ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาที่มีโครงสร้างไม่สมบูรณ์ ร่วมกับกลวิธีการเสริมต่อความคิดที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Authors

  • วรนิพิฎ พันธ์หนองหว้า
  • อัมพร ม้าคนอง, รองศาสตราจารย์ ดร.

Keywords:

กระบวนการแก้ปัญหาที่มีโครงสร้างไม่สมบูรณ์, ปัญหาที่มีโครงสร้างไม่สมบูรณ์, กลวิธีการเสริมต่อความคิด, ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ, ILL-STRUCTURED PROBLEM SOLVING PROCESS, ILL-STRUCTURED PROBLEM, SCAFFOLDING STRATEGY, CRITICAL THINKING ABILITY

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน       ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาที่มีโครงสร้างไม่สมบูรณ์ ร่วมกับกลวิธี การเสริมต่อความคิด ก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ กับกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาที่มีโครงสร้างไม่สมบูรณ์ ร่วมกับกลวิธีการเสริมต่อความคิด 3) ศึกษาพัฒนาการของความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาที่มีโครงสร้าง    ไม่สมบูรณ์ ร่วมกับกลวิธีการเสริมต่อความคิด กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดราชบพิธ กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 72 คน  แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง จำนวน 40 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 32 คน                     

           ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาที่มีโครงสร้างไม่สมบูรณ์ ร่วมกับกลวิธีการเสริมต่อความคิด มีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาที่มีโครงสร้างไม่สมบูรณ์ ร่วมกับกลวิธีการเสริมต่อความคิด มีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่า นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาที่มีโครงสร้างไม่สมบูรณ์ ร่วมกับกลวิธีการเสริมต่อความคิด มีพัฒนาการของความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นตามลำดับ

 

The purposes of this study were to: 1) compare the critical thinking ability of ninth grade students before and after being taught by using an organizing mathematics learning activity with an ill-structured problem solving process and scaffolding strategy; 2) compare the critical thinking ability of ninth grade students between two groups, one being taught by using an organizing mathematics learning activity with a conventional approach and the other using the ill-structured problem solving process and scaffolding strategy; and 3) study the development of the critical thinking ability of ninth grade students being taught by using the organizing mathematics learning activity with an ill-structured problem solving process and scaffolding strategy. The subjects were ninth grade students of Wat Rajabopit School in Bangkok in the second semester of academic year 2016. There were 72 students divided into two groups with 40 students in the experimental group and 32 students in the control group. 

            The results of the research revealed that: 1) the critical thinking ability of students being taught by using the organizing mathematics learning activity with an ill-structured problem solving process and scaffolding strategy was statistically higher than those before learning at a .05 level of significance; 2) the critical thinking ability of students being taught by using the organizing mathematics learning activity with an ill-structured problem solving process and scaffolding strategy was higher than those being taught by using the conventional approach at a .05 level of significance; and 3) the critical thinking ability of students being taught by using the organizing mathematics learning activity with an ill-structured problem solving process and scaffolding strategy were developed in a positive direction.    

Author Biographies

วรนิพิฎ พันธ์หนองหว้า

นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษาคณิตศาสตร์ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อัมพร ม้าคนอง, รองศาสตราจารย์ ดร.

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการศึกษาคณิตศาสตร์ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2018-01-30

How to Cite

พันธ์หนองหว้า ว., & ม้าคนอง อ. (2018). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาที่มีโครงสร้างไม่สมบูรณ์ ร่วมกับกลวิธีการเสริมต่อความคิดที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. An Online Journal of Education, 12(2), 32–49. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/110536