ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถใน การคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Authors

  • ดวงพร หมวกสกุล
  • ชวนพิศ ชุมคง
  • นพเก้า ณ พัทลุง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) พัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่  5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน  80/80  2)  เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5   ก่อนเรียน และหลังเรียนด้วยวิธีสอนแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้  7  ขั้นร่วมกับ  การใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์   3) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา  ปีที่  5  ก่อนเรียน และหลังเรียนด้วยวิธีสอนแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้  7  ขั้นร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์  และ4)   ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5  ที่มีต่อวิธีสอนแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้  7  ขั้นร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์  กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5  ภาคเรียนที่ 2   ปีการศึกษา  2555  โรงเรียนวัดชลธาราสิงเห(เสาร์ศึกษาคาร) อำเภอตากใบ  จังหวัดนราธิวาส  1  ห้องเรียน  จำนวน  30  คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ  1) ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่องน้ำ ฟ้า และดวงดาว  ชั้นประถมศึกษาปีที่  5  จำนวน  8  ชุด 2)  แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้  7  ขั้นร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ จำนวน  8   แผน   18   ชั่วโมง   3)  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์จำนวน  2   ฉบับ  ฉบับที่ 1 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ด้านความรู้/ความจำ  ความเข้าใจ  การนำไปใช้  ฉบับที่ 2  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก แบบคู่ขนานก่อนเรียนและหลังเรียน ฉบับละ  30  ข้อ  4)  แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์  แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก เป็นแบบทดสอบแบบคู่ขนานก่อนเรียนและหลังเรียน ฉบับละ 30  ข้อ  และ5)  แบบสอบถามความพึงพอใจต่อวิธีสอนแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นร่วมกับการใช้  ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ แบบมาตราส่วนประมาณค่า   จำนวน  20  ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ค่าเฉลี่ย  ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการทดสอบที (t – test) 

            ผลการวิจัยพบว่า  1) ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เรื่องน้ำ ฟ้าและดวงดาว ชั้นประถมศึกษาปีที่  5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ  84.29/83.00  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดคือ  80/80   2) ผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนวิทยาศาสตร์  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5  ที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01   3) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้  7  ขั้นร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01  และ4)  ความพึงพอใจของนักเรียน  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  ที่มีต่อวิธีสอนแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้  7  ขั้นร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมากที่สุด

 

คำสำคัญ: ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์, วิธีสอนแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรม วิทยาศาสตร์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์, ความสามารถในการคิดวิเคราะห์, ความพึงพอใจของนักเรียน

 

Downloads

Additional Files

Published

2016-02-04