แนวทางการนำนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้สู่การปฏิบัติของโรงเรียนนำร่องขนาดใหญ่พิเศษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 1

Authors

  • ชะบา จันทร์นวล
  • ชญาพิมพ์ อุสาโห, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.

Keywords:

แนวทางการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ, นโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้, Guidelines for implementing, Moderate Class More Knowledge policy

Abstract

           การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหาและนำเสนอแนวทางการนำนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้สู่การปฏิบัติของโรงเรียนนำร่องขนาดใหญ่พิเศษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 1 ประชากร คือ โรงเรียนโรงเรียนนำร่อขนาดใหญ่พิเศษสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 1 จำนวน 2 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ หัวหน้ากลุ่มสาระและครู จำนวนทั้งสิ้น 147 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา

            ผลการวิจัยพบว่า สภาพของการนำนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้สู่การปฏิบัติในภาพรวมอยู่ในระดับมาก    (Mean = 3.78 และ SD = .65 ) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านค่าเฉลี่ยเรียงตามลำดับจาดสูงไปหาน้อย(ต่ำ) ดังนี้ 1) ด้านการประเมินผล 2) ด้านการนำแผนสู่การปฏิบัติ  3) ด้านการวางแผน  ปัญหาการนำนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้สู่การปฏิบัติ ในภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง (Mean = 3.13 และ SD = .96 ) เมื่อพิจารณารายด้านค่าเฉลี่ยตามลำดับจากสูงไปหาน้อย(ต่ำ) ดังนี้ 1) ด้านการวางแผน 2) ด้านการประเมินผล 3) ด้านการนำแผนสู่การปฏิบัติ แนวทางการนำนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้สู่การปฏิบัติ 1)โรงเรียนศึกษาทำความเข้าใจวัตถุประสงค์นโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ให้ชัดเจนวางแผนประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองชุมชนให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา 2) ประชุมชี้แจ้งเพื่อสร้างความเข้าใจแก่ครูผู้สอนร่วมกันวางแผนมอบหมายงานจัดทำคู่มือเอกสารเพื่อเป็นแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียน 3) โรงเรียนกำหนดเกณฑ์การประเมินผลนิเทศติดตามสะท้อนผลการจัดกิจกรรมนำเสนอผลงานนักเรียนสรุปกิจกรรม

 

          The purposes of the research were to study the state and problems, and propose guidelines for implementing Moderate Class More Knowledge policy to extra-large primary schools under the Primary Educational Service Area Office in Pathum Thani district 1. Population is 2 extra-large primary schools under the Primary Educational Service Area Office in Pathum Thani district 1. The responders were 147 directors, deputy directors, head teachers, and teachers. The research tool was questionnaire. Data were analyzed by frequency, percentage, mean, S.D., and content analysis.

            The findings showed that the overall state of implementing Moderate Class More Knowledge policy is high ( = 3.78, S.D. = .65). According to the mean scores, the sorted aspects were 1) Evaluation 2) Implementation 3) Planning. The overall problems of implementing Moderate Class More Knowledge policy is moderate (= 3.13, S.D. = .96). According to the mean scores, the sorted aspects were           1) Planning 2) Evaluation 3) Implementation. The guidelines for implementing Moderate Class More Knowledge policy were as follows1) study the purposes of Moderate Class More Knowledge policy thoroughly, plan and coordinate with parents and community to seek participation in educational management. 2) Held the meeting to create a common understanding among teachers. Plan and assign responsible staffs, and prepare the activities guidelines.   3). Set the evaluation criteria, supervise and summarize the activities.

Author Biographies

ชะบา จันทร์นวล

นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

ชญาพิมพ์ อุสาโห, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.

อาจารย์ประจำสาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2018-01-30

How to Cite

จันทร์นวล ช., & อุสาโห ช. (2018). แนวทางการนำนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้สู่การปฏิบัติของโรงเรียนนำร่องขนาดใหญ่พิเศษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 1. An Online Journal of Education, 12(2), 79–91. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/110548