A Model for Application of Health Impact Assessment for Evaluation Health Charter: A Case Study of Chalae subdistrict, Singhanakhon District, Songkhla Province

Authors

  • กำพล เศรษฐสุข, 6852279 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ, 6852279 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Keywords:

Health Impact Assessment, Health Charter

Abstract

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบของการประยุกต์ใช้กระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อประเมินประเมินธรรมนูญสุขภาพตำบล ในตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา โดยใช้วิธีการสังเกต สัมภาษณ์ และการประชุมกลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลเป็นคณะกรรมการใน 14 ระบบงานที่เป็นผู้ขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพ

ผลการศึกษา พบว่า กระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพในธรรมนูญสุขภาพตำบล ดำเนินการโดยแกนนำคณะกรรมการธรรมนูญและนักวิชาการของสถาบันการศึกษา โดยมีผู้มีส่วนร่วมในการประเมินจำนวน 5 กลุ่ม ประกอบด้วย คณะกรรมการธรรมนูญ แกนนำ ตัวแทนชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และนักวิชาการจากสถาบันการศึกษา ผู้เกี่ยวข้องกับการประเมินเห็นว่าควรมีการประเมินเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และทบทวนธรรมนูญ  ขอบเขตการประเมินใช้วิธีการให้ชุมชนเลือกตัวชี้วัดที่สำคัญตามสาระทั้ง 10 หมวดของธรรมนูญ การประเมินธรรมนูญในชุมชนโดยการสอบถามและการประชุมกลุ่ม มีคณะกรรมการธรรมนูญและสถาบันวิชาการเป็นแกนนำประเมิน ส่วนการทบทวนร่างรายงานด้วยวิธีการส่งเอกสารแสดงรายละเอียดให้กับทุกครัวเรือน การตัดสินใจปรับปรุงธรรมนูญโดยวิธีการทำเวทีประชาคมในชุมชน ส่วนการติดตามและการประเมินผลได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานในการติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง

การประยุกต์ใช้กระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ สามารถสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้มีส่วนร่วมในการทบทวนธรรมนูญสุขภาพ ทำให้ชุมชนมีการรับรู้ถึงแนวทางการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพมากขึ้น ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของประชาชนและแกนนำ และ สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพ

References

ขุนทอง บุญยประวิตร.2552. เรื่องเล่าจากชะแล้. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ.:เจ.เอส.การพิมพ์
เดชรัตน์ สุขกำเนิด วิชัย เอกพลากร ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์.2545. การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ เพื่อการสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ แนวคิด แนวทาง และแนวปฏิบัติสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.นนทบุรี
ถวิลวดี บุรีกุล.2551. ระบบการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมระดับจังหวัด.กรุงเทพฯ:ส เจริญการ พิมพ์.ออนไลด์.สืบค้นจาก http://kpi.ac.th/kpith,สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม
ธีรวุฒิ เอกะกุล.2553 การวิจัยปฏิบัติการ(Action Research). พิมพ์ครั้งที่ 3. อุบลราชธานี:บริษัทยงสวัสดิ์อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด
นงนภัส คู่วัญญู เที่ยงกมล.2554. การวิจัยเชิงบูรณาการแบบองค์รวม. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ.:บริษัท วี.พริ้นท์ (1991) จำกัด.
นุศราพร เกษสมบูรณ์ และคณะ.ม.ป.พ.สะท้อนคิดบทเรียนการพัฒนา HPP-HIA :แสงนำทางสู่ก้าวย่างใหม่.สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข:นนทบุรี
ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์ นุศราพร เกษสมบูรณ์ และนับยนา เอิบกิ่ง. บทเรียนการพัฒนาระบบการ กำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัทคุณาไทย จำกัด (วนิดาการพิมพ์)
พงค์เทพ สุธีรวุฒิ.2548. นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2557,สืบค้นจาก www.gotoknow.org
เพ็ญ สุขมาก.2554. รูปแบบการประเมินผลกระทบทางสุขภาพสำหรับเทศบาลตำบล ในลุ่มน้ำ ทะเลสาบสงขลา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตการจัดการสิ่งแวดล้อม.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฎ์ และคณะ.2550. กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนระบบสุขภาพในประเทศบรซิล สหรัฐอเมริกาและสหรัฐราชอาณาจักร.สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข:นนทบุรี
ศุภชัย ยาวะประภาษ ปิยากร หวังมหาพร.2552. นโยบายสาธารณะไทย กำเนิด พัฒนาการและ สถานภาพของศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ.:บริษัทจุดทอง จำกัด
องอาจ นัยพัฒน์.2554. การออกแบบการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2018-12-26