การเข้ามาของแนวทางสะลัฟ ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้: การขยายตัวและผลกระทบ

Authors

  • ฮามีดะห์ มาสาระกามา

Abstract

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาทฤษฎี แนวคิดและประวัติการเข้ามาของแนวทางสะลัฟในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ จากข้อมูลเอกสารและภาคสนาม ซึ่งมีประชากรกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 30 คนจากสามจังหวัดๆละ10 คนประกอบด้วยผู้ที่ยึดแนวทางสะลัฟ 15 คน และผู้ที่ยึดแนวทางอื่นหรือคอลัฟ 15  คน โดยใช้เครื่องมือจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า สะลัฟเชิงภาษาแปลว่า ชนรุ่นก่อน และเชิงวิชาการ หมายถึงบรรดาอุละมาอ์ที่สืบทอดมรดกจากท่านนบีมุหัมมัด r ในเรื่องสัจธรรม ความรู้และหลักการศรัทธาซึ่งเป็นผู้ที่มีความประเสริฐที่ได้มีชีวิตอยู่ในช่วงสามศตวรรษแรกของฮิจเราะฮฺศักราช สะลัฟ ศอลิห์มีขนานนามคือ อะฮ์ลิส สุนนะฮ์ วัลญะมาอะฮ์ อะฮ์ลี อิตติบาอฺและฟิรเกาะฮ์ อันนาญิยะฮ์  หลักการปฏิบัติของแนวทางสะลัฟ คือ การใช้ตัวบทอัลกุรอานและอัลหะดีษเป็นหลักฐานในการอ้างอิง การยึดหลักความเข้าใจของบรรดาเศาะหาบะฮฺ ตาบิอีน ตาบิอีตาบิอีน และบรรดาอุละมาอ์ร่วมสมัยที่ยึดมั่นตามแนวทางสะลัฟ การยึดตัวบทอัลกุรอานและอัลหะดีษเป็นบรรทัดฐานในการตอบรับหรือปฏิเสธสิ่งใดสิ่งหนึ่งและการให้ความสำคัญต่อหลักฐานจากตัวบทอัลกุรอานและอัลหะดีษก่อนหลักฐานทางสติปัญญาเป็นต้น และได้เข้ามาแพร่หลายในประเทศไทยนานเกือบหนึ่งศตวรรษเริ่มเปิดตัวในศตวรรษที่  20 เริ่มจากกรุงเทพมหานครและได้ทยอยลงไปในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยกระจายลงมาทางนครศรีธรรมราชและพัทลุงตามลำดับ เริ่มเป็นที่รู้จักและแพร่ขยายสู่เมืองปัตตานีในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 คือประมาณ ปี ค.ศ. 1943 เป็นต้นมา  

คำสำคัญ: สะลัฟ สามจังหวัดภาคใต้ ผลกระทบ การขยายตัว  

Downloads

Additional Files

Published

2016-02-04