แนวทางการออกแบบโมบายแอพลิเคชันในการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับผู้พิการทางการเห็น
Keywords:
พิการทางการเห็น, โมบายแอพลิเคชันสำหรับผู้พิการทางการเห็น, แอพลิเคชันทางการศึกษา, การเรียนรู้เชิงรุกAbstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนาแนวทาง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแนวทางการออกแบบโมบาย แอพลิเคชันในการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับผู้พิการทางการเห็น 2) เพื่อรับรองแนวทางการออกแบบโมบายแอพลิเคชันในการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับผู้พิการทางการเห็น ประชากร คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ ตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาหรือการเรียนรู้สำหรับผู้พิการทางการเห็น หรือด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา หรือด้านการเรียนผ่านโมบายแอพลิเคชัน หรือด้านการบริหารองค์กรซึ่งทำหน้าที่ดูแลสิทธิของผู้พิการทางการเห็น จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์สำหรับผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินรับรองแนวทางการออกแบบโมบายแอพลิเคชันในการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับผู้พิการทางการเห็น และแบบบันทึกการประชุมกลุ่ม ผลการวิจัยในเบื้องต้นพบว่า แนวทางการออกแบบโมบาย แอพลิเคชันในการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับผู้พิการทางการเห็น สรุปเป็นประเภทและแนวทางได้ดังนี้ 1) ด้านการเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง 1.1) ข้อความและกราฟิก: ความต่างของความเข้มสี 1.2) ภาพเคลื่อนไหวและกราฟิก: การอ่านคำอธิบายภาพเคลื่อนไหวและกราฟิกด้วยเสียง 1.3) การโต้ตอบ: การแปลงข้อความเป็นเสียงพูด 1.4) การโต้ตอบ: การอธิบายคำถามด้วยเสียง 1.5) การโต้ตอบ: การอธิบายคำตอบด้วยเสียง 1.6) การโต้ตอบ: สรุปคำสำคัญของเนื้อหาการเรียนรู้ 1.7) ข้อความและรูปแบบ: การเปลี่ยนขนาดเนื้อหา 1.8) การโต้ตอบ: แบบฝึกหัดหรือการทดสอบที่มีการโต้ตอบด้วยเสียง 1.9) รูปลักษณ์และแนวทาง: การนำทางที่เป็นระบบด้วยเสียง และ 1.10) การโต้ตอบ: การนำเข้าสู่บทเรียนและสรุปบทเรียนด้วยข้อความและเสียง 2) ด้านการเรียนแบบร่วมมือ 2.1) การโต้ตอบ: การแจ้งเตือนที่ครอบคลุม 2.2) ปุ่มสลับ: การควบคุมระดับความดังเสียง 2.3) ปุ่ม: การแบ่งปันหรือการแลกบันทึกเสียง 2.4) การโต้ตอบ: การใช้บันทึกเสียงในบล็อกและฟอรั่ม และ 2.5) การโต้ตอบ: การอภิปรายด้วยการแปลงเสียงพูดเป็นข้อความ 3) ด้านการจูงใจผู้เรียนโดยไม่เน้นการวัดประเมินผล 3.1) ภาพเคลื่อนไหวและกราฟิก: การสั่นไหว 3.2) ปุ่ม: ไม่มีการเล่นแบบอัตโนมัติ 3.3) ปุ่ม: ส่วนประกอบที่เน้นจุดสนใจได้ 3.4) การโต้ตอบ: การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ด้วยเสียง 3.5) ปุ่ม: สรุปประเด็นสำคัญระหว่างเรียนโดยใช้การบันทึกเสียง 3.6) รูปแบบ: ส่วนประกอบที่จัดกระทำได้ควรล้อมรอบด้วยที่ว่าง และ 3.7) สถานะการดำเนินงาน: การแสดงความก้าวหน้าของหน้าที่การทำงานด้วยเสียง 4) ด้านความรับผิดชอบในการเรียนของตนเอง 4.1) ปุ่ม: เวลาที่สามารถปรับได้ 4.2) ปุ่มสลับ: ทางเลือกในการเรียนรู้ 4.3) ปุ่มสลับ: การปรับเปลี่ยนความเร็วของเสียงบรรยายได้ และ 4.4) การโต้ตอบ: การเข้าใช้ระบบด้วยลายนิ้วมือ