รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของบุรฮานุดดีนอัลซัรนูญีย์ในหนังสือตะอฺลีมุลมุตะอัลลิม เตาะรีกอตตะอัลลุม(تعليم المتعلم طريق التعلم) The Model of Learning in Burhanuddin al-Zarnuji s’ opinion on The Book Ta'līm al-Muta'allim-Ṭarīq at-Ta'-allum

Authors

  • อาหะมะ คาเด
  • อับดุลเลาะ การีนา

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาชีวประวัติของบุรฮานุดดีนอัลซัรนูญีย์  2) เพื่อศึกษาความเป็นมาและเนื้อหาสาระของหนังสือตะอฺลีมุลมุตะอัลลิม เตาะรีกอตตะอัลลุม(تعليم المتعلم طريق التعلم) 3.เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของบุรฮานุดดีน อัลซัรนูญีย์โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพที่เก็บข้อมูลจากเอกสารปฐมภูมิ (Primary Sources) ซึ่งประกอบด้วยตำราตะอฺลีมุลมุตะอัลลิม เตาะรีกอตและเอกสารทุติยภูมิ (Secondary Sources) ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย ที่เน้นการวิเคราะห์รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของบุรฮานุดดีน อัลซัรนูญีย์

                ผลการวิจัยพบว่า

คำว่า ซัรนูญีย์ มาจากคำว่า ซัรนูจ ซึ่งเป็นชื่อหนึ่งของเมืองในเปอร์เซีย เมืองหลวงของแคว้น อัซซะจีสฐานในสมัยก่อน(Al-bagdadi: 1979:138) เมืองที่มีชื่อเสียงตั้งอยู่หลังแม่น้ำหนึ่งหลังจากเมืองคูญันด์คือตั้งอยู่หลังแม่น้ำ ญีหูน(อามูดาร์ยา)ในเคาะรอสาน

หนังสือประวัติศาสตร์และหนังสือ อัตเฏาะบากอตและหนังสืออัตตะรอญุม ไม่ได้ระบุถึงวันเดือนปีเกิดของท่านอัซซัรนูญีย์  แต่ปีการเสียชีวิตของท่านมีการถกเถียงในบรรดานักประวัติศาสตร์ในการกำหนดวันเดือนปีที่เสียชีวิตของท่านส่วนในหนังสือ ที่ได้ทำการตะหฺกีกโดยท่าน อุษมาน ได้ระบุว่าท่านอัซซัรนูญีย์ ได้เสียชีวิตในปีที่ ฮ.ศ.591วรรณกรรมเล่มนี้ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ซึ่งถือว่าเป็นงานชิ้นเอกและเป็นผลงานที่ยิ่งใหญ่ของท่าน และยังเป็นแหล่งอ้างอิงของเหล่านักเขียนหนังสือทางวิชาการหลายท่าน โดยเฉพาะในสาขาศึกษาศาสตร์ ซึ่งเนื้อหาโดยรวมในหนังสือเล่มนี้พอจะสรุป ออกเป็น 13 ข้อ ดังนี้1.คุณค่าและความสำคัญของวิชาความรู้และความเข้าใจทางศาสนา 2.การสร้างเจตนาที่ดี 3.การคัดเลือกวิชาความรู้ที่จะเรียน อาจารย์ผู้สอนและเพื่อนฝูง 4.การให้เกียรติต่อวิชาความรู้และอาจารย์ผู้สอน 5.ความอุตสาหะและใฝ่เรียนรู้ 6.การเริ่ม การกำหนดและการเรียงลำดับในการศึกษาเล่าเรียน 7.การศึกษาหาความรู้ให้อยู่ภายใต้การดูแลของอัลลอฮฺเพียงผู้เดียว 8.ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการศึกษาหาความรู้ 9.ความรักความเมตตาและความตักเตือนซึ่งกันและกัน 10.พยายามให้ได้มาซึ่งความรู้ที่เป็นประโยชน์และความเข้าใจในเนื้อหาความรู้มารยาท 11.คุณลักษณะการสำรวมตนในช่วงเวลาเรียน 12.เคล็ดลับช่วยจำและสาเหตุของการหลงลืม        13.ปัจจัยของการเพิ่มพูนหรือตัดทอนปัจจัยยังชีพ

ส่วนรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทัศนะของท่านอัลซัรนูญีย์มีดังนี้ 1-การอภิปราย (المناظرة) 2-การตั้งคำถาม (المطارحة)  3-การย้อนคิดทบทวน (المذاكرة) 4- การใช้คำถาม (السؤال) 5-การสร้างความเข้าใจ 6-การสังเกต และการคิดใคร่ครวญ 7-ทัศนศึกษา 8-การบันทึก

 

คำสำคัญ:  รูปแบบการจัดการเรียนรู้  อัลซัรนูญีย์  ตะลีมุลมุตะอัลลิม

 

Abstract

This research aims to 1) study the Biography of  Burhanuddin al-Zarnuji 2)  study the origin and contents of the book Ta’limul mu’ta’allim to’riqatut ta’allum 3) study  the model of learning in Buhanuddi al-Zarnuji  ‘s opinion on the book : Ta'līm al-Muta'allim-arīq at-Ta'-allum  The methodology of qualitative research to collect data from primary documents and secondary documents.

 

The results showed that

Al-Zarnuj was born and lived in Zarnuj, a well-known town beyond the river Oxus in the present Turkistan. Burhan al-Din(proof of Din) or Burhan al-Islam(proof of Islam) al-Zarnuji were his agnomen, or moniker.

The overall content This book could be summarized into 13 deals.

1. The value and importance of knowledge and understanding of religion 2. Creating good intentions 3. Selection of knowledge to students 4. To honor the knowledge and instructor 5. Perseverance and learning 6. To start defining and sorting in the study 7. The study, to be under the care of Allah alone 9. love mercy and admonish one another. 10. attempt to gain useful knowledge and understanding of content knowledge etiquette. 11. Features humble themselves during class time. 12 tips to help remember and causes of amnesia. 13. The enhancement factors or censoring sustenance.

The style of learning in the opinion of the Burhanuddin al-Zarnuji as follows

1. debate 2. Subtract 3. Studying  4. the question 5. Creating understanding 6. Observing and thinking 7. field trips 8. Record

Keywords: Model of Learning,al-Zarnuji

Downloads

Published

2017-02-26