การออกแบบโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพวิถีอิสลามสำหรับผู้เดินทางไปประกอบพิธีหัจญ์อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส Islamic Promotion Program Design for Hajj Pilgrims in Ruso district, Narathiwas, Thailand
Abstract
บทคัดยอ
การวิจัยเชิงพัฒนาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพวิถีอิสลามสำหรับผู้เดินทางไปประกอบพิธีหัจญ์ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส โดยนำแนวคิดของปัจจัยกำหนดสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพวิถีอิสลาม เวชศาสตร์การเดินทางและแบบจำลองการเปลี่ยนแปลงระยะพฤติกรรม มาใช้เป็นกรอบแนวคิดการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ โดยมีขั้นตอนการออกแบบโปรแกรม ประกอบด้วย 2 ระยะ คือ ระยะศึกษาข้อมูลพื้นฐานเพื่อการออกแบบโปรแกรม และระยะออกแบบโปรแกรม โดยอาศัยกระบวนการสนทนากลุ่มของผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานดูแลสุขภาพผู้เดินทางไปประกอบพิธีหัจญ์ ผู้ที่เคยเดินทางไปประกอบพิธีหัจญ์ ผู้นำกลุ่มผู้ประกอบกิจการหัจญ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านศาสนาอิสลาม อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และผู้รับผิดชอบระดับนโยบายการดูแลสร้างเสริมสุขภาพสำหรับผู้เดินทางไปประกอบพิธีหัจญ์ เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพเครื่องมือ แบบบันทึกการสนทนากลุ่มของผู้วิจัย และแบบประเมินโปรแกรมฯ ระยะเวลาที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมฯ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2557 – พฤศจิกายน 2558 ผลการวิจัยพบว่า
1.กระบวนการออกแบบโปรแกรมฯ ประกอบด้วยขั้นตอน 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเพื่อการออกแบบโปรแกรม และระยะที่ 2 ระยะออกแบบโปรแกรม ประกอบด้วย ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ออกแบบร่างโปรแกรม ขั้นตอนที่ 2 การตรวจสอบคุณสมบัติของโปรแกรม โดยมีขั้นตอนย่อยดังนี้ 1) นำเสนอเพื่อรับฟังความเห็นผู้มีส่วนได้เสียในการใช้โปรแกรม 2) การปรับปรุงแก้ไขร่างโปรแกรม และ 3) การประเมินคุณภาพของโปรแกรมโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ปรับปรุงจนเป็นโปรแกรมฯฉบับสมบูรณ์
2. องค์ประกอบและเนื้อหาของโปรแกรมฯ พบว่า มีองค์ประกอบ 2
ส่วน คือ1.ส่วนที่ 1 ประกอบด้วย ปก คำนำ สารบัญ บทนำ วิธีการใช้โปรแกรมฯ แนวคิดที่ใช้ในโปรแกรมฯ และลักษณะโดยรวมของโปรแกรมฯ 2.ส่วนที่2 เนื้อหาสาระสำคัญของโปรแกรมฯ ประกอบด้วย 1) กิจกรรมของโปรแกรมฯก่อนการเดินทางไปประกอบพิธีหัจญ์ ระยะเวลาดำเนินการ เริ่มเดือนที่ 1-2 ตามปฏิทินอิสลาม หรือ 10-12 เดือนก่อนประกอบพิธีหัจญ์ ประกอบด้วยกิจกรรมสร้างความตระหนัก กิจกรรมตรวจสุขภาพ กิจกรรมประเมินความพร้อมขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และกิจกรรมปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตตามแนวทางศาสดา 2) กิจกรรมของโปรแกรมเพื่อเตรียมความพร้อมขณะประกอบพิธีหัจญ์ เริ่มเดือนที่ 6-10 ตามปฏิทินอิสลาม หรือ 2-6 เดือนก่อนประกอบพิธีหัจญ์ ประกอบด้วย กิจกรรมจำลองสถานการณ์และวางแผนกิจกรรม กิจกรรมตรวจสุขภาพครั้งที่ 2 – 3 และ3) กิจกรรมของโปรแกรมหลังเดินทางกลับประกอบด้วย กิจกรรมตรวจสุขภาพครั้งที่ 4 (หลังเดินทางกลับ) ภายในระยะ 1 เดือน หลังเดินทางกลับ และกิจกรรมค้นหาต้นแบบ และสร้างเครือข่ายชมรมรักสุขภาพ กิจกรรมดังกล่าวดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพ อาสาสมัครสาธารณสุขและสมาชิกครอบครัวหรือผู้ดูแลใกล้ชิด
พบว่า เนื้อหา กิจกรรมของโปรแกรมฯ มีความสอดคล้องกับแนวทางการจัดทำโปรแกรมที่ดี เหมาะสมกับบริบทการดูแลระดับปฐมภูมิ มีกิจกรรมที่ตอบสนองต่อการจัดการระดับบุคคล สิ่งแวดล้อมและระบบริการ สอดคล้องกับหลักการทางศาสนาอิสลาม มีแนวทางคัดกรองสุขภาพเพื่อการเดินทางและมีกิจกรรมการเพิ่มความตระหนักส่งผลดีต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อการมีสุขภาพดีในอนาคต
ABSTRACT
Objective of this development research was to design islamic promotion program for Hajj pilgrims in Ruso district, Narathiwas, Thailand. The framework of this program base on the determinants of health, islamic health promotion, travel medicine and stage of change in transtheoretical model.The process of research consists of two phases. Phase of data collection and phase of program development. Focus group discussion among stakeholders was applied in phase of program development. Stakeholders including health officials, those who have experienced to the pilgrimage, pilgrimage affairs operators, islamic scholars, health care volunteers and pilgrimage health policy makers. Instruments used of data collection were quality assessment form, focus group observation record and evaluation tool of the program. The duration of the program development from January 2014 to November 2015. The results were found that.
1.The program design process.This consisted of two phases.
Background study in the first phase. Design and development program in the next phase. The procedures in second phase as follows: 1) present program to stakeholders via focus group discussion, 2) modified the program, and 3) evaluation of the program by three experts and develop to the final program.
2.The composition and content of the program. It was found of two
parts.The first part contained of cover, introduction, table of contents, foreword, program instructions, concepts and overveiw of the program. The second part of the program contained of 3 main activities. 1) Pre-pilgrimage activities. Processing time from 1st-2nd month of islamic calendar, or 10-12 months pre-pilgrimage. Activities including health awareness activities, health check up, behavior evaluation activities and islamic lifestyle modifications according to Prophet. 2) Prepare of the Hajj rites. Processing time from 6th-10th months of islamic calendar,or 2-6 months pre-pilgrimage. The activities include simulation and planning activities. Health check up activities for 2nd and 3rd visit and 3) After returning activities. Processing time within one month after returning. Activities including Health check up for 4rd visit, seeking and create a health care model network in community.Such program activities performed by trained health staffs, health care volunteers, family members and close person.
Found that the content of the programs base on a good program
Development and context of the primary health care activities. Program activities also respond to individual , environmental and health care issues. Program guideline in accordance with the principles of Islam. The program involved travel health screening and awareness raising activities impact on behavioral change for future better health.