แนวคิดทางการศึกษาของอิบนุสะหฺนูนในหนังสือ อาดาบอัลมุอัลลิมีน
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาชีวประวัติของท่านอิบนุสะหฺนูน 2) ศึกษาแนวคิดทางการศึกษาของท่านอิบนุสะหฺนูนตามที่ปรากฎในหนังสือ อาดาบอัลมุอัลลิมีน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพที่เก็บข้อมูลจากเอกสารปฐมภูมิ (Primary Sources) ซึ่งประกอบด้วยตำราอาดาบุลมุอัลลิมีน ของอิบนุสะหฺนูนและเอกสารทุติยภูมิ (Secondary Sources) ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย ที่เน้นการวิเคราะห์เกี่ยวกับแนวคิดทางการศึกษาของอิบนุสะหฺนูน
ผลการวิจัยพบว่า
1) อิบนุสะหฺนูน คือ อบูอับดิลลาฮฺ มุหัมมัด บิน อบี สะอีด สะหฺนูน บิน สะอีด บิน หะบีบ บิน หิสาน บิน ฮิลาล บิน บักการ บิน เราะบีอะฮฺ อัตตะนูคีย์ท่านมุหัมมัด อิบนุ สะหฺนูนเกิดในปีฮ.ศ. 202 ในบ้านที่เต็มไปด้วยวิชาความรู้ เกิดที่หมู่บ้าน เฆาะดัตในเมืองกอยเราะวานซึ่งเป็นหมู่บ้านหนึ่งที่มีการแพร่ขยายของมัซฮับ มาลิกีย์ ท่านได้รับการศึกษาอบรมแรกๆด้วยบิดาของท่านเองและได้เติบโตด้วยการดูแลของบิดาของท่านและบิดาของท่านอิบนุสะหฺนูนได้เสียชีวิตแถบชายฝั่งประเทศตูนิเซียในปี ฮ.ศ.256
2) แนวคิดทางการศึกษาของอิบนุสะหฺนูนประกอบด้วย 2.1) เป้าหมายของการศึกษา คือ1.เพื่อยึดมั่นในศาสนา 2.เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางศาสนา 3.เพิ่มพูนในวิชาความรู้ 4.มีเกียรติในสังคม5. เพื่อแสวงหาปัจจัยยังชีพ 6.เพื่อมารยาทที่ดีงาม 2.2) หลักสูตรการเรียนการสอนอิบนุสะหฺนูนได้แบ่งหลักสูตรการเรียนการสอนออกเป็น 2 ประเภท หนึ่ง ประเภทวิชาบังคับ สองประเภทวิชาเลือก ประเภทวิชาบังคับ คือ การศึกษาอัลกุรอาน หลักการอ่านและวิธีการเขียน ส่วนประเภทวิชาเลือก คือ มีรายวิชาดังนี้ คณิตศาสตร์ กวีอาหรับ ภาษาอาหรับ ไวยกรณ์อาหรับ ฯลฯ 2.3) เทคนิคและวิธีการเรียนการสอน ได้แก่ 1.ไม่สามารถที่จะจับต้องอัลกุรอานนอกจากอยู่ในสถาพที่มีน้ำละหมาด 2. ควรกำหนดเวลาการเรียนการสอนให้กับเด็ก 3.ควรท่องจำบทเก่าก่อนเลื่อนไปบทใหม 4.ให้ความเสมอภาคระหว่างผู้เรียน 5.ผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากเพื่อนร่วมห้องเรียนด้วยกัน 2.4)คุณลักษณะและบทบาทของผูสอน คือ 1.ควรเสียสละเวลาให้กับผู้เรียน 2.ไม่ปล่อยเวลาว่างไปโดยไม่ได้ประโยชน์ 3.ไม่ใช้เด็กไปซื้อของหรือช่วยทำธุระให้กับผู้สอน 4.ไม่ดำเนินกิจการต่างๆที่รบกวนการสอน 5.ให้ความเสมอภาคระหว่างผู้เรียน 6.ไม่ควรจัดให้ชายหญิงเรียนปนกัน
คำสำคัญ: แนวคิด อิบนุสะหฺนูน อาดาบอัลมุอัลลิมีน
Abstract
This research aims to:
1) study biography of Ibnu Sahnun.
2) study the educational thought of Ibnu Sahnun in his book, Adab al-Mooallimin by using qualitative research methods to collect data from the Primary Sources, which includes reading text, Adab al-Mooallimin of Ibnu Sahnun and the Secondary Sources which related research and those analysis focus on the educational thought of Ibnu Sahnun
The results showed that
1) Ibnu Sahnun is Abu Abdillah Muhammad Bin Abi Saed Sahnun Bin Saed Bin Habib Bin Hisan Bin Hilal Bin Bakkar Bin Rabiah Attanukhi. He was born in 202 H.A., in a home filled with knowledge, in the Ghadat village, Koyrawan city. This village was one of villages that spread of Maliki. He was educated by his father and has grown with the care of his father. His father died at the coast of Tunisia in 256 H.A.
2) The educational thought of Ibnu Sahnun consists of:
2.1) The goals of the study;
1. To adhere to the religion. 2. To disseminate religious knowledge. 3. To increase knowledge. 4. To be honorable in society 5. To seek the income 6. To be a good manner
2.2) Courses of instruction, Ibnu Sahnun divided into two types. First type is core course. Second type is alternative course . The core courses are Al-Quran, reading and writing. The alternative courses as follows: Mathematics, Arabic poetry, Arabic grammar, Arabic, etc.
2.3) Technique and method of teaching are: 1. Was not able to handle the Qur'an without Wudu’. 2. Should set study time for children. 3. Should retain the old chapter before move to a new chapter. 4. Equality between the students should be given. 5. A lesson can be learned from his classmates.
2.4) The characteristic and role of the teacher as follow; 1.Should sacrifice their time to the students. 2. Should not waste time that you have. 3. Prohibit the use of children to buy or to run errands for the teacher. 4. The teacher should not do activities that interferes a lesson. 5. Equality between the students should be done. 6. Should not be mixed between men and women.
Keywords: Thought, Ibnu Sahnun, Adab al-Mooallimin