แนวทางการบริหารงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนสู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง
Keywords:
การบริหาร, ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน, MANAGEMENT, STUDENT SUPPORT SYSTEMAbstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนที่มีการบริหารงานระบบการดูแลที่เป็นเลิศ และ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการบริหารงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนสู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาโรงเรียนที่มีความเป็นเลิศในการบริหารงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน 2 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนราชวินิต บางแก้ว และโรงเรียนวังดาลวิทยาคม แล้วจึงนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อนำเสนอแนวทางในการบริหารงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนสู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง
ผลการวิจัย พบว่า 1) โรงเรียนราชวินิต บางแก้ว และโรงเรียนวังดาลวิทยาคม มีการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กระบวนการบริหารคุณภาพ PDCA ผู้บริหารให้ความสำคัญในการกำกับติดตามการปฏิบัติงาน มีการให้อบรมและให้ความรู้ในเรื่องระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน กิจกรรมสำคัญที่ทำให้รู้จักนักเรียนมากยิ่งขึ้นคือ กิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียน และปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอีกส่วนหนึ่ง เกิดขึ้นได้จากการมีส่วนร่วมจากผู้ปกครอง ชุมชน และภาคีเครือข่ายของสถานศึกษาในทุกภาค นอกจากนั้นการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ 2) แนวทางการบริหารงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนสู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง ควรมีรูปแบบในการดำเนินงานที่มีความชัดเจน ผู้บริหารให้ความสำคัญในการกำกับติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง มีการพัฒนาความรู้การปฏิบัติงานให้ครู นอกจากนั้นจะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมในทุกขั้นตอน
The purposes of this research were: 1) to study the management of the student support system of two best practice schools; and 2) to propose guidelines for the student support management of Prachinratsadornamroon School.
The research results were as follows: 1) the management of the student support system found that in both of two cases - Ratwinit Bangkaeo School and Wangdanwittayakom School - the PDCA Cycle was used for management. The principal emphasized on the importance of monitoring the management of the system by training and sharing knowledge on the student support system. The activity required a home visit in order to obtain students’ information. Participation of guardians, the community and school partnerships were the success factors of the student support system. Moreover, systematic gathering of information in both of the schools led to effective development of the student support system; 2) The guidelines for the management of the student support system toward the excellent practice of Prachinratsadornamroong School should be clearly performed and the principal should continuously monitor the system. The teacher should be trained about the student support system each year which could help to develop their work. Participation of guardians, community, and school partnerships should get involved in every step of the process.