การศึกษาบทบาทการนิเทศการสอนของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และความคาดหวังของครูผู้ช่วยของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1

Authors

  • นฤมล มุจจลินทร์
  • บุณฑริกา บูลภักดิ์, อาจารย์ ดร.

Keywords:

บทบาทการนิเทศการสอน, หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทการนิเทศการสอนของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และความคาดหวังของครูผู้ช่วยของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรคือครูผู้ช่วยจำนวน 636 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นได้กลุ่มตัวอย่าง 234 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามจำนวน 1 ฉบับ โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย 1) ด้านการพัฒนาบุคลากร พบว่าสภาพปัจจุบันที่ปฏิบัติมากที่สุดคือ การปฐมนิเทศครูใหม่ก่อนปฏิบัติการสอน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.98 อยู่ในระดับมาก ความคาดหวังมากที่สุดคือ การส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาการของครูผู้ช่วยในกลุ่มสาระการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.66 อยู่ในระดับมากที่สุด และค่า PNI ของความต้องการมากที่สุดคือ การประชุมครูผู้ช่วยเพื่อรับฟังและแก้ปัญหาการเรียนการสอนอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง และการจัดทำมุมหนังสือ ตำราเพื่อให้ครูผู้ช่วยในกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้ศึกษาค้นคว้า มีความสำคัญเท่ากัน เท่ากับ 0.21 2) ด้านหลักสูตร พบว่าสภาพปัจจุบันที่ปฏิบัติมากที่สุดคือ การให้คำแนะนำแก่ครูผู้ช่วยในการออกแบบการเขียนแผนการสอนให้ถูกต้องตามหลักการเขียนแผนการสอน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.76 อยู่ในระดับมาก ความคาดหวังมากที่สุดคือ การให้ความรู้แก่ครูผู้ช่วยเรื่องมาตรฐานการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและสาระการเรียนรู้ เพื่อจัดทำแผนการสอน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.62 อยู่ในระดับมากที่สุด และค่า PNI ของความต้องการมากที่สุดคือ การบริการจัดหาเอกสารหลักสูตร แบบเรียน แบบฝึกหัดมาไว้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ เท่ากับ 0.24  3) ด้านการจัดการเรียนการสอน พบว่าสภาพปัจจุบันที่ปฏิบัติมากที่สุดคือ การสังเกตการสอนของครูผู้ช่วยในชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.91 อยู่ในระดับมาก ความคาดหวังมากที่สุดคือ การให้คำแนะนำแก่ครูผู้ช่วยในการจัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่เหมาะสมในการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.66 อยู่ในระดับมากที่สุด และค่า PNI ของความต้องการมากที่สุดคือ การให้คำแนะนำแก่ครูผู้ช่วยในเรื่องแหล่งการเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน และการส่งเสริมให้ครูผู้ช่วยมีการวิเคราะห์สภาพผู้เรียนเป็นรายบุคคล มีความสำคัญเท่ากัน เท่ากับ 0.20 4) ด้านการติดตามและประเมินผล พบว่าสภาพปัจจุบันที่ปฏิบัติมากที่สุดคือ การส่งเสริมให้ครูผู้ช่วยเขียนรายงานการปฏิบัติงานการประเมินตนเอง (SAR) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.93 อยู่ในระดับมาก ความคาดหวังมากที่สุดคือ การส่งเสริมให้ครูผู้ช่วยเขียนรายงานการปฏิบัติงานการประเมินตนเอง (SAR)  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51 อยู่ในระดับมากที่สุด และค่า PNI ของความต้องการมากที่สุดคือ การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของครูผู้ช่วยตามเกณฑ์การประเมินผลการนิเทศการสอน และการติดตามการบันทึกผลหลังสอนของครูผู้ช่วยเพื่อพัฒนาปรับปรุงในการจัดการเรียนการสอนครั้งถัดไป มีความสำคัญเท่ากัน เท่ากับ 0.14

Author Biographies

นฤมล มุจจลินทร์

นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร ภาควิชานโยบาย การจัดการ และความเป็นผู้นำทางการศึกษา

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   

บุณฑริกา บูลภักดิ์, อาจารย์ ดร.

อาจารย์ประจำสาขาวิชานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร ภาควิชานโยบาย การจัดการ และความเป็นผู้นำทางการศึกษา

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2019-05-15

How to Cite

มุจจลินทร์ น., & บูลภักดิ์ บ. (2019). การศึกษาบทบาทการนิเทศการสอนของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และความคาดหวังของครูผู้ช่วยของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. An Online Journal of Education, 13(3), 108–120. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/189412