การศึกษารูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเด็กของพ่อแม่เจนเนอเรชันวายในเขตกรุงเทพมหานคร
Keywords:
การอบรมเลี้ยงดู, รูปแบบการอบรมเลี้ยงดู, เจนเนอเรชันวายAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเด็กวัยอนุบาลของพ่อแม่ เจนเนอเรชันวายในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของสถานภาพที่เกี่ยวข้องกับบุตร ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส ลำดับการเกิดของบุตร จำนวนบุตร รายได้รวมของครอบครัวต่อเดือน และประเภทครอบครัวกับรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเด็ก ตัวอย่าง คือ พ่อแม่ที่เกิดระหว่าง พ.ศ. 2521 - 2538 ที่มีลูกวัยอนุบาลที่กำลังศึกษาในโรงเรียนจำนวน 4 สังกัด ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 448 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยคะแนนมาตรฐาน (z-score) การแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ การวิเคราะห์เนื้อหา และการทดสอบไค-สแควร์
ผลการวิจัยพบว่า พ่อแม่ส่วนใหญ่มีรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่ คิดเป็นร้อยละ 46.52 รองลงมา คือ แบบควบคุม คิดเป็นร้อยละ 32.03 และแบบตามใจ คิดเป็นร้อยละ 21.45 ตามลำดับ เมื่อศึกษาความสัมพันธ์ของภูมิหลังกับรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเด็กของพ่อแม่ พบว่า ภูมิหลังที่มีความสัมพันธ์กับรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเด็กของพ่อแม่ คือ ระดับการศึกษาของพ่อแม่ สถานภาพ การสมรส และรายได้ของครอบครัว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05