รูปแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 ที่พัฒนาองค์ความรู้ร่วมกับชุมชน

Authors

  • พรรณี เทพสูตร
  • สมโภชน์ อเนกสุข
  • รุ่งฟ้า กิติญาณุสันต์

Abstract

งานวิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาองค์ความรู้ของโรงเรียน  องค์ความรู้ของชุมชน ความต้องการใช้ความรู้ร่วมกันของชุมชนกับโรงเรียนและวิธีดำเนินการเพื่อสร้างความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษา ที่พัฒนาองค์ความรู้ร่วมกับชุมชนจากสถานการณ์ที่ดำเนินการจริง  2)สังเคราะห์องค์ประกอบการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษา ที่พัฒนาองค์ความรู้ร่วมกับชุมชน จากสถานการณ์ที่ดำเนินการจริง 3)วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษา  ที่พัฒนาองค์ความรู้ร่วมกับชุมชน 4)สร้างรูปแบบความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษา ที่พัฒนาองค์ความรู้ร่วมกับชุมชน กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มที่ 1 ศึกษาเชิงคุณภาพโดยเลือกโรงเรียนแบบเจาะจง  เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น กลุ่มที่ 2  ศึกษาเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบประมาณค่า ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น กลุ่มที่ 3  ทำประชาพิจารณ์ กลุ่มตัวอย่างได้จากการเลือกแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ค่าสถิติพื้นฐานโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และใช้โปรแกรมสำเร็จรูปชั้นสูง ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

            1. องค์ความรู้ของโรงเรียนได้มาจากหลักสูตรแกนกลาง และหลักสูตรท้องถิ่น ที่โรงเรียนจัดทำขึ้นตามความต้องการของชุมชน องค์ความรู้ของชุมชนเป็นความรู้ที่ได้มาจากปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ชุมชนกับโรงเรียนมีความต้องการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นที่ชุมชนมีส่วนร่วมคิดและหาแนวทางการถ่ายทอดความรู้และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ในรูปแบบการจัดหลักสูตรเสริมให้กับผู้เรียนโดยให้โรงเรียนเป็นศูนย์กลาง

            2. องค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษา ที่พัฒนาองค์ความรู้ร่วมกับชุมชน 6 องค์ประกอบได้แก่ บุคคล องค์กร บริหารจัดการความรู้ เทคโนโลยี วัฒนธรรมองค์กร และ วิธีการเรียนรู้

3. ผลวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษา ที่พัฒนาองค์ความรู้ร่วมกับชุมชนพบว่า มีการยืนยันทุกองค์ประกอบโดยมีค่าสถิติบ่งชี้คือ c2 เท่ากับ 265.21 df เท่ากับ 122 c2/df เท่ากับ 2.17 CFI เท่ากับ 1.00 GFI เท่ากับ 0.97 AGFI เท่ากับ 0.95 SRMR เท่ากับ 0.012 RMSEA เท่ากับ 0.038

4. รูปแบบความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษา ที่พัฒนาองค์ความรู้ร่วมกับชุมชนที่พบว่า ทั้ง 6 องค์ประกอบมีความสัมพันธ์กันสูง โดย บุคคลมีความสัมพันธ์กับองค์กรและบริหารจัดการความรู้   สำหรับวัฒนธรรมองค์กรมีความสัมพันธ์เทคโนโลยี และวิธีการเรียนรู้ โดยต้องร่วมพัฒนาในเรื่อง ความรอบรู้ส่วนตน การเรียนรู้เป็นทีม การถ่ายโอนความรู้ นวัตกรรม แบบแผนทางความคิด การเรียนรู้จากประสบการณ์ ระบบการทำงาน กลยุทธ/ยุทธศาสตร์องค์กร วิสัยทัศนองคกร และแนวทางการดำเนินงาน

 คำสำคัญ:  องค์กรแห่งการเรียนรู้ /การพัฒนาองค์ความรู้/การมีส่วนร่วมกับชุมชน

Downloads

Additional Files

Published

2016-02-04