ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนโฟร์พ้อยท์ที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5

Authors

  • ไตรภพ คงเสน
  • ไพโรจน์ น่วมนุ่ม, ดร.

Keywords:

รูปแบบการเรียนการสอนโฟร์พ้อยท์, ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์, ความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์, A FOUR-POINT INSTRUCTIONAL MODEL, MATHEMATICAL REASONING ABILITY, MATHEMATICAL COMMUNICATION ABILITY

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนโฟร์พ้อยท์ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน 2) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนโฟร์พ้อยท์กับกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒารามในพระบรมราชินูปถัมภ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 เป็นกลุ่มทดลอง 44 คน และกลุ่มควบคุม 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์และแบบวัดความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนโฟร์พ้อยท์ และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

            ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนโฟร์พ้อยท์มีความสามารถในการให้เหตุผลและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนโฟร์พ้อยท์มีความสามารถในการให้เหตุผลและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

The purpose of the research were: 1) to compare the mathematical reasoning and communication abilities of students before and after being taught by learning activities using a four-point instructional model; and 2) to compare the mathematical reasoning and communication abilities of students being taught by learning activities using a four-point instructional model as well as by using a conventional approach. The subjects were eleventh grade students of Mahaprutaram Girls’ School under the Royal Patronage of her Majesty the Queen in the second semester of academic year 2016. There were 44 students in the experimental group and 36 students in the control group. The instruments of data collection were mathematical reasoning ability tests and mathematical communication ability tests. The experimental instruments constructed by the researcher were lesson plans using a four-point instructional model, as well as a conventional lesson plan. The data was analyzed by means of arithmetic mean, standard deviation, and t-test.

            The results of the study revealed that: 1) the mathematical reasoning and communication abilities of students in the experimental group after learning were higher than before learning at a .05 level of significance; and 2) the mathematical reasoning and communication abilities of students in the experimental group were higher than those of students in the control group at a .05 level of significance.

 

Author Biographies

ไตรภพ คงเสน

นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษาคณิตศาสตร์ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไพโรจน์ น่วมนุ่ม, ดร.

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการศึกษาคณิตศาสตร์ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2018-01-30

How to Cite

คงเสน ไ., & น่วมนุ่ม ไ. (2018). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนโฟร์พ้อยท์ที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5. An Online Journal of Education, 12(1), 307–323. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/110511