จิตสำนึกความเป็นพลเมืองโลกของนักเรียนในกรุงเทพมหานคร
Keywords:
จิตสำนึกความเป็นพลเมืองโลก, นักเรียนในกรุงเทพมหานคร, GLOBAL CONSCIOUSNESS, STUDENTS IN BANGKOK METROPOLITANAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา วัตถุประสงค์ในการวิจัยคือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ของจิตสำนึกความเป็นพลเมืองโลกของนักเรียนในกรุงเทพมหานคร และ 2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของจิตสำนึกความเป็นพลเมืองโลกของนักเรียนในกรุงเทพมหานคร ประชากรในการวิจัยคือ โรงเรียนประเภทสามัญศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาจำนวน 963 โรงในกรุงเทพมหานคร โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ โรงเรียนจำนวน 283 โรงของประชากรในการวิจัย กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการของ Yamane (1973) โดยระดับความคลาดเคลื่อนของการสุ่มตัวอย่างเท่ากับ 0.05 และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ และได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา 271 โรง คิดเป็นร้อยละ 96 โดยผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูผู้สอน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1,707 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ แบบสอบถามลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับและนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าดัชนีความต้องการจำเป็น PNIModified
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของจิตสำนึกความเป็นพลเมืองโลกของนักเรียนในกรุงเทพมหานครทั้งในภาพ รวมและในรายองค์ประกอบหลักทั้ง 5 องค์ประกอบอยู่ในระดับมาก โดยองค์ประกอบหลักที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ เคารพในเอกัตภาพ และถักทอมิตรภาพที่ยั่งยืน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน สำหรับสภาพพึงประสงค์ของจิตสำนึกความเป็นพลเมืองโลกของนักเรียนในกรุงเทพมหานครพบว่าทั้งในภาพรวมและในรายองค์ประกอบหลักทั้ง 5 องค์ประกอบนั้นอยู่ในระดับมากที่สุด โดยองค์ประกอบหลักที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ เคารพในเอกัตภาพ 2) ผลการจัดลำดับความต้องการจำเป็นของจิตสำนึกความเป็นพลเมืองโลกของนักเรียนในกรุงเทพมหานคร พบว่า องค์ประกอบหลักที่มีลำดับความต้องการจำเป็นสูงที่สุดคือ คัดค้านการใช้ความรุนแรง รองลงมาคือ เชิดชูศักดิ์ศรีของชีวิต และนำชีวิตด้วยความรู้และปัญญา ซึ่งอยู่ในลำดับเดียวกัน
This research was conducted using a descriptive research method. The objectives of this research were 1) to study the actual state and the desirable state of global consciousness of students in the Bangkok metropolitan area, and 2) to study the priority needs of global consciousness of students in Bangkok. The population of this study consisted of 963 primary and secondary schools of basic education curriculum in the Bangkok Metropolitan area. The schools included 283 which were calculated by using the Yamane (1973) formula with an error level of 5%, and using the systematic random sampling method. Questionnaires were returned from 271 of the schools chosen (96%). There were 1,707 data providers from Principals, Vice Principals, heads of learning subjects, teachers and students in grades 6, 9 and 12. The research instrument in this study was a 5 level rating scaled questionnaire. The data was analyzed by frequency distribution, percentage, mean, standard deviation and PNI Modified.
The findings indicated that: 1) the actual state of global consciousness of students in Bangkok Metropolitan both overall and by five main global consciousness elements were at a high level. The two main elements with the same highest average were respect for individuality and building of bonds for lasting friendship. For the desirable state of global consciousness of students in Bangkok both overall and by five main global consciousness elements were at the highest level. The main element with the highest average was respect for individuality; 2) the priority needs ranking of global consciousness of students in Bangkok found that the main element with the highest priority needs ranking was opposition to violence. The second priority needs ranking was for both upholding the dignity of life and leading a life based on both knowledge and wisdom with the same ranking.