การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับ เทคนิคผังกราฟิกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Authors

  • แน่งน้อย อินคะเน
  • นพเก้า ณ พัทลุง
  • วิทวัฒน์ ขัตติยะมาน

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6   ก่อนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก  2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  โดยใช้รูปแบบการสอนวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น  ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก  ให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามเกณฑ์ร้อยละ 80                       3) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ก่อนและหลังเรียน  โดยใช้รูปแบบการสอน วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ต่อการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  คือ  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 ของโรงเรียนวัดชลธาราสิงเห (เสาร์ศึกษาคาร) อำเภอตากใบ จังหวัด นราธิวาส จำนวน 35 คน 

            แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียวก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนวัฏจักรการสืบเสาะหา ความรู้ 7 ขั้น  ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก  เรื่อง  ไฟฟ้าปัจจัยพื้นฐานของชีวิต  ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 7 แผน  2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ด้านความรู้/ความจำ  ความเข้าใจ  การนำไปใช้  แบบปรนัย  ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก เป็นแบบทดสอบแบบคู่ขนานก่อนเรียนและหลังเรียน ฉบับละ 30 ข้อ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์  ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบบปรนัย  ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก  เป็นแบบทดสอบแบบคู่ขนานก่อนเรียนและหลังเรียน  ฉบับละ 32 ข้อ  3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แบบปรนัย  ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก  เป็นแบบทดสอบแบบคู่ขนานก่อนเรียนและหลังเรียน  ฉบับละ 30 ข้อ  4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก  แบบมาตราส่วนประมาณค่า  5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  คือ  ค่าเฉลี่ย  ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)

ผลการวิจัยพบว่า  1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ที่ได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการสอน วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น  ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น  ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ร้อยละ 81.20 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80  3) นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 ที่ได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น  ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก  มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  4) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  มีความพึงพอใจต่อการสอนโดยใช้รูปแบบการสอน วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น  ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกในระดับมากที่สุด

 

คำสำคัญ:  เทคนิคผังกราฟิก, รูปแบบการสอนวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์,  ความสามารถในการคิดวิเคราะห์,  ความพึงพอใจของนักเรียน

Downloads

Additional Files

Published

2016-02-04