคลื่อนไหวท่าทางตามจังหวะกลองรำมะนา  มีการขับกลอนเป็นภาษาต่าง ๆ   เรื่องที่นำมาร้องส่วนมากจะเป็นเรื่องทั่ว ๆไปที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน องค์การบริหารส่วนตำบลเรียง มีบทบาทในการส่งเสริมศิลปะพื้นบ้านลิเกฮูลูในท้องถิ่นโดยได้นำมาตรฐานการส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และจารีตประเพณีท้องถิ่นมาปรับใช้ ประกอบด้วย 1) ด้านการเรียนรู้ มีการสนับสนุนงบประมาณในท้องถิ่น 2) ด้านการมีส่วนร่วม มีการส่งเสริมให้คณะลิเกฮูลูเข้ามามีส่วนร่วมในงานกิจกรรมต่าง ๆ 3) ด้านการสร้างเครือข่าย ได้เชิญคณะลิเกฮูลูจากท้องถิ่นอื่นมาแสดงร่วมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ 4) ด้านการอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ ได้สนับสนุนให้มีการนำศิลปะพื้นบ้านมาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความสมานฉันท์ให้แก่คนในท้องถิ่นผ่านกิจกรรมต่าง ๆ  สภาพปัญหาในการส่งเสริมศิลปะพื้นบ้านลิเกฮูลู ขององค์การบริหารส่วนตำบลเรียงพบปัญหาในด้านต่างๆ คือ 1) ปัญหาด้านการเรียนรู้ ทำอย่างจำกัดเนื่องจากขาดงบประมาณและเด็กรุ่นใหม่ส่วนใหญ่มักจะละเลย มองว่าเป็นเรื่องของความล้าหลังไม่ทันสมัย 2) ปัญหาด้านการมีส่วนร่วม ประชาชนในท้องถิ่นส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยให้ความสำคัญ 3) ปัญหาด้านการสร้างเครือข่าย เป็นการร่วมมือกันแบบหลวมๆ และ 4) ปัญหาด้านการอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ทำให้การสนใจในศิลปะพื้นบ้านลดน้อย แนวทางในการส่งเสริมศิลปะพื้นบ้านลิเกฮูลูองค์การบริหารส่วนตำบลเรียงโดยได้นำมาตรฐานการส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และจารีตประเพณีท้องถิ่นมาปรับใช้ในท้องถิ่นอย่างเต็มระบบต่อไป

 

คำสำคัญ: การส่งเสริม, ลิเกฮูลูของชาวไทยมุสลิม

Downloads

Additional Files

Published

2014-03-06