ผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอน 5R ที่มีต่อความเข้าใจคำศัพท์ชีววิทยาและความคงทน ในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

Authors

  • ปวีณา อนุวัตร์
  • พรเทพ จันทราอุกฤษฎ์, ดร.
  • รสริน พลวัฒน์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.

Keywords:

รูปแบบการเรียนการสอน 5R, ความเข้าใจคำศัพท์ชีววิทยา, ความคงทนในการเรียนรู้, 5R INSTRUCTIONAL MODEL, UNDERSTANDING IN BIOLOGY TERMS, LEARNING RETENTION

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาความเข้าใจคำศัพท์ชีววิทยาของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอน 5R 2) เพื่อเปรียบเทียบความเข้าใจคำศัพท์ชีววิทยาระหว่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายกลุ่มที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอน 5R กับนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบทั่วไป
3) เพื่อศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอน 5R  และ 4) เพื่อเปรียบเทียบความคงทนในการเรียนรู้ระหว่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายกลุ่มที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอน 5R กับนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบทั่วไป กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559  โรงเรียนขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 2 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือแบบวัดความเข้าใจคำศัพท์ชีววิทยา
ที่มีค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.20-0.79 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20-0.75 และค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.80 แบบสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังทดลองทันที มีค่าความยากระหว่าง 0.25-0.80 และค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.20-0.58 ส่วนแบบสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยาหลังทดลอง 5 สัปดาห์ มีค่าความยากระหว่าง 0.25-0.80 และค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.20-0.59 ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที

           ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความเข้าใจคำศัพท์ชีววิทยาเท่ากับร้อยละ 68.76
2) นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนความเข้าใจคำศัพท์ชีววิทยาสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) นักเรียนกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยาหลังทดลองทันทีและหลังทดลอง 5 สัปดาห์เท่ากับ 68.02 และ 60.66 ตามลำดับ จัดอยู่ในระดับพอใช้ และ 4) นักเรียนกลุ่มทดลองมีความคงทนในการเรียนรู้สูงกว่ากลุ่มควบคุม

 

This study was a quasi-experimental research. The purposes of this study were to 1) study the understanding in biology terms of upper secondary school students who learned through the 5R instructional model, 2) compare understanding in biology terms of upper secondary school students, control group and experimental group, 3) study the learning retention of upper secondary school students who learned through the 5R instructional model, and 4) compare learning retention of upper secondary school students between control group and experimental group. The sample were two class in Mathematics-Science program of tenth grade students of a large-sized school under Office of the Basic Education Commission of Thailand during the first semester of the academic year 2016. The research instruments were the biology terms understanding making test with difficulty at 0.25-0.79, discrimination at 0.20-0.75 and the learning retention test after experiment immediately has difficulty at 0.25-0.80, discrimination at 0.20-0.58, the learning retention test after experiment 5 weeks has difficulty at 0.25-0.80, discrimination at 0.20-0.58 and validity at 0.83 and 0.80, respectively. The collected data was analyzed by arithmetic mean, mean of percentage, standard deviation and t-test.

The research findings were summarized as follows 1) Percentage of understanding in biology terms mean score of experimental group was 68.76, 2) The experimental group had mean score of understanding in biology terms higher than the control group at .05 level of significance, 3) Percent of learning retention test after experiment immediately mean score of experimental group was 68.02 and percent of learning retention test after experimental 5 weeks mean score of experimental group was at 60.66, and 4) The experimental group had mean score of learning retention higher than the control group at .05 level of significance.

Author Biographies

ปวีณา อนุวัตร์

นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พรเทพ จันทราอุกฤษฎ์, ดร.

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รสริน พลวัฒน์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.

อาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2018-01-30

How to Cite

อนุวัตร์ ป., จันทราอุกฤษฎ์ พ., & พลวัฒน์ ร. (2018). ผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอน 5R ที่มีต่อความเข้าใจคำศัพท์ชีววิทยาและความคงทน ในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. An Online Journal of Education, 12(1), 354–369. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/110524