ผลของการเรียนว่ายน้ำที่มีต่อสมรรถภาพทางกาย ความดันโลหิต และชีพจร ของนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตยะลา
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และเปรียบเทียบผลของการเรียนว่ายน้ำที่มีต่อสมรรถภาพทางกาย ความดันโลหิต และชีพจร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตยะลา ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2551 อายุเฉลี่ย 19.76 ปี จาก 3 คณะ จำนวน 58 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) กลุ่มตัวอย่างทำการฝึกว่ายน้ำตามโปแกรมการฝึกที่มีผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นมาจากคู่มือการฝึกสอนกีฬาว่ายน้ำของสมาคมผู้ฝึกสอนกีฬาว่านน้ำแห่งประเทศไทย โดยทำการฝึกว่ายน้ำ 3 วัน ต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์
เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายของกรมพลศึกษาก่อนการฝึก และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนและทำการทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยใช้วิธีของเชฟเฟ่ (Shefe) กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัยพบว่า (1)ก่อนการฝึกว่ายน้ำ กลุ่มตัวอย่าง มีค่าเฉลี่ยของสมรรถภาพทางกายดังนี้ ความจุปอดเฉลี่ย 2,472.47 มิลลิลิตร แรงบีบมือเฉลี่ย 37.31 กิโลกรัม แรงเหยียดขาเฉลี่ย 82.73 กิโลกรัม ความอ่อนตัวด้านหน้าเฉลี่ย 6.28 เซนติเมตร ยืนกระโดดไกล 154.79 เซนติเมตร วิ่งระยะทาง 50 เมตร ใช้เวลา 8.34 วินาที และลุก-นั่ง 30 วินาที ได้เฉลี่ย 23.67 ครั้ง หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยของสมรรถภาพทางกายมีความจุปอดเฉลี่ย 2,597.24 มิลลิลิตร แรงบีบมือเฉลี่ย 39.66 กิโลกรัม แรงเหยียดขาเฉลี่ย 86.47 กิโลกรัม ความอ่อนตัวด้านหน้าเฉลี่ย 7.71 เซนติเมตร ยืนกระโดดไกล 156.79 เซนติเมตร วิ่งระยะทาง 50 เมตร ใช้เวลา 8.12 วินาที และลุก-นั่ง 30 วินาที ได้เฉลี่ย 27.40 ครั้ง (2)การเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกาย ก่อนการฝึกและหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 พบว่า นักศึกษาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตยะลา ที่เรียนคณะต่างกัน มีสมรรถภาพทางกายในเรื่องของความจุปอด แรงเหยียดขา ความอ่อนตัว ยืนกระโดดไกล วิ่ง 50 เมตร และ ลุกนั่ง 30 วินาที ในส่วนของการบีบมือ พบว่าไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 (3)ผลการเปรียบเทียบ ชีพจร และความดันโลหิต ก่อนการฝึกและหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 พบว่า นักศึกษาที่เรียนคณะต่างกันมีชีพจรและความดันโลหิต แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า โปรแกรมการฝึกว่ายน้ำที่พัฒนาจากคู่มือการฝึกกีฬาว่ายน้ำของสมาคมผู้ฝึกสอนกีฬาว่ายน้ำแห่งประเทศไทย โดยทำการฝึก 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา
8 สัปดาห์ สามารถพัฒนาสมรรถภาพทางกายของนักศึกษาดีขึ้น
คำสำคัญ: โปรงแกรมการฝึกว่ายน้ำพื้นฐานและสมรรถภาพทางกาย ความดันโลหิต ชีพจร นักศึกษา คณะที่ศึกษา