แนวทางการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา ของ โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม ในพระบรมราชินูปถัมภ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2
Keywords:
การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, การศึกษา, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต2, MANAGEMENT OF INFORMATION AND COMMUNICATIONS TECHNOLOGY, EDUCATION, SECONDARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE 2Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา และนำเสนอแนวทางการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของโรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม ในพระบรมราชินูปถัมภ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ประชากรผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการ 1 คน รองผู้อำนวยการ 4 คน บุคลากรครู 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้จำนวน 98 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการและมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีการตรวจความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถามโดยผู้ทรงคุณวุฒิ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า สภาพการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของโรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม ในพระบรมราชินูปถัมภ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กรุงเทพมหานคร ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (Mean=3.38,SD=0.85) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน มีค่าเฉลี่ยตามลำดับดังนี้ 1) ด้านการพัฒนาบุคลากร 2)ด้านการวางแผน 3) ด้านการจัดสรรทรัพยากร 4) ด้านการอำนวยการ และ 5) ด้านการจัดการความรู้ ปัญหาการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา โดยภาพรวมอยู่ใน ระดับปานกลาง (Mean=3.03,SD=0.99) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยตามลำดับดังนี้ 1) ด้านการวางแผน 2) ด้านการจัดสรรทรัพยากร 3) ด้านการอำนวยการ 4) ด้านการพัฒนาบุคลากร และ 5) ด้านการจัดการความรู้ แนวทางการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา ได้แนวทาง 5 ด้าน จำนวน 21 แนวทาง
The primary purpose of this study is to investigate the problems of the administration of information technology as well as communication for education and to propose the selected case relevant to the administration from Satree Wat Mahapru Taram Girls’ School under the Royal Patronage of Her Majesty the Queen, under the secondary educational service area 2, Bangkok. The participants included the director, four vice directors, and 98 teachers from the eight departments. Data was collected by using five Likert scale based questionnaires which were checked by an expert. The data were presented by means of certain descriptive statistical elements: frequency, percentage, mean, and standard deviation.
The study revealed that the overall administration of the school was viewed in a moderate level in consideration to five aspects: 1) human resource development, 2) planning, 3) resource management, 4) general administration, and 5) knowledge management. The problems with the administration of information technology and communication for education were regarded as moderate in regards to the aforementioned aspects, with most of them being viewed at a moderate level and their statistical values were in order of their relation to the topics as follows: 1) planning, 2) general administration, 3) resource management, 4) human resource development and 5) knowledge management, respectively. In conclusion, there appear to be five vaible alternatives out of 21 prospective for the administration of information technology and communication for education.