การศึกษาความต้องการการนิเทศการสอนของครูคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร

Authors

  • จุไรรัตน์ แจ่มศรี
  • บุญฑริกา บูลภักดิ์, อาจารย์ ดร.

Keywords:

ความต้องการ, การนิเทศการสอน, ครูคณิตศาสตร์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการการนิเทศการสอนของครูคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร ประชากรได้แก่ โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร ที่มีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาคณิตศาสตร์เฉลี่ย ต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ จำนวน 70 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร จำนวน 140 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับความต้องการการนิเทศการสอน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านสื่อการเรียนการสอน และด้านการวัดและประเมินผล เป็นมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร มีความต้องการการนิเทศการสอนในภาพรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีความต้องการมากที่สุดคือ ด้านหลักสูตร มีค่าเฉลี่ย 4.19 รองลงมาคือ ด้านสื่อการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ย 4.18  และด้านการวัดและประเมินผล มีค่าเฉลี่ย 4.16

Author Biographies

จุไรรัตน์ แจ่มศรี

นิสิตมหาบัณฑิตสาขานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา  

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บุญฑริกา บูลภักดิ์, อาจารย์ ดร.

อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาควิชานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2019-05-14

How to Cite

แจ่มศรี จ., & บูลภักดิ์ บ. (2019). การศึกษาความต้องการการนิเทศการสอนของครูคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร. An Online Journal of Education, 13(3), 30–41. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/189060