ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการสอบกับคะแนนสอบและค่าการเดาของนักเรียน ที่มีระดับความสามารถทางการเรียนแตกต่างกันในการทดสอบที่มีความสำคัญต่ำ

Authors

  • พรพิมล ค่อมสิงห์
  • วรรณี แกมเกตุ, รองศาสตราจารย์ ดร.

Keywords:

แรงจูงใจในการสอบ, การทดสอบที่มีความสำคัญต่ำ, ค่าการเดา, TEST-TAKING MOTIVATION, LOW-STAKES TESTING, GUESSING PARAMETER

Abstract

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดแรงจูงใจในการสอบรายข้อในการทดสอบที่มีความสำคัญต่ำ 2) เพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจในการสอบของนักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียนแตกต่างกัน 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการสอบกับคะแนนสอบวิชาวิทยาศาสตร์ในการทดสอบที่มีความสำคัญต่ำและค่าการเดาของนักเรียนที่มีระดับความสามารถทางการเรียนแตกต่างกัน และ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าพารามิเตอร์ความสามารถของผู้สอบ (q) กับเกรดเฉลี่ยสะสมวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน  ตัวอย่างวิจัยคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 และ 2 จำนวน 662 คน  เครื่องมือที่ใช้คือ แบบวัดแรงจูงใจในการสอบและแบบสอบการศึกษาแนวโน้มการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศ วิชาวิทยาศาสตร์

          ผลวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1) แบบวัดแรงจูงใจในการสอบมีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ เมื่อนำแบบวัดแรงจูงใจชุดดังกล่าวไปใช้วัดแรงจูงใจในการสอบต่อข้อสอบรายข้อ พบว่ามีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20 – 0.57 มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของ
ครอนบาคอยู่ระหว่าง 0.53 – 0.65 การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square = 0.26, p = 0.61, df = 1, GFI = 1.00, AGFI = 1.00, RMR = 0.01, RMSEA = 0.00)  2) กลุ่มผู้สอบที่มีความสามารถทางการเรียนต่างกันมีค่าเฉลี่ยของแรงจูงใจในการสอบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)  3) ในภาพรวมแรงจูงใจในการสอบและคะแนนสอบมีความสัมพันธ์กันเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = 0.30)  และแรงจูงใจในการสอบและค่าการเดาไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  4) ค่าพารามิเตอร์ความสามารถของผู้สอบและเกรดเฉลี่ยสะสมวิชาวิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์กันเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = 0.63) 

The purposes of this research were: 1) to develop and investigate the quality of test-taking motivation questionnaires in low-stake testing; 2) to compare the test-taking motivation of students with different students’ academic achievement; 3) to study the correlation among test-taking motivation, test scores in low-stake testing and guessing parameters with different students’ academic achievements; and 4) to study the correlation between the ability parameter (q) and the cumulative grade point average in Science. The participants were 662 eighth-grade students in Bangkok. The research tools were test-taking motivation questionnaires and a low stakes test (Trends in International Mathematics and Science Study: TIMSS). 

             The research findings were as follows: 1) The test-taking motivation questionnaire uses a Likert-type scale. Correlation was from 0.20 – 0.57. Cronbach’s Alpha reliability was from 0.53 – 0.56. The structural model of test-taking motivation fit well with the empirical data (Chi-square = 0.26, p = 0.61, df = 1, GFI = 1.00, AGFI = 1.00, RMR = 0.01, RMSEA = 0.00);  2) There were significant consequences in test-taking motivation under different students’ ability levels at .05;  3) Overall, there was a correlation (0.30) between test-taking motivation and test scores but there was no correlation between test-taking motivation and guessing parameters under different student’s abilities; and 4) There was a correlation (0.63) between the ability parameter and Science’s cumulative grade point average.

Author Biographies

พรพิมล ค่อมสิงห์

นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ 

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วรรณี แกมเกตุ, รองศาสตราจารย์ ดร.

อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิจัยการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2018-01-30

How to Cite

ค่อมสิงห์ พ., & แกมเกตุ ว. (2018). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการสอบกับคะแนนสอบและค่าการเดาของนักเรียน ที่มีระดับความสามารถทางการเรียนแตกต่างกันในการทดสอบที่มีความสำคัญต่ำ. An Online Journal of Education, 12(1), 290–306. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/110510