การวิเคราะห์แรงจูงใจในการเป็นครูของนิสิตสาขาการศึกษาที่มีบริบทต่างกัน
Keywords:
แรงจูงใจในการเป็นครู, นิสิตครู, การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง, MOTIVATION TO BE TEACHER, STUDENT TEACHER, TWO-WAY ANOVA ANALYSISAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาระดับของแรงจูงใจในการเป็นครูของนิสิตสาขาการศึกษา
2) เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบระดับแรงจูงใจในการเป็นครูของนิสิตสาขาการศึกษาจำแนกตามมหาวิทยาลัย และชั้นปีที่
โดยแรงจูงใจในการเป็นครูประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ คือ แรงจูงใจในการเป็นครูภายใน และแรงจูงใจในการเป็นครูภายนอก ตัวอย่าง คือ นิสิตระดับปริญญาตรีในสาขาการศึกษาชั้นปีที่ 1 ชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 5 จากมหาวิทยาลัยในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 528 คนได้มาโดยวิธีการสุ่มหลายขั้นตอน
เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงแบบสอดคล้องภายใน (internal consistency) ด้วยการหา
ค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคแอลฟา (Cronbach’s alpha coefficient) พบว่า มีช่วงพิสัยความเที่ยงเท่ากับ .75-.81
วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์สถิติบรรยาย และการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง (two-way ANOVA)
ผลวิจัยพบว่า 1) ระดับของแรงจูงใจในการเป็นครูของนิสิตสาขาการศึกษามีแรงจูงใจอยู่ในระดับมาก (Mean=3.82-4.06) 2)มหาวิทยาลัยและชั้นปีที่ ไม่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการเป็นครูของนิสิตสาขาการศึกษา (F=1.70 ,p-value=.15)
The purposes of this research were: 1) to analyze the level of motivation to become a teacher of student teachers, and 2) to compare the level of motivation to become a teacher of student teachers in different universities and years of study. The sample consisted of 49 undergraduate students including freshmen, juniors and final year student teachers.
The research instrument was a questionnaire. The data were analyzed by descriptive statistics and two-way ANOVA analysis.
The findings revealed that 1) the level of motivation to become a teacher of student teachers was at the highest level, with the mean ranging from 3.82 to 4.06; and 2) comparison of the students’ motivation levels classified by universities and years of study were found to have non-significant differences.