สมรรถภาพกลไกของนักเรียนโรงเรียนกีฬาเขตภาคใต้ในสังกัดสถาบันการพลศึกษา

Authors

  • ยุทธนา มยะกุล
  • สุนทรา กล้าณรงค์
  • น้อม สังข์ทอง

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาสมรรถภาพกลไกของนักเรียนโรงเรียนกีฬาเขตภาคใต้ในสังกัดสถาบันการพลศึกษา  เปรียบเทียบสมรรถภาพกลไกของนักเรียนโรงเรียนกีฬาเขตภาคใต้ในสังกัดสถาบันการพลศึกษา กับเกณฑ์มาตรฐานแบบทดสอบสมรรถภาพทางกลไกของสมาคมกีฬาสมัครเล่นแห่งประเทศญี่ปุ่น ตามตัวแปร เพศ ระดับชั้น โรงเรียน และชนิดกีฬา ประชากร เป็นนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ของโรงเรียนกีฬาจังหวัดตรัง จำนวน 226 คน (ชาย=203 หญิง=23) โรงเรียนกีฬาจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 346 คน(ชาย=196 หญิง=150) และ โรงเรียนกีฬาจังหวัดยะลา จำนวน 138 คน (ชาย=125 หญิง=13) รวม 710 คน (ชาย=524 หญิง=186) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบสมรรถภาพกลไกของสมาคมกีฬาสมัครเล่นแห่งประเทศญี่ปุ่น 5 รายการได้แก่ ยืนกระโดดไกล ลุก-นั่ง 30 วินาที  ดันพื้น วิ่งกลับตัว ระยะ5 เมตรในเวลา 15 วินาที และ วิ่ง 5 นาที วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ เพื่อหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนและทดสอบความแตกต่างรายคู่ตามวิธีของเชฟเฟ (Scheffe)

              ผลการวิจัยพบว่า ระดับสมรรถภาพกลไกของนักเรียนโรงเรียนกีฬาเขตภาคใต้ในสังกัดสถาบันการพลศึกษา โดยการทดสอบทั้ง 5 รายการ ระดับสมรรถภาพกลไกโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง ระดับสมรรถภาพกลไก ตามตัวแปรเพศ นักเรียนชายและนักเรียนหญิง อยู่ในระดับ ปานกลาง ระดับสมรรถภาพ กลไกตามตัวแปรระดับชั้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1, 2, 3, 4, 5 และ 6 อยู่ในระดับปานกลาง  ระดับ สมรรถภาพกลไกตามตัวแปรโรงเรียน โรงเรียนกีฬาจังหวัดตรังและโรงเรียนกีฬาจังหวัดนครศรีธรรมราชอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนระดับสมรรถภาพกลไกของนักเรียนโรงเรียนกีฬาจังหวัดยะลา อยู่ในระดับต่ำ  และระดับสมรรถภาพกลไกตามตัวแปร ชนิดกีฬา ได้แก่ กีฬามวย และกีฬากรีฑา อยู่ในระดับปานกลาง   ผลการเปรียบเทียบ ระดับสมรรถภาพกลไกของนักเรียนโรงเรียนกีฬาเขตภาคใต้ในสังกัดสถาบัน การพลศึกษา พบว่า เพศชายและเพศหญิง มีระดับสมรรถภาพกลไกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ระดับสมรรถภาพกลไกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1, 2, 3, 4, 5 และ 6 ของทุกรายการทดสอบ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ระดับสมรรถภาพกลไกของนักเรียนโรงเรียนกีฬาจังหวัดตรัง โรงเรียนกีฬาจังหวัดนครศรีธรรมราชและโรงเรียนกีฬาจังหวัดยะลา  ของทุกรายการทดสอบ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และระดับสมรรถภาพกลไกของกีฬามวย และกีฬากรีฑา ของการทดสอบยืนกระโดดไกล  ลุก-นั่ง 30 วินาที และดันพื้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 

 

คำสำคัญ: สมรรถภาพกลไก, Motor Fitness, แบบทดสอบสมรรถภาพทางกลไก JASA 

Downloads

Additional Files

Published

2016-02-04