การพัฒนาโปรแกรมสร้างเสริมแรงจูงใจในการลดน้ำหนักของบุคลากรที่เป็นโรคอ้วน ในโรงพยาบาลธารโตThe Motivation Program Development of Weight Loss Behavior Modification Among Obese Staff in Thanto Hospital
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อสร้างโปรแกรมสร้างเสริมแรงจูงใจในการลดน้ำหนักของบุคลากรที่เป็นโรคอ้วนในโรงพยาบาลธารโต (2) เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ความรุนแรงของโรคอ้วนและโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคอ้วน ความคาดหวังในประสิทธิผลของการตอบสนองต่อการลดน้ำหนัก และความคาดหวังในความสามารถของตนเองต่อการลดน้ำหนัก ก่อนและหลังเข้าโปรแกรมของบุคลากรที่เป็นโรคอ้วน และ (3) เพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจในการลดน้ำหนัก ก่อนและหลังเข้าโปรแกรม ของบุคลากรที่เป็นโรคอ้วนในโรงพยาบาลธารโต ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรในโรงพยาบาลธารโต ที่มีผลการตรวจดัชนีมวลกาย หรือ BMI ั ≥ 25 กก./ตร. เมตร และสมัครใจเข้าร่วมโปรแกรมจำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ โปรแกรมสร้างเสริมแรงจูงใจในการลดน้ำหนัก แบบสอบถามวัดการรับรู้ความรุนแรงและโอกาสเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคอ้วน แบบสอบถามวัดความคาดหวังในความสามารถของตนเอง แบบสอบถามวัดความคาดหวังในประสิทธิผลของการตอบสนองต่อการลดน้ำหนัก และแบบสอบถามวัดแรงจูงใจในการลดน้ำหนัก ตามลำดับสถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test dependent
ผลการวิจัยพบว่า (1) ได้โปรแกรมสร้างเสริมแรงจูงใจในการลดน้ำหนัก 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นการกระตุ้นการรับรู้ความเสี่ยง ประกอบด้วย 2 กิจกรรม ขั้นการสร้างความคาดหวัง ประกอบด้วย 5 กิจกรรม และขั้นการติดตามและสร้างความเชื่อมั่น 1 กิจกรรม โดยผลการทดลองใช้โปรแกรม พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยของตัวแปรหลังการเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) บุคลากรที่เป็นโรคอ้วนในโรงพยาบาลธารโต มีการรับรู้ความรุนแรงของโรคอ้วนและโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคจากภาวะอ้วน ความคาดหวังในความสามารถของตนเองต่อการลดน้ำหนัก ความคาดหวังในประสิทธิผลของการตอบสนองต่อการลดน้ำหนัก หลังเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) แรงจูงใจของบุคลากรที่เป็นโรคอ้วนหลังเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำหลัก : การสร้างเสริมแรงจูงใจ, การลดน้ำหนัก, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ, Motivation Program
Abstract
The objectives of this research were (1) to create a program for enhancing the motivation to lose weight for obese Thanto hospital staffs (2) to compare the perceived severity of obesity and the risk of complications from obesity, expectations on the effectiveness of the response to losing weight, and expectations in their ability to lose weight before and after the application of obese staffs program, and (3) to compare the motivation to lose weight before and after the application of obese personnel program. The sample population was 20 Thanto hospital staffs with the result showing that the body mass index ≥ 25 kg / sq. M. The tools used were the program to create motivation for losing weight, questionnaire to measure the perception, severity, and the chance of the risk of complications from obesity, questionnaire to measure expectations on their own abilities, questionnaire to measure the expectations on the effectiveness of the response to losing weight, and questionnaires to measure the motivation to lose weight. The statistics used were the frequency, percentage, mean, standard deviation and t-test dependent.
The results of this study showed that (1) a program for enhancing the motivation to lose weight that consists of 3 stages, 8 activities. The tryout of the program found average score of variables after the program was higher than before the program with statistical significance level of .05 (2) Obese Thanto hospital staffs perceived the severity of obesity and the risk of obesity. The expectations in their ability to lose weight and expectations on the effectiveness of the response to losing weight were higher than before the program with statistical significance level of .05. (3) The motivation of obese staffs was higher than before the program with statistical significance level .05