การพัฒนาลักษณะเฉพาะของแบบวัดทักษะการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งศตวรรษที่21 สำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต
Keywords:
ลักษณะเฉพาะของแบบวัด, ทักษะการู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารAbstract
งานวิจัยนี้มีวัถตุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาลักษณะเฉพาะและตรวจสอบคุณภาพของลักษณะเฉพาะของแบบวัดทักษะการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งศตวรรษที่21 สำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต 2) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดทักษะฯ ตามลักษณะเฉพาะของแบบวัดฯที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น แบ่งขั้นตอนการดำเนินงานออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่1 การพัฒนาลักษณะเฉพาะของแบบวัดฯ และ ระยะที่2 การพัฒนาแบบวัดฯ ตามลักษณะเฉพาะของแบบวัดที่สร้างขึ้น ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต สังกัดมหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานครฯ และปริมณฑล โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ได้ตัวอย่างจำนวน 301 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ลักษณะเฉพาะของแบบวัดฯ แบบประเมินลักษณะเฉพาะฯ และ แบบวัดทักษะฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและหาค่าอำนาจจำแนกรายข้ออำนาจจำแนกโดยสถิติทดสอบt-test independent ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง(CFA)ด้วยโปรแกรม Mplus ตรวจสอบค่าความเที่ยงโดยพิจารณาค่าความสอดคล้องภายในด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ลักษณะเฉพาะของแบบวัดฯที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบของลักษณะเฉพาะได้แก่ บทนำ คำอธิบายทั่วไปในการใช้ลักษณะเฉพาะ วัตถุประสงค์ของการสอบ เนื้อหาสาระและทักษะที่ต้องการวัด โครงสร้างแบบวัด รูปแบบของแบบวัด ลักษณะเฉพาะของข้อคำถาม ขั้นตอนการพัฒนาข้อคำถาม เกณฑ์การประเมิน ตัวอย่างข้อคำถาม ในภาพรวมมีผลการตรวจสอบคุณภาพอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.23 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.25 2) การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดทักษะฯที่พัฒนาขึ้นจากลักษณะเฉพาะโดยการตรวจสอบคุณภาพความตรงเชิงเนื้อหาจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน และตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Chi-square = 152.429 ,df= 128, p=0.069 CFI= 0.958, TLI= 0.956, RMSEA = 0.025, SRMR=0.046) การตรวจสอบความเที่ยงของแบบวัดทักษะฯมีค่าความเที่ยงในระดับสูง (α=0.77